Parents One

NEWS: เด็กไทยเสี่ยงภัยออนไลน์ ต้องฝึกฝนความฉลาดทางดิจิทัล (DQ)

จากการทำแบบสำรวจเกี่ยวกับภัยบนโลกออนไลน์ของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม , กระทรวงศึกษาธิการ และ สถาบันดิจิทัล อินเทลลิเจ้นท์ (DQ) พบว่าภัยต่างๆ ได้แก่ การกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ หรือ Cyber bullying , ถูกล่อลวงออกไปพบคนแปลกหน้าจากสื่อสังคมออนไลน์ , ปัญหาการเล่นเกม เด็กติดเกม,ปัญหาการเข้าถึงสื่อลามกอนาจาร , ดาวน์โหลดภาพหรือวิดีโอที่ยั่วยุอารมณ์เพศ และพูดคุยเรื่องเพศกับคนแปลกหน้าในโลกออนไลน์

ซึ่งผลสำรวจนี้ได้มาจากรายงานการศึกษา The 2017 DQ Impact Study การศึกษาครั้งนี้เริ่มต้นในเดือน พฤษภาคม – ธันวาคม 2560 โดยทำการศึกษาเด็กไทยอายุ 8-12 ปี ทั่วประเทศ 1,300 คน จากรายงานการศึกษามีข้อสังเกตที่น่าสนใจพบว่า เด็กไทยมีความเสี่ยงจากภัยออนไลน์ถึง 60% ในขณะที่ค่าเฉลี่ยของการศึกษาครั้งนี้อยู่ที่ 56% (จาก 29 ประเทศทั่วโลก) เมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านพบว่า ประเทศฟิลิปปินส์อยู่ที่ 73% อินโดเนียเซียอยู่ที่ 71% เวียดนามอยู่ที่ 68% สิงคโปร์ 54% มาเลียเซีย 57%

ดังนั้นเด็กไทยจึงต้องมีการฝึกฝนคุณลักษณะและทักษะชีวิตในโลกยุคดิจิทัล หรือ “ความฉลาดทางดิจิทัล” (Digital Intelligence: DQ) ที่จำเป็นสำหรับเด็กในศตวรรษที่ 21 ทั้งหมด 8 ทักษะดังนี้

  1. ทักษะในการรักษาอัตลักษณ์ที่ดีของตนเอง
  2. ทักษะในการจัดสรรเวลาหน้าจอ
  3. ทักษะในการรับมือกับการคุกคามทางโลกออนไลน์
  4. ทักษะในการรักษาความปลอดภัยของตนเองในโลกออนไลน์
  5. ทักษะในการรักษาข้อมูลส่วนตัว (Privacy Management) มีดุลพินิจในการบริหารจัดการข้อมูลส่วนตัว โดยเฉพาะการแชร์ข้อมูลออนไลน์เพื่อป้องกันความเป็นส่วนตัวทั้งของตนเองและผู้อื่น
  6. ทักษะการคิดวิเคราะห์มีวิจารณญาณที่ดี (Critical Thinking): ความสามารถในการวิเคราะห์แยกแยะระหว่างข้อมูลที่ถูกต้องและข้อมูลที่ผิด ข้อมูลที่มีเนื้อหาดีและข้อมูลที่เข้าข่ายอันตราย ข้อมูลติดต่อออนไลน์ที่น่าตั้งข้อสงสัยและน่าเชื่อถือได้
  7. ทักษะในการบริหารจัดการข้อมูลที่ผู้ใช้งานมีการทิ้งไว้บนโลกออนไลน์ (Digital Footprints): ความสามารถในการเข้าใจธรรมชาติของการใช้ชีวิตในโลกดิจิทัลว่าจะหลงเหลือร่องรอยข้อมูลทิ้งไว้เสมอ รวมไปถึงเข้าใจผลลัพธ์ที่อาจเกิดขึ้น เพื่อการดูแลสิ่งเหล่านี้อย่างมีความรับผิดชอบ
  8. ทักษะการใช้เทคโนโลยีอย่างมีจริยธรรม (Digital Empathy): ความเห็นอกเห็นใจ และเข้าใจความรู้สึกผู้อื่นบนโลกออนไลน์

อ้างอิงจาก