Parents One

จะทำอย่างไร เมื่อลูกเป็นโรคสะกดคำไม่ได้

ทำไมลูกของเราถึงอ่านไม่ออก สะกดคำไม่ได้ ทำให้เรียนไม่รู้เรื่อง เราเรียกอาการนี้ว่า LD หรือ Learning Disabilities หมายถึง ความบกพร่องทางด้านการเรียนรู้ แสดงออกมาในรูปของปัญหาด้านการอ่าน การเขียน การสะกดคำ การคำนวณและเหตุผลเชิงคณิตศาสตร์ โดยเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ จะมีวงจรการทำงานของสมองไม่เป็นไปตามที่ควรจะเป็น เซลล์สมองบางส่วนอยู่ผิดที่ ทำให้มีปัญหาในการเรียน เรียนอ่อนบางวิชา หรือหลายๆ วิชา แล้วความบกพร่องทางด้านการเรียนรู้ เกิดจากอะไร จะมีวิธีรักษาให้หายได้หรือไม่ วันนี้ทาง Parents One มีคำตอบให้ค่ะ

ความบกพร่องทางด้านการเรียนรู้เกิดจากอะไร

เด็กที่อยู่ในภาวะความบกพร่องในการเรียนรู้ เด็กๆ เหล่านี้จะมีสติปัญญาอยู่ในเกณฑ์ปกติหรือฉลาดกว่า ซึ่งเด็กแอลดีไม่ได้หมายถึงเป็นออทิสติก แต่การเรียนรู้ในด้านใดด้านหนึ่งหรือหลายๆ ด้านจะช้ากว่าเด็กวัยเดียวกัน โรคแอลดีเกิดจากความผิดปกติของสารเคมีในสมอง ยังไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นสมองส่วนใดหรือมีความผิดปกติอย่างไร พบว่าสาเหตุที่ทำให้เกิด LD มีดังนี้

จะรู้ได้ยังไงว่าลูกบกพร่องทางด้านการเรียนรู้

แม้เด็ก LD จะไม่สามารถวินิจฉัยได้ชัดเจนในเด็กต่ำกว่า 6 ขวบ แต่ก็สามารถค้นหากลุ่มเสี่ยงได้ตั้งแต่ชั้นอนุบาล โดยเฉพาะในกลุ่มที่ใช้มือไม่เก่ง งุ่มง่าม ซุกซน พูดช้า การทรงตัวไม่ดี สับสนทิศทาง สับสนซ้ายขวา หรือเด็กที่อายุเกินชั้นป. 1 แล้วยังพูดไม่ชัด มีปัญหาเรื่องของการใช้ภาษา พูด อธิบายหรือเล่าอะไรไม่ได้ ประโยคไม่ปะติดปะต่อ ก็อาจจะมี LD ร่วมด้วย และเมื่อถึงวัยประถมศึกษาที่ต้องแสดงความสามารถทางการเรียนแยกย่อยรายวิชา อาการของโรค ก็จะแสดงให้เห็นเด่นชัดขึ้น ซึ่ง อาการของเด็ก LD อาจแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม คือ 

1. มีปัญหาในการอ่านหนังสือ 

อาจจะอ่านไม่ออก หรืออ่านได้บ้าง แต่สะกดคำไม่ถูก ผสมคำไม่ได้ สลับตัวพยัญชนะ สับสนกับการผันสระ ทำให้อ่านแล้วจับความไม่ได้

2. มีปัญหาในการเขียนหนังสือ 

ทั้งๆที่รู้ว่าจะเขียนอะไร แต่ก็เขียนไม่ได้ หรือเขียนได้ช้า เขียนตกหล่น บางคนเขียนแบบสลับซ้ายขวาเหมือนส่องกระจก

3. มีปัญหาในการคำนวณ 

อาจจะคำนวณไม่ได้เลย หรือทำได้แต่สับสนกับตัวเลข ไม่เข้าใจสัญลักษณ์ ไม่เข้าใจค่าของตัวเลข บางคนสับสนตั้งแต่การจำเครื่องหมายบวก ลบ คูณ หาร

เราจะช่วยเด็กได้อย่างไรบ้าง

เมื่อพบว่าลูกมีภาวะนี้เราสามารถช่วยเหลือเด็กได้ในด้านต่างๆ มาดูกันว่ามีอะไรบ้าง

1. การช่วยเหลือทางการแพทย์

เนื่องจากโรค LD สามารถเกิดรวมกับโรคอื่นๆ ได้เช่น โรคสมาธิสั้น ดังนั้นแพทย์จึงมีบทบาทในการประเมิน วินิจฉัยภาวะต่างๆ ที่เด็กมี รวมถึงให้การรักษาภาวะเหล่านั้น เช่น โรคสมาธิสั้น หากได้รับยาช่วยสมาธิ อาการของโรคก็จะดีขึ้นมาก เป็นต้น

2. การช่วยเหลือทางการศึกษา

3. การช่วยเหลือจากครอบครัว

ความบกพร่องทางการเรียนรู้ อาจป้องกันได้ตั้งแต่ลูกน้อยอยู่ในครรภ์มารดา หากรู้ตัวว่าตั้งครรภ์ควรไปฝากครรภ์ให้เร็วที่สุด เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดความผิดปกติระหว่างตั้งครรภ์ นอกจากนี้ การให้การดูแลเอาใจใส่อย่างเหมาะสมตั้งแต่ช่วงวัยทารกและวัยเด็กตอนต้นก็เป็นอีกวิธีที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการของเด็กให้สมบูรณ์ได้ค่ะ

ที่มา :