Parents One

สาเหตุที่ลูกไม่ดิ้น หรือดิ้นน้อย เกิดจากอะไร

 

คุณแม่ท้องแก่ ที่มีอายุครรภ์ถึง 8 เดือนแล้ว แต่ลูกน้อยในท้องกลับดิ้นน้อยมาก ทำให้คุณแม่หลายท่านเกิดความกังวล ซึ่งความเครียดไม่ดีต่อทารกในครรภ์อย่างแน่นอน ซึ่งการนับลูกดิ้น จะนับหลังจากที่อายุครรภ์ครบ 28 สัปดาห์ ซึ่งจะเป็นช่วงที่ลูกน้อยในครรภ์จะมีการดิ้นที่สม่ำเสมอ เนื่องจากระบบสมอง และเส้นประสาทมีการพัฒนาดีแล้ว วันนี้จะมาไขข้อสงสัยของคุณแม่ว่าลูกดิ้นน้อยเกิดจากอะไร แล้วอย่างไรถึงเรียกว่าอันตรายค่ะ

ลูกดิ้นมากแค่ไหนถึงจะดี

สาเหตุที่ลูกดิ้นน้อยลง

1. อายุครรภ์ที่มากขึ้นอยู่ในช่วงใกล้คลอด หรือเกินกำหนดคลอด รกจะเสื่อมสภาพไปตามอายุครรภ์ที่เพิ่มขึ้น อาหารและออกซิเจนที่ส่งผ่านรกไปยังลูกในครรภ์จะเริ่มมีปริมาณน้อยลง ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ทารกดิ้นน้อยลง ภาวะอาการเช่นนี้ จะทำให้ทารกในครรภ์มีความเสี่ยงสูงต่อการเสียชีวิตในครรภ์ได้เช่นกัน คุณแม่ควรรีบไปพบแพทย์ทันที

2. อาจเกิดจากในโพรงมดลูกคับแคบ จนกระทั่งลูกแทบจะเคลื่อนไหวไม่ได้ หรือว่าเกิดจากความผิดปกติที่ทำให้เป็นอันตรายกับลูกจนลูกไม่มีแรงจะดิ้น ถ้าคุณแม่พบว่าเป็นกรณีหลัง ไม่ควรปล่อยไว้นาน อาจทำให้เสี่ยงต่อการเสียชีวิตในครรภ์ได้ แพทย์จะเร่งคลอด หรือตัดสินใจในการผ่าคลอด

3. การดิ้นที่น้อยลงอย่างผิดปกติของทารกในครรภ์ มักเกิดร่วมกับภาวะการขาดออกซิเจนเรื้อรัง และอยู่ในภาวะอันตราย ซึ่งทารกในครรภ์จะดิ้นน้อยลง หรือหยุดดิ้นเป็นเวลา 12 – 48 ชั่วโมงก่อนจะเสียชีวิต เมื่อสังเกตว่าลูกดิ้นน้อยลงควรรีบพบแพทย์ทันที หรือพบแพทย์ก่อนจะครบ 12 ชั่วโมง

อย่างไรก็ตาม การที่คุณแม่มีอายุครรภ์ได้ 8 เดือนแล้ว พบว่าลูกดิ้นเบาลง ก็ไม่ต้องกังวลนะคะ เพราะสาเหตุที่ทำให้ลูกดิ้นเบาลงและครบ 10 ครั้งภายใน 4 ชั่วโมง เพราะภายในครรภ์มีพื้นที่น้อยทำให้ลูกไม่สามารถดิ้นได้เต็มที่ จึงทำให้การดิ้นของลูกเบาลง ซึ่งเป็นเรื่องปกติ ทั้งนี้ การที่ลูกน้อยดิ้นเบาลงก็ไม่ได้หมายความว่า ทารกในครรภ์จะไม่แข็งแรง แต่ถ้าคุณแม่พบว่าลูกดิ้นแรงปกติและจำนวนครั้งลดลง อย่างนี้ถือว่าเป็นอันตราย ดังนั้น เพื่อความสบายใจ คุณแม่จึงควรหมั่นสังเกตการดิ้น และภาวะความผิดปกติของทารกในครรภ์อย่างใกล้ชิด คุณแม่สามารถป้องกันปัญหาเหล่านี้ได้ ด้วยการดูแลสุขภาพร่างกายของตัวเองให้ดี รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และพักผ่อนให้เพียงพอค่ะ

ที่มา :