Parents One

โรคสายตาขี้เกียจในเด็ก รู้จักกับโรคก่อนที่ลูกจะมองไม่เห็น

โรคสายตาขี้เกียจคืออะไร

โรคสายตาขี้เกียจในเด็ก (Amblyopia หรือ Lazy eye)” พบได้ 3-5% เกิดจากการที่มีปัจจัยที่ทำให้ตาข้างนั้นๆ มองเห็นภาพไม่ชัดในช่วงอายุ 7 ปีแรก ซึ่งเป็นช่วงที่มีพัฒนาการของการมองเห็นอยู่ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและทันเวลา จะทำให้ตามัว การมองเห็นลดลงอย่างถาวร

อาการของโรคสายตาขี้เกียจ

สาเหตุของโรคสายตาขี้เกียจ

เมื่อไหร่ถึงต้องมาพบแพทย์

กลุ่มที่ 1 : เด็กที่มีความผิดปกติ เด็กกลุ่มนี้คุณพ่อคุณแม่จะต้องพามาพบจักษุแพทย์ทันทีที่พบความผิดปกติเพื่อให้ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที เนื่องจากในบางโรค การวินิจฉัยและการรักษาที่ช้าเกินไปอาจส่งผลต่อการมองเห็นในระยะยาวได้ เด็กที่มีความผิดปกติ ได้แก่

กลุ่มที่ 2 : เด็กปกติ ถึงแม้ว่าคุณพ่อคุณแม่จะแน่ใจว่าตาของลูกดูปกติทุกอย่าง ก็ยังควรพามาพบจักษุแพทย์ตามระยะเวลา ดังนี้

การรักษาโรคสายตาขี้เกียจ

1. การรักษาโดยการผ่าตัด หากสาเหตุของสายตาขี้เกียจจาก ต้อกระจก เลือดออกในน้ำวุ้นตาหนังตาตก ควรผ่าตัดก่อน หลังจากนั้นค่อยฝึกและพัฒนาการมองเห็น โดยการปิดตาข้างที่ดีกว่าเพื่อกระตุ้นตาอีกข้างที่ด้อยกว่าให้ถูกใช้งานมากขึ้น

2. การรักษาโดยใช้แว่นสายตา หากปัญหาจากความผิดปกติทางสายตา

3. การรักษาในกรณีที่มีตาเหล่หรือเริ่มมีตาขี้เกียจแล้ว โดยการปิดตาข้างที่ดี เพื่อให้ตาข้างที่ด้อยกว่าได้รับการใช้งาน ซึ่งควรปิดอย่างน้อยวันละ 6 ชั่วโมง จนกว่าสายตาทั้งสองข้างจะมองเห็นปกติ

การมองเห็นที่ดีสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนและทำกิจกรรมต่างๆ ของเด็กได้ การไม่แก้ไขปัญหาอาจส่งผลให้มีอาการทางร่างกายอื่นๆ เช่น ปวดตา ปวดศีรษะ และเชื่อว่ามีส่วนเกี่ยวข้องทำให้ค่าสายตาเปลี่ยนแปลงเร็วขึ้นได้เช่นกัน การดูแลเรื่องตาเด็กเบื้องต้นง่ายๆ เท่านี้ก็สามารถป้องกันโรคร้ายทางตาที่อาจเกิดได้แล้วหล่ะค่ะ

ที่มา :