Parents One

แก้อย่างไรเมื่อลูกรักนอนกรน

ภาวะการนอนกรนเป็นการหายใจเสียงดัง ซึ่งเกิดขึ้นในขณะหลับ พบได้ในทุกเพศทุกวัย จากการศึกษาพบว่าเด็กที่นอนกรนพบบ่อย ในช่วงอายุก่อนวัยเรียน (Preschool) หรือช่วงระดับชั้นอนุบาล เนื่องจากขนาดของต่อมอดีนอยด์ และทอนซิล ที่มักโตเมื่อเทียบกับขนาดของทางเดินหายใจเด็ก แล้วจะมีวิธีดูแลรักษาลูกอย่างไร ไปติดตามกันค่ะ

อันตรายจากการนอนกรนในเด็ก

การนอนกรนอาจ เป็นอันตรายได้ หากเกิดร่วมกับภาวะการหายใจที่ลดลง หรือหยุดหายใจในขณะหลับ ซึ่งจะส่งผลให้ปริมาณออกซิเจนในเลือดต่ำลง ส่งผลให้ออกซิเจนไปเลี้ยงสมองไม่พอเพียง เด็กเมื่อนอนแล้วหายใจไม่ออก เนื่องจากทางเดินหายใจอุดตัน ก็จะนอนกระสับกระส่าย ตื่นนอนบ่อย ทำให้การนอนหลับตอนกลางคืนไม่มีคุณภาพ นอนหลับได้ไม่เพียงพอ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต และการเรียนรู้ และพัฒนาการของเด็ก

เด็กที่มีโอกาสเสี่ยงในการนอนกรน

แนวทางในการดูแลเบื้องต้น

1. ปรับการนอน

โดยให้เด็กเข้านอน และตื่นนอนเป็นเวลาสม่ำเสมอ และถ้าเด็กมีอาการกรนมากขึ้น ให้จับเด็กนอนในท่าตะแคง เพื่อลดอการกรนลง

2. ดูแลสุขภาพของลูก

ในเด็กบางรายที่มีโรคอ้วนร่วมด้วยหรือมีน้ำหนักเกินมาตรฐาน ก็ให้ควบคุมอาหาร และออกกำลังกายเป็นประจำ และดูแลสุขภาพทั่วๆ ไป งดดื่มน้ำเย็นและของเย็น อย่าให้ลมโดนหน้าอกมากจนเกินไป ถ้าโดนฝนหรือจำเป็นต้องไปว่ายน้ำ ควรรีบเช็ดตัวให้แห้ง ใส่เสื้อผ้าที่อบอุ่น และก่อนนอนควรอาบน้ำอุ่นเพื่อทำให้จมูก และระบบทางเดินหายใจโล่งขึ้น

3. ล้างจมูกเพื่อกำจัดสิ่งสกปรก

เด็กมีอาการน้ำมูกไหล ซึ่งน้ำมูกจะยิ่งเข้าไปอุดตัน ทำให้เด็กหายใจทางจมูกลำบากให้จัดการโดยการล้างจมูกด้วยน้ำเกลือและหลีกเลี่ยงอาหารที่จะทำให้น้ำมูกเพิ่มขึ้น

4. รักษาความสะอาดในบ้าน

ไม่ว่าจะห้องนอน ผ้าปูที่นอน และผ้าห่ม ของใช้ในบ้านทุกชนิด ที่จะก่อให้เกิดการระคายเคืองกับจมูกอยู่บ่อยๆ เพื่อป้องกันการเพิ่มของเชื้อที่มากับฝุ่น

5. อย่าให้ร่างกายขาดน้ำ

ควรให้เด็กดื่มน้ำเยอะๆ ระหว่างวัน เพื่อให้ร่างกายได้ดูดซับน้ำไว้ใช้ในตอนนอน เพราะตอนนอนจมูก และเพดานจะแห้งลง จนทำให้เกิดเสียงกรนได้ง่ายขึ้น

6. ไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

การผ่าตัดต่อมทอมซิล และต่อมอะดีนอยด์ ถือว่าปลอดภัยที่สุด ภาวะในการแทรกซ้อนต่ำ และมีภาวะการติดเชื้อหลังผ่าตัดน้อยมาก ไม่มีผลกระทบใดๆ ต่อภูมิคุ้มกัน แพทย์ส่วนใหญ่จึงมักแนะนำวิธีการรักษานี้ แก่เด็กที่มีอาการกรนหนักๆ ในรายที่มีอาการหยุดหายใจร่วมด้วย แนะนำให้พบแพทย์ทันที เพราะอาจจะต้องใส่เครื่องครอบ เพื่อช่วยหายใจตอนนอน เพราะเครื่องนี้จะเข้าไปช่วยเปิดทางเดินหายใจ ที่แคบให้กว้างขึ้น เพื่อป้องกันการหยุดหายใจขณะหลับ

คุณพ่อคุณแม่ควรเฝ้าระวังว่าลูกรักมีอาการนอนกรนหรือไม่ ถ้าสงสัยว่ามีปัญหาหรือบางอย่างที่ต่างจากปกติคุณควรจะปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยด่วนเพราะเป็นอันตรายได้ไม่แพ้กับผู้ใหญ่เลย และในบางราย การผ่าตัดก็ไม่สามารถช่วยให้การหายใจดีขึ้นได้ ถึงจะดีขึ้น แต่สภาวะการหยุดหายใจ ในช่วงหลับอาจไม่หายไปด้วย ดังนั้นควรดูแล และรักษาสุขภาพเด็กให้แข็งแรง ทำตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด ก็จะทำให้อาการต่างๆ ของโรคดีขึ้นได้ค่ะ

ที่มา :