Parents One

4 อารมณ์ด้านลบของเด็กเล็กที่คุณแม่ควรรู้ พร้อมวิธีจัดการ

ทักษะการควบคุมอารมณ์ คือสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรสอนลูกตั้งแต่เล็กๆ เพราะเด็กเล็กใช้สมองส่วนอารมณ์นำก่อน ถ้ารู้จักสอนให้ลูกเข้าใจในอารมณ์ต่างๆ และสอนให้รู้จักควบคุมอารณ์ ก็จะเป็นผลดีต่อเด็กในอนาคตค่ะ

อารมณ์และการแสดงออกทางลบของเด็กเล็ก

1. อารมณ์โกรธ

อารมณ์โกรธ เมื่อถูกขัดใจ ถูกแย่งของเล่น ถูกห้ามไม่ให้ทำพฤติกรรมบางอย่าง  เป็นความรู้สึกขุ่นใจและไม่พอใจอย่างรุนแรง เนื่องจากความผิดหวัง หรือพลาดหวังจากสิ่งที่ได้คาดคิดไว้ เด็กจะแสดงออกด้วยการทุบตี กัด ข่วน ตบหน้าผู้ที่อุ้มอยู่ ขว้างปาสิ่งของใส่ผู้อื่น หรือแสดงวาจาโกรธเกรี้ยว

แนวทางแก้ปัญหา

ควรหัดเด็กให้รู้จักใช้ความคิดหาเหตุผล ฝึกสติให้เด็กได้รับรู้ว่า ความโกรธจะเป็นอันตรายต่อตัวเด็กทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ จึงควรต้องสอนและฝึกให้เด็กรู้จักใช้ความคิดพิจารณาหาสาเหตุที่ทําให้เกิดความรู้สึกโกรธ

2. อารมณ์กลัว

อารมณ์กลัว เป็นความรู้สึกที่เด็กไม่อยากประสบ พ่อแม่ควรพิจารณาว่า ความกลัวของเด็กเกิดจากสิ่งใด เด็กต้องได้รับการเอาใจใส่ปลอบโยนเพียงใด ขณะเดียวกันพ่อแม่ไม่ควรจะกังวลในอาการกลัวของเด็ก เพราะเป็นประสบการณ์ที่เด็กทุกคนต้องพบมาก่อนเสมอ ความกลัวมีหลายแบบ เช่น กลัวการถูกทอดทิ้ง กลัวคนแปลกหน้า กลัวความมืด กลัวผี พฤติกรรมการแสดงออกเมื่อเกิดความกลัว คือ การพยายามหลีกหนีไปจากเหตุการณ์ที่ทําให้เกิดความกลัว ร้องไห้ครวญคราง หายใจหอบแรง เด็กที่ยังเดินไม่ได้จะหัน
หน้าหน

แนวทางแก้ปัญหา 

3. อารมณ์อิจฉา

อารมณ์เป็นความรู้สึกไม่อยากให้ผู้อื่นได้ดี เมื่อเห็นผู้อื่นได้ดีจะมีความรู้สึกว่าทนไม่ได้ อารมณ์ริษยาไม่เกิดในวัยเด็กอ่อน แต่เกิดกับวัยเด็กตอนต้นอายุ 2-5 ปี หรือเกิดเมื่อมีน้องคนต่อไป เป็นลักษณะของความโกรธที่พุ่งเป้าหมายไปยังบุคคล ด้วยสาเหตุที่สําคัญ คือ พ่อแม่และผู้ที่ตนรักให้ความสนใจน้องหรือผู้อื่นมากกว่าตนจะแสดงออกโดยการต่อต้านกับผู้ที่ทําให้ตนเกิดความริษยา เช่น การตี การหยิก บางครั้งอาจแสดงพฤติกรรมย้อนกลับเป็นเด็กอีกครั้งด้วยการดูดนํ้า ปัสสาวะรดที่นอน ซุกซนผิดปกติ หรือมีการแสดงออกด้วยการเจ็บป่วยทางร่างกาย

แนวทางแก้ปัญหา 

เตรียมป้องกันปัญหาแต่เนิ่นๆ โดยควรเตรียมที่สำหรับการมีน้องตั้งแต่น้องยังอยู่ในท้องแม่ โดยการพูดคุยถึงน้องซึ่งกำลังเติบโตอยู่ในท้องแม่ น้องกำลังจะมาเป็นสมาชิกใหม่ของครอบครัว ป้องกันและหลีกเลี่ยงคำพูดกระทบจิตใจลูก เช่น เมื่อญาติ ๆ มาเยี่ยม อย่าพูดว่ามีน้องแล้ว ไม่มีใครสนใจแล้ว และไม่ลืมหลีกเลี่ยงการพูดเปรียบเทียบเรื่องต่างๆ ระหว่างลูกเรากับคนอื่น

4. อารมณ์เศร้า

อารมณ์เศร้า เสียใจ เกิดขึ้นเมื่อเด็กรู้สึกสูญเสียสิ่งที่รักหรือสิ่งที่มีความสำคัญ เช่น ของเล่น จึงแสดงออกด้วยอาการที่เศร้าซึม ไม่ยอมเล่น ไม่รับประทานอาหาร หรือรับประทานได้น้อยลง ซึ่งความเศร้าแบบปกติไม่นานก็หาย แต่ถ้าเป็นความรู้สึกที่ติดค้างอยู่กับตัวเองตลอดเวลา ในทางการแพทย์ถือว่า เป็นภาวะซึมเศร้า ที่คุณพ่อคุณแม่ควรดูแลลูกเป็นพิเศษค่ะ

แนวทางแก้ปัญหา 

ให้ความรัก ดูแลใกล้ชิด พ่อแม่มีส่วนช่วยพัฒนาลูกด้านอารมณ์ได้ ด้วยการให้เวลา ดูแลเอาใจใส่ ใกล้ชิด แสดงความรักและความเข้าใจ รับฟังและพูดคุยโต้ตอบกับลูก ทำกิจกรรมต่างๆร่วมกัน เช่น เล่านิทาน ทำอาหาร เล่นกีฬา ไปเที่ยว ให้โอกาสลูกเรียนรู้ ฝึกทำสิ่งต่างๆในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและเป็นมิตร

พ่อแม่ทุกคนย่อมอยากเห็นลูกเติบโตเป็นคนดีและมีความสุข วัยอนุบาลเป็นช่วงเวลาสำคัญที่สุดช่วงหนึ่ง เพราะเป็นช่วงเวลาที่เด็กเรียนรู้เรื่องต่างๆ มากที่สุดในชีวิต เด็กจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่เช่นไรในอนาคต ขึ้นอยู่กับการเลี้ยงดูในช่วงนี้ เป็นช่วงที่หล่อหลอมลักษณะพิเศษของแต่ละคน หรือที่เราเรียกว่า “บุคลิกภาพ” ซึ่งเปลี่ยนแปลงได้ยากเมื่อเติบโตขึ้น ดังนั้น การพัฒนาการแสดงออกทางอารมณ์ที่เหมาะสม พร้อมที่จะออกสู่สังคมนอกบ้านต่อไป จะส่งผลดีต่อลูกของเราในอนาคตอย่างแน่นอนค่ะ

ที่มา – www.educ-bkkthon.com