Parents One

9 พื้นฐานสร้างลูกให้เก่งและดีด้วย EF

เมื่อก่อนนี้เราอาจจะคุ้นเคยกับการพัฒนาลูกให้มี IQ ดี EQ เด่น เล่นให้สร้างสรรค์ด้วย CQ หรือพัฒนาด้วยตัว Q (Quotient) ในด้านอื่นๆ แต่ในปัจจุบันได้มีการพูดถึงกระบวนการพัฒนาสมองของลูกน้อยด้วย EF กันมากขึ้น แล้ว EF ที่ว่านี้คืออะไรกันนะ ?  วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับทักษะ EF ทั้ง 9 ด้านให้มากขึ้นกันค่ะ

EF คืออะไร? 

Executive Functions (EF) คือ กระบวนการทำงานของสมองส่วนหน้า ซึ่งมีความสำคัญในการควบคุมอารมณ์ ความคิด การวางแผนและการแก้ไขปัญหา ซึ่งลูกจะสามารถเชื่อมโยงข้อมูลต่างๆ จากความจำมาสู่การกระทำเพื่อให้บรรลุเป้าหมายได้ดีขึ้น

ช่วงวัยที่เหมาะสมจะพัฒนา EF คือ ช่วง 3 – 6 ปี เพราะหากเป็นช่วงวัยเรียน วัยรุ่น หรือวัยผู้ใหญ่ก็พัฒนาได้ แต่จะได้ไม่มากเท่ากับเด็กปฐมวัย

 

Executive Functions (EF)
ประกอบด้วย 9 ทักษะ ได้แก่

 

1. ทักษะความจำที่นำมาใช้งาน (Working Memory)

กิจกรรมที่ควรส่งเสริม ได้แก่ :

 

2. ทักษะการยั้งคิด (Inhibitory Control)

คือ การควบคุมอารมณ์ตนเอง รู้ว่าสิ่งใดควรทำ – ไม่ควรทำ เช่น ไม่นำของเพื่อนมาเป็นของตนเอง เป็นต้น

กิจกรรมที่ควรส่งเสริม ได้แก่ :

 

3. ทักษะการยืดหยุ่นความคิด (Shift Cognitive Flexibility)

คือ ทักษะที่ช่วยให้ลูกรู้จักปรับตัว ยืดหยุ่น และรู้จักแก้ไขปัญหาได้ตามแต่ละสถานการณ์

กิจกรรมที่ควรส่งเสริม ได้แก่ :

 

4. ทักษะการใส่ใจจดจ่อ (Focus)

เป็นสิ่งสำคัญ เพราะการที่ลูกมีสมาธิ ไม่วอกแวก จะช่วยให้ลูกเรียนรู้ได้ดี

กิจกรรมที่ควรส่งเสริม ได้แก่ :

 

5.การควบคุมอารมณ์ (Emotion Control)

ช่วยให้ลูกรู้จักควบคุมอารมณ์ตนเองได้ดี ไม่โมโห หงุดหงิดง่าย

กิจกรรมที่ควรส่งเสริม ได้แก่ :

 

6. การวางแผนและการจัดการ (Planning and Organizing)

เป็นการฝึกให้ลูกรู้จักตั้งเป้าหมายและคิดวางแผนด้วยตนเอง

กิจกรรมที่ควรส่งเสริม ได้แก่ :

 

7. การประเมินตนเอง (Self-Monitoring)

สอนให้ลูกรู้จักประเมินตนเอง และแก้ไขปรับปรุง ข้อนี้จะสอนต่อจากเรื่องการวางแผนก็ได้ โดยทำเป็นตารางงานบ้านให้ลูกไว้ งานชิ้นไหนที่ทำแล้วก็ให้ใส่เครื่องหมายถูก ถ้างานชิ้นไหนยังไม่ได้ทำ ก็ลองถามเขาว่างานชิ้นนี้เขายังไม่ทำเพราะเหตุใด เช่น เป้าหมายนั้นยากไป จะได้ช่วยกันแก้ไขให้ดีขึ้น

 

8. การริเริ่มและลงมือทำ (Initiating)

เป็นการฝึกให้ลูกกล้าคิด กล้าทำอะไรใหม่ๆ

กิจกรรมที่ควรส่งเสริม ได้แก่ :

 

9. มีความเพียรมุ่งสู่เป้าหมาย (Goal-Directed Persistence)

ช่วยให้ลูกไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคง่ายๆ จะตั้งใจทำจนกว่าจะสำเร็จ

กิจกรรมที่ควรส่งเสริม ได้แก่ :

 

กิจกรรมเหล่านี้เราค่อยๆ เล่นกันไป สอนกันไป  เน้นให้ลูกเรียนรู้อย่างมีความสุข ไม่กดดันจนลูกมีความเครียด และให้คำชมเป็นกำลังใจ ลูกก็จะกล้าคิด กล้าทำ และนำ EF ไปใช้ประโยชน์ได้มากขึ้นแล้วล่ะค่ะ