Parents One

NEWS: แพทย์ชี้ผู้ป่วยกลุ่มเด็ก เสี่ยงเป็นโรคเรื้อรังจาก COVID-19 แม้หายจากโรคแล้ว

รศ.นพ.นรินทร์ วรวุฒิ ผู้ก่อตั้งหน่วยอายุรศาสตร์ มะเร็งวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลจุฒาลงกรณ์ ได้กล่าวถึงมุมมองที่ตนมีต่อสถายนการณ์ผู้ป่วยโควิดเด็ก

เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนมาก ผู้ป่วยกลุ่มเด็กถือเป็นพาหะสำคัญที่นำเชื้อสู้คนที่บ้าน ด้วยส่วนมากแล้วผู้ป่วยเด็กไม่มีอาการ และด้วยปริมาณวัคซีนที่ไม่เพียงพอ ทำให้เด็กเกือบทั้งหมดในประเทศไทยยังไม่ได้ฉีดวัคซีน และเด็กแรกคลอดที่ยังไม่สามารถใส่หน้ากากอนามัยได้ เนื่องจากยังหายใจเองไม่เป็น

นอกจากนี้แล้ว รศ.นพ.นรินทร์ ยังได้ตั้งข้อสังเกตว่าหลังจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์เดลตาพลัส (Delta Plus) ทำให้มีผู้ป่วยสะสมเพิ่มขึ้น มีผู้ป่วยที่เป็นเด็กสูงที่สุดในเดือนสิงหาคม

จากการวิจัยในประเทศอังกฤษ จากกลุ่มตัวอย่างเด็กแรกเกิดจนอายุ 17 ปีที่ติดเชื้อโควิด 1,734 คน พบว่ากลุ่มตัวอย่างเมื่อติดเชื้อจะไม่แสดงอาการ แต่มีอาการที่พบบ่อย เช่น:

โดยเฉพาะเด็กเล็กนั้นมีอาการน้อยกว่าเด็กโต ด้วยตัวรับไวรัสในร่างกายมีน้อยกว่า กลุ่มเด็กอายุ 12-17 ปี มีอาการประมาณ 7 วัน และเด็กเล็กอายุ 5-11 ปี มีอาการเฉลี่ยประมาณ 5 วัน แต่เมื่อตรวจเชื้อไปเรื่อย ๆ เด็กบางคนอาจมีอาการนานถึง 28 วัน

สิ่งที่น่าเป็นห่วงจากการวิจัยคือ ผู้ป่วยโควิดเด็ก เมื่ออาการหายแล้ว อาจมีโรคเรื้อรังอย่างโรคปอด หายใจลำบาก สมองหรือเส้นประสาทเสื่อมพ่วงตามมาด้วย ซึ่งอาการเหล่านี้ยังพบเจอในเด็กไม่เยอะ แต่ไม่ควรประมาท ควรระวังอาการเหล่านี้ในระยะยาวแม้หายจากโรคแล้ว

รพ.นพ.นรินทร์ได้แนะนำให้ผู้ปกครองคอยสังเกตอาการของลูก ว่ามีอาการซึม ไม่ดื่มนม ไม่กินอาหาร มีไข้ ร้องงอแง ดิ้นหรือคลานบ่อย ๆ แต่ซึมเซา หรือมีอาการท้องเสีย ควรรีบตรวจโควิดเด็กด้วย แอนติเจน เทสต์ คิท พร้อมย้ำว่าการป้องกันการติดเชื้อในเด็ก ควรมีการฉีดวัคซีนที่ทั่วถึง

อ้างอิงจาก https://www.dailynews.co.th/articles/172594/