Parents One

8 การเดินทาง ของคุณชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ในฐานะของคนเป็นพ่อ

คงเป็นที่ทราบกันดีสำหรับทุกคนว่าการเลือกตั้งในจังหวัดกรุงเทพมหานครฯ ในปี 2565 ตำแหน่งผู้ว่ากทม. เป็นของคุณชัชชาติ สิทธิพันธุ์ซึ่งเป็นหนึ่งในบุคคลที่ไม่ว่าใครก็ต้องที่รู้จักในฐานะผู้แข็งแกร่ง โดยการสร้างสรรค์ทั้งประโยคในการหยอกล้อ หรือสร้างสรรค์ชิ้นงานอย่างภาพการ์ตูนหรือภาพตัดต่อ ทำให้เกิดอารมณ์ขันได้ทุกช่วงเวลา แต่นอกเหนือจากมุมมองของการรับอาชีพเป็นอาจารย์, นักการเมือง หรือคนดังในโลกออนไลน์แล้ว

ยังมีอีกหนึ่งมุมมองที่ไม่ค่อยมีใครรู้คือมุมมองของความเป็นพ่อ ที่คุณชัชชาติมีต่อลูกชายคนเดียวของเขาหรือน้อง แสนปิติ ที่มีสภาวะหูหนวกตั้งแต่แรกเกิด

จึงทำให้มิติชีวิตของคุณพ่อชัชชาตินั้นต้องต่อสู้ และพยายามทุกวิธีทางเพื่อช่วยให้ลูกชายเพียงคนเดียวของเขาได้มีโอกาส และคุณภาพชีวีตที่ดีได้เท่ากับเด็กธรรมดาทั่วไป จนมาถึงวันนี้ คุณชัชชาติทำสำเร็จแล้ว เพราะน้องแสนปิติ สามารถที่จะสื่อสารภาษาอังกฤษได้อย่างคล่องแคล่ว เป็นเด็กที่สุขภาพร่างกาย และจิตใจดีมากๆ และนี่จึงเป็นอีกหนึ่งเรื่องราวที่น่าสนใจ และอยากจะนำมาถ่ายทอดให้ทุกคนได้อ่านกันค่ะ

ซึ่งความรักที่คุณชัชชาติมีให้กับลูกชายทั้ง 8 ข้อนั้นจะเป็นแนวทางหรือการจุดไฟความหวังให้กับครอบครัวไหนได้บ้าง เรามาดูไปพร้อมๆ กันเลยค่า

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจากเพจ มนุษย์กรุงเทพฯ ในปี 2015

ลูกชายของผมเกิดปี 2000 ร่างกายภายนอกของเขาปกติดี กระทั่งวันหนึ่งมีคนทักว่า ทำไมเรียกแล้วไม่หัน พออายุหนึ่งขวบกว่าๆ ผมตัดสินใจพาไปตรวจ และพบว่าลูกชายของผมหูหนวก เคยเห็นเด็กหูหนวกส่งภาษามือ แต่ไม่คิดว่าจะเจอกับตัวเอง เป็นวินาทีเปลี่ยนชีวิตเลย

ผมเริ่มซื้อหนังสือเกี่ยวกับคนหูหนวกมาอ่าน ศึกษาบทความต่างๆ ทางเลือกมีทั้งการฝึกใช้ภาษามือ แต่คนอื่นสื่อสารด้วยยาก สังคมก็จะแคบ หรือใช้เครื่องช่วยฟัง ซึ่งเหมาะกับคนที่มีการได้ยินเหลืออยู่บ้าง หรือวิธีอ่านปาก ซึ่งก็ต้องใช้พร้อมเครื่องช่วยฟัง แต่ลูกของผมหูหนวกสนิทเลย อีกทางคือ การผ่าตัดประสาทหูเทียม สิบกว่าปีที่แล้วเมืองไทยมีอยู่บ้าง แต่เด็กที่ผ่ามักไม่ประสบความสำเร็จ คือพูดไม่ได้ แต่ผมคิดว่าถ้าทำสำเร็จ เขาจะสื่อสารกับคนทั่วไปได้เลย ผมเลยเลือกทางนี้

ผมติดต่อไปหาหมอคนหนึ่งที่ออสเตรเลีย เขาผ่ามานับพันคนที่มีปัญหาหูหนวก บินไปคุยสองครั้งแล้วพาลูกไป พอรู้ว่าผ่าได้ ผมเป็นอาจารย์อยู่ เลยสอบเอาทุนจากรัฐบาลออสเตรเลียไปทำวิจัยแล้วพาลูกไปผ่าเมื่อธันวาคม 2002 ผ่าตัด 2 ชั่วโมง แต่สิ่งสำคัญกว่าคือเราต้องฝึกให้เขาเข้าใจเครื่องนี้

หลังจากผ่าตัด ช่วงแรกเขาไม่พูดเลย เราก็เครียด ไม่รู้ว่ามาถูกทางหรือเปล่า ถ้าผิดก็ไม่รู้จะกลับไปยังไง การผ่าก็ไปทำลายของเดิมทั้งหมด ตอนนั้นพ่อแม่ต้องฝึกอาทิตย์ละ 3 ชั่วโมง เพื่อกลับมาฝึกลูก 24 ชั่วโมงที่บ้าน หลังหกเดือนเขาก็เริ่มพูดได้

เครื่องช่วยฟังมีความละเอียดไม่เท่าหูคน ผมเลยเลือกฝึกภาษาอังกฤษเพราะวรรณยุกต์ไม่เยอะ ความรู้บนโลกนี้ส่วนใหญ่เป็นภาษาอังกฤษ ถ้าเขาพูดได้ อนาคตคงเรียนภาษาไทยได้ หลังจากนั้นเขากลับมาอยู่โรงเรียนอินเตอร์ พูดอังกฤษได้ พูดไทยได้นิดหน่อย เป็นเด็กหูหนวกหนึ่งในไม่กี่คนที่เรียนโรงเรียนคนปกติได้

การมีลูกเป็นคนพิเศษ ทำให้ผมโฟกัสขึ้น ชีวิตเรามุ่งกับเขาเป็นหลัก ผมต้องดูแลสุขภาพตัวเองให้ดี เพื่อที่จะอยู่กับเขาให้นานที่สุด เราอยู่เพื่อเขา

เวลาไหว้พระ ผมไม่เคยขอให้เขาเป็นเด็กเรียนเก่งเลย ผมขอให้เขาเข้าสังคมได้ มีเพื่อนที่ดี ชีวิตมีความสุข ผมพอแล้ว

เหตุที่ผมลงมาเล่นการเมือง ผมมีเป้าหมายที่ต้องการให้ชีวิตของลูกชายผม มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น อยากให้เขาได้มีชีวิตแบบคนปกติ ผมจึงเลือกที่จะเปลี่ยนแปลง