Parents One

8 ข้อสังเกตที่ทำให้ลูกพูดภาษาต่างดาว

” อยากทานอะไรคะ ”

” แอลแออ๊อน! ”

” นับเลขสิคะ นี่เลขอะไรถึงเลขอะไรเอ่ย ”

” นึง ฉอง ฉาม อี่อ๊าโวดู ยู~! ”

บางครั้งการสื่อสารของเด็กวัยกำลังพัฒนา นอกจากการแสดงท่าทางแล้วก็ต้องเริ่มรู้จักพูดหรือบอกในสิ่งที่ต้องการให้สมกับวัย ทว่าบางครั้งแม้จะพยายามพูดแล้วก็ยังรู้สึกว่าเป็นภาษาต่างดาว ฟังไม่เข้าใจหรือไม่รู้ถึงสิ่งที่ลูกกำลังสื่อสาร

โดยปกติพัฒนาการพูดของเด็กนั้นจะเริ่มตั้งแต่อายุ 8 เดือน – 1 ขวบครึ่ง เป็นวัยที่เขากำลังจดจำศัพท์และฝึกพูดเป็นคำๆเช่น พ่อ, แม่, หิว, ง่วง, ฉี่และเมื่ออายุขึ้นเป็น 2 ขวบก็จะเริ่มพูดเป็นประโยคสั้นๆ 2 พยางค์ได้ เช่น ไปไหน, หิวข้าว, ไม่ชอบ, จะเอา และในส่วนนี้เองเมื่ออายุมากขึ้น จำนวนคำของของประโยคจะเพิ่มขึ้นตาม เพราะเริ่มมีคลังคำศัพท์ในครวามทรงจำและได้รับการฝึกฝนที่ถูกวิธี

แต่ถ้าหากเข้าใกล้อายุครบ 2 ขวบแล้วยังพูดไม่ได้ พูดไม่รู้เรื่อง ชอบพูดต่างดาวใส่ก็เริ่มจะน่าเป็นห่วง ซึ่งเรื่องเหล่านี้เป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้ามเพราะมันเกี่ยวกับการพัฒนาของลูกน้อย ที่ต้องสังเกตและเอาใจใส่ใจ ถ้าไม่ได้ระวังหรือปล่อยผ่านไป อาจจะทำให้เกิดปัญหาได้เมื่อเขาโตขึ้นค่ะ

วันนี้ทาง Parents One จะมาแยกการใช้ภาษาต่างดาว ว่ามีเหตุเกิดจากอะไรได้บ้างแล้วควรจะรับมือต่อการพูดภาษาต่างดาวของลูกอย่างไรบ้างนะคะ

ไปดูกันเลย

อะบาอิวี ดูว ยูว~!

1. พ่อแม่สนุกสนานกับการที่ลูกพูดภาษาต่างดาว

ไม่มากก็น้อยเวลาที่เราเห็นลูกพูดแล้วเป็นคำแปลกๆที่ไม่เข้าใจ คุณพ่อคุณแม่มักจะรู้สึกเอ็นดูและอยากเล่นกับลูกด้วยการพูดเลียนแบบเขา เช่นพูดไม่ชัดตาม พูดภาษาต่างดาวในการโต้ตอบซึ่งนานๆครั้งแล้ว มีการหยอกเล่นก็ดูจะเป็นสีสันของบ้าน แต่หากสังเกตได้ว่าลูกเริ่มจะติดพูดต่างดาว ไม่ชอบพูดเป็นคำและเริ่มที่จะสื่อสารกับคุณพ่อคุณแม่ด้วยคำที่ไม่มีความหมาย นั่นคือสัญญาณอันตรายที่ลูกน้อยเข้าใจแล้วว่า สิ่งที่เขาพูดอยู่นั้นถูกต้องและได้รับการสนับสนุนว่านี่คือสิ่งที่พ่อแม่ชื่นชม

วิธีแก้ปัญหา

พูดคำศัพท์ที่ถูกต้องให้ฟังอยู่เสมอ แม้ลูกจะภาษาต่างดาวมาหรือพูดคำเว้นคำพูดไม่ชัด แต่ก็ต้องย้ำให้ถูกต้องชัดเจนพร้อมทำรูปปากให้เห็นเป็นตัวอย่าง เช่น

” กินข้าวหรือยังคะ ”

” อีแอ๊ว ”

” กินแล้วนะคะ หนูกินข้าวแล้วนะคะ ”

ใช้วิธีย้ำคำที่ถูกเพื่อฝึกให้เขาได้จดจำคำศัพท์และการออกเสียงเป็นประจำ ก็จะช่วยให้เขาสามารถเรียนรู้และเลียนแบบตามเราได้ไม่ยาก

2. ใช้เวลาอยู่กับโทรทัศน์และอินเตอร์เน็ตตลอดเวลา

ในยุคที่เทคโนโลยีเข้าถึงทุกกลุ่มวัยไม่ว่าจะเด็กเล็กหรือผู้สูงอายุ การเข้าถึงสื่อต่างๆถือว่าเป็นเรื่องที่รวดเร็วมากจนบางครั้งเราเองตามไม่ทัน อย่างในกรณีที่ปล่อยลูกไว้กับสื่อมากเกินไปอาทิ เปิดการ์ตูนให้ดูทั้งวันเพราะไม่มีเวลาเล่นด้วย, เวลาลูกร้องก็รีบยื่นมือถือหรือไอแพตให้เพื่อช่วยให้ไม่งอแง ซึ่งผลกระทบต่อการทำอยู่ซ้ำๆจะทำให้ตัวเด็กรับการสื่อสารได้แบบฉาบฉวย เลียนแบบการพูดเร็วๆของตัวการ์ตูนหรือภาพที่ผ่านตาไปมา จึงทำให้ไม่สามารถสื่อสารออกมาเป็นคำได้ และยังทำให้เกิดปัญหาสมาธิสั้นเพราะไม่สามารถจดจ่ออยู่กับอะไรได้นานอีกด้วย

วิธีแก้ปัญหา

 

3. รู้คำศัพท์น้อย

ในบางครั้งลูกน้อยก็ออกเสียงได้บ้างแล้ว เริ่มพูดเป็นคำได้แต่จู่ๆก็มีหลุดภาษาต่างดาวออกมาอีก เช่นคุณพ่อถามถึงของเล่นที่ถูกเก็บอยู่ในตระกร้า

” ในตระกร้ามีอะไรครับ บอกพ่อซิ ”

” ตุ๊กตา… ”

” ตุ๊กตาแล้วมีอะไรอีกครับ นี่อะไรครับ ”

” ตุ๊กตาอะ$%@ แล้ว แล้ว $# ตุ๊กตา ”

เหตุที่บางคำก็ชัดเจนและเหมือนจะเข้าใจ แต่บางคำฟังแล้วก็ไม่รู้ว่ากำลังสื่อสารถึงอะไรอยู่ นั่นเป็นเพราะว่าคลังคำศัพท์ในความจำของเขา ยังมีน้อยและรู้ไม่มากพอจึงทำให้พอต้องพูดถึง สิ่งที่เห็นผ่านตาแล้วรู้ว่าเอาไว้ทำสิ่งใดแต่ไม่รู้ว่ามันมีชื่อเรียกอะไร ก็มักจะสร้างศัพท์ขึ้นมาเองแบบที่ตนเข้าใจ และเอาไว้เรียกแบบนั้นโดยไม่รู้ว่าแบบไหนถูกและผิด เพราะหากนึกคำไม่ออกหรือไม่สามารถสื่อสารได้ เด็กมักจะเกิดความหงุดหงิดและกระจองอแง

วิธีแก้ปัญหา

4. สอนลูกหลายภาษาพร้อมๆกัน

การที่เด็กๆได้เรียนรู้ภาษาที่สองได้เร็วนั้นนับว่าเป็นเรื่องที่ดี แต่อาจทำให้ความจำของเขาสับสนได้ อย่างข้อแรกๆที่มีบอกไปแล้วว่าคลังศัพท์ของเขาไม่พอ ในกรณีนี้คือมีคำศัพท์มากเกินไปเพราะได้รับการเรียนรู้มาหลายภาษา จึงทำให้บางครั้งไม่สามารถสลับคำมาใช้ได้ทันจนกลายเป็นการผสมคำบ้าง พูดเร็วจนไม่มีความหมายบ้างและกลายเป็นภาษาต่างดาวในที่สุด

วิธีแก้ไขปัญหา

ในการเรียนรู้นั้นต้องค่อยๆเป็นค่อยๆไป สอนภาษานึงของลูกให้แข็งแรงดีก่อน แล้วจึงเริ่มเรียนอีกภาษาเพื่อที่จะได้ช่วยให้ความจำของลูกนั้น จัดเก็บข้อมูลได้อย่างเป็นระบบและไม่กระจัดกระจาย ถ้าหากทำได้สำเร็จจะไม่ใช่เพียงช่วยเรื่องการพูดภาษาต่างดาว แต่จะช่วยให้เขาเรียนรู้ภาษาได้อย่างถูกต้อง และสามารถนำไปใช้จริงได้อีกด้วย

 

5. ไม่มีเวลาให้ลูก ปล่อยให้เรียนรู้ด้วยตัวเอง

มีหลายบ้านที่คุณพ่อคุณแม่ติดทำงานทั้งคู่ จึงมักจะปล่อยให้ลูกอยู่ลำพังหรือมากสุดก็ได้อยู่ในความดูแลขอญาติหรือพี่เลี้ยงที่จ้างไว้ ซึ่งในส่วนนี้จึงทำให้เราคลาดสายตาจากลูกไปว่าในแต่ละวันเขาได้พูดคุยกับใครบ้างหรือเปล่า รึได้เรียนรู้อะไรบ้าง จึงกลายเป็นปัญหาที่เราคาดไม่ถึงได้ เช่นลูกอาจจะไม่ได้มีใครคุยด้วยจนเขาไม่รู้วิธีสื่อสารกับคนอื่น หรือไม่รู้แม้แต่ว่าสิ่งต่างๆนั้นมีชื่อหรือถูกเรียกว่าอะไรจึงถูกต้อง พอได้มีเวลาอยู่ด้วยกันก็กลับกลายเป็นว่า พูดไม่รู้เรื่อง ไม่สามารถบอกความต้องการกับพ่อแม่ได้ในที่สุด

วิธีแก้ปัญหา

 

 

6. มีปัญหาครอบครัว

การขึ้นเสียงของพ่อแม่หรือการทะเลาะเบาะแว้งที่มีทั้งเรื่องเล็กน้อยไปจนเรื่องใหญ่โต ทุกอย่างกระทบกระทั่งกันนั้นส่งผลถึงตัวลูกหมด เมื่อเขาเกิดความรู้สึกเครียดหรือกดดันจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น การพูดที่ควรจะได้รับการพัฒนาที่ดี ก็ไม่สามารถทำได้เต็มประสิทธิภาพ มีการพูดผิดๆถูก หรือๆรึบางทีอาจกลายเป็นไม่ยอมพูดไปเลยไม่ว่าจะกลับใคร เพราะกลัวว่าการพูดหรือโต้ตอบออกไปจะถูกตวาดหรือตะคอกกลับมา

วิธีแก้ปัญหา

7. มีความผิดปกติทางร่างกาย

ดูแล้วก็สอนครบทุกอย่างแต่ก็ยังพูดภาษาต่างดาว พูดไม่ชัดหรือหนักมากคือไม่ยอมพูดเลย ให้ลองสังเกตดูว่าลูกน้อยมีความผิดปกติทางร่างกายรึเปล่า ไม่ว่าจะเป็น หูหนวก, ลิ้นไก่สั้นหรือปัญหาทางระบบประสาท ที่ทำให้เป็นโรคสมาธิสั้นหรือออทิสติก เพราะบางครั้งเราอาจจะไม่ทันได้สังเกต เพราะคิดว่าเป็นการพัฒนาการปกติของเขาแต่จริงๆแล้วอาจไม่ใช่

วิธีแก้ปัญหา

เมื่อเล็งเห็นแล้วว่าพัฒนาการของเขาไม่ปกติ ควรรีบนำลูกไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับคำปรึกษาและการดูแลที่ถูกต้อง นอกจากนี้ยังต้องตามดูอาการอยู่เสมอเพื่อสังเกตพัฒนาการ และความเปลี่ยนแปลงด้วย

8.เป็นทางพันธุกรรม

ในเรื่องนี้เองเป็นสิ่งที่ช่วยได้ยากสุดแต่ก็เป็นปัญหาที่น่ากังวลน้อยสุดแล้ว กับการติดต่อทางกรรมพันธุ์ ไม่จำเป็นต้องเป็นคุณพ่อคุณแม่แต่อาจจะเป็นญาติหรือรุ่นปู่ย่าตายาย ที่พูดได้ช้าหรือพูดน้อยและพูดภาษาต่างดาว เมื่อมาสู่รุ่นลูกหรือหลานนั้นก็เป็นธรรมดา ที่จะมีอาการตามซึ่งวิธีแก้ไขนั้นไม่มีอะไรมาก นอกจากเสริมทักษะการเรียนรู้แบบปกติอย่างสม่ำเสมอ เพราะเมื่อถึงเวลาที่สมควรเขาก็จะเริ่มพูดและสื่อสารได้เองเป็นปกติค่ะ

ที่มา : thairath, youtube, baby.kapookfacebook