Parents One

NEWS: พ่อแม่เฮลิคอปเตอร์ เลี้ยงลูกแบบประคบประหงมเกินไป ส่งผลเสียมากกว่าที่คิด

พ่อแม่แบบเฮลิคอปเตอร์ (Helicopter Parents) หมายถึง ผู้ปกครองคอยวนเวียนดูแลลูกโดยไม่ยอมปล่อยมือ นอกจากนี้ยังมีคำว่า “Tiger Mom” ที่สื่อถึงคุณแม่ที่เคร่งครัดเรื่องการเรียนและความสำเร็จทางการศึกษาของลูก การแบบพ่อแม่ทั้ง 2 แบบนี้ส่งผลต่ออนาคตของลูกมากทีเดียว คือ ทำให้ขาดทักษะในการใช้ชีวิต

การศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับพ่อแม่แบบเฮลิคอปเดตอร์นั้น ได้รักการตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Child and Family Studies ระบุว่า นักเรียนนักศึกษาที่ถูกผู้ปกครองดูแลแบบไม่ปล่อย อาจมีความเสี่ยงต่อความรู้สึกว่าตนยังขาดบางสิ่งบางอย่างในชีวิตเสมอๆ นอกจากนี้ยังมีการสัมภาษณ์นักศึกษา พ่อแม่และนักการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับวิธีการเลี้ยงลูกแบบนี้ด้วย

คุณแม่ของ แม็คคินซี่ โทบิน นักศึกษาปีหนึ่งของมหาวิทยาลัย Pennsylvania State University เป็นตัวอย่างหนึ่งของพ่อแม่เฮลิคอปเตอร์ โดยแม็คแคนซี่กล่าวว่า แต่ละวันจะต้องคุยโทรศัพท์กับคุณแม่ 5 ครั้ง และกลัวทุกครั้งที่ต้องเริ่มทำอะไรด้วยตัวเองครั้งแรกในชีวิต อย่างการกรอกข้อมูลยาที่รับประทานให้กับเภสัชกร เพราะก่อนหน้านี้แม่ของเธอทำให้หมด

Julie Lythcott-Haims ผู้เขียนหนังสือชื่อ “How to Raise an Adult: Break Free of the Overparenting Trap and Prepare Your Kids for Success” กล่าวว่าเธอได้สังเกตนักศึกษาในมหาวิทยาลัย Stanford มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงในแคลิฟอร์เนียและพบว่านักศึกษาเหล่านั้นมักมีสติปัญญาเฉลียวฉลาดและเก่งด้านวิชาการ แต่หลายคนไม่สามารถพึ่งพาตนเองได้ และยังต้องอาศัยพ่อแม่ผู้ปกครองเรื่องคำปรึกษาแนะนำ การแก้ปัญหา รวมทั้งการตัดสินใจ

ซึ่งประเภทของการเป็นพ่อแม่เฮลิคอปเตอร์มีดังนี้

1.Overprotective หรือช่วยปกป้องเกินพอดี เพราะคิดว่าโลกนี้ไม่ปลอดภัยสำหรับลูกของตน

2.Over directive หรือชอบสั่งบัญชาการ เพราะเชื่อว่าตนรู้ดีที่สุดว่าอะไรจะช่วยให้ลูกประสบความสำเร็จได้

3.Concierge หรือผู้ปกครองที่มุ่งช่วยเหลือให้บริการเกินควร เพราะต้องการให้ชีวิตของลูกสุขสบายไร้ปัญหา

เลนอร์ สเก็นาซี่ ผู้ก่อตั้งกลุ่ม Free Range Kids และประธาน กลุ่ม Let Grow ที่ส่งเสริมการลดการเลี้ยงดูบุตรแบบควบคุมติด กล่าวว่า เด็กที่ขาดโอกาสให้มีการเติบโตด้านอารมณ์ อาจเกิดระดับความกระวนกระวายใจในเรื่องต่างๆ สูง และทำให้เด็กเหล่านี้ขาดทักษะในการเรียนรู้ การปรับตัว และการตัดสินใจด้วยตนเอง เพื่อแก้ปัญหาในชีวิตจริงสำหรับการเตรียมตัวเพื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่อย่างแท้จริงในที่สุด

อ้างอิงจาก