Parents One

7 ท่า “เคาะปอด” ช่วยลดอาการไอ ขับเสมหะให้ลูกน้อย

คุณพ่อคุณแม่เคยเป็นไหมคะ เวลาที่ลูกน้อยไม่สบาย มีอาการไอ และมีเสมหะ เราเองก็ทำทุกวิถีทางเพื่อช่วยลูกให้เอาเสมหะนั้นออกมา โดยเฉพาะเด็กเล็กๆ ที่ยังช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ สั่งน้ำมูกก็ยังไม่ได้ ทำให้เสมหะที่ออกมานั้นยังค้างอยู่ ซึ่งวันนี้ Parentsone จึงอยากจะมาแนะนำวิธีที่เรียกว่า “การเคาะปอด” ที่จะช่วยให้ทางเดินหายใจของลูกน้อยได้ระบายเสมหะออกมา จะมีวิธียังไงบ้าง ไปดูกันเลย

เรามาทำความรู้จักกับการเคาะปอดกันก่อนว่าเป็นยังไง

การเคาะปอดก็คือ การใช้แรงสั่นจากลมที่กระทบผนังทรวงอกขณะเคาะ ไปทำให้เสมหะที่เกาะอยู่บริเวณต่างๆ ของทางเดินหายใจค่อยๆ หลุดออกและไหลออกมาได้ง่ายขึ้น เป็นเทคนิคการรักษาอย่างหนึ่ง ที่จะมีการจัดท่าทางของเด็กในท่าต่างๆ ให้เหมาะสมและทำการเคาะบริเวณทรวงอกนั้นเอง

 

เมื่อไหร่ที่ลูกควรจะต้องเคาะปอด

 

วิธีการเคาะปอดให้ลูกน้อยที่ถูกต้อง

1.จัดท่าทางให้ลูก โดยอาศัยแรงโน้มถ่วงของโลก เพื่อให้เสมหะไหลออกจากหลอดลมเล้กส่วนปลายเข้าสู่หลอดลมใหญ่ตรงกลาง เมื่อเด็กไอเสมหะจะถูกขับออกมาได้มากขึ้น

2.ไม่ควรใช้ฝ่ามือในการเคาะ แต่ควรทำมือให้เป็นลักษณะคุ้มๆ นิ้วชิดกัน เรียกว่า “Cupped hand” เคาะบริเวณทรวงอกส่วนที่ต้องการระบายเสมหะนั้นเอง

3.ใช้ผ้ารองบนส่วนที่จะเคาะ

4.ควรใช้เวลาประมาณ 1 – 3 นาทีี หรือนานกว่านั้นถ้าหากมีเสมหะมากอยู่

5.ขณะเคาะหากเด็กไอ ควรใช้การสั่นสะเทือนช่วย โดยการใช้มือวางราบ พร้อมกับเกร็งกล้ามเนื้อบริเวณต้นแขนและหัวไหล่ทำให้มือสั่น ในระหว่างที่กำลังไอหรือช่วงที่เด็กหายใจออก

6.ฝึกการไอ โดยการให้เด็กหายใจเข้าช้าๆ ให้เต็ม แล้วกลั้นไว้ครู่หนึ่ง และไอออกมาโดยเร็วแรง ซึ่งจะสามารถทำได้เฉพาะเด็กที่รู้เรื่อง และสามารถทำตามคำสั่งต่างๆ ของพ่อแม่ได้นะคะ

7.ควรทำการเคาะ ก่อนมื้ออาหารหรือนม หรืออย่างน้อย 2 ชั่วโมง หลังอาหาร เพื่อไม่ให้เด็กๆ สำลักและอาเจียน

 

7 ท่าเคาะปอดมีอะไรบ้าง

โดยการจัดให้เด็กอยู่ในท่านั่งเอนตัวมาข้างหลังเล็กน้อย หรือประมาณ 30 องศา ให้คุณพ่อคุณแม่เคาะด้านบนเหนือทรวงอกด้านซ้าย ตรงระหว่างไหปลาร้าและกระดูกสะบัก

โดยการจัดท่านั่งให้เด็กนั่งคร่อมตัวมาทางด้านหน้าเล็กน้อย ประมาณ 30 องศา บนแขนของผู้ปกครองหรือผู้ให้การบำบัด จากนั้นเคาะบริเวณด้านหลังตอนบนเหนือกระดูกสะบัก ระหว่างกระดูกต้นคอและหัวไหล่

โดยการจัดท่านั่งให้เด็กนอนหงายราบ แล้วเคาะบริเวณเหนือราวนมต่ำจากกระดูกไห้ปลาร้าเล็กน้อย

โดยการจัดท่าให้ศีรษะต่ำลงประมาณ 15 องศา และตะแคงด้านซ้ายขึ้นประมาณ 1 ส่วน 4 จากแนวราบ และเคาะบริเวณราวนมด้านซ้าย

โดยการจัดให้เด็กนอนตะแคงกึ่งคว่ำ โดยให้ศีรษะ 30 องศา แล้วประคองทรวงอกบริเวณชายโครงด้านซ้ายหงายขึ้นมาเล็กน้อย เคาะบริเวณเหนือชายโครงด้านข้างตอนหน้าต่ำจากราวนมลงมาเล็กน้อย

โดยการจัดศีรษะให้เด็กต่ำ หรือประมาณ 30 องศา และนอนตะแคงเกือบค่ำ จากนั้นเคาะบริเวณด้านข้างเหนือชายโครงระดับเดียวกับท่าที่ 5 ใต้ต่อรักแร้ของเด็กนั้นเอง

โดยการจัดศีรษะของเด็กให้ต่ำ ประมาณ 30 องศา และนอนคว่ำ จากนั้นเคาะบริเวณด้านหลังต่ำจากกระดูกสะบักลงมาในระดับเดียวกับชายโครงด้านหน้า

ข้อแนะนำในการเคาะปอดในลูกน้อย

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : Gedgoodilife, Amarinbabyandkids