Parents One

มาเรียนรู้ทฤษฎี Adler’s Individual Psychologyลำดับพี่น้องบ่งบอกตัวตนของลูก

คุณพ่อคุณแม่หลายท่านที่มีเจ้าตัวเล็กมากกว่าแค่คนเดียวเคยสงสัยมั้ยคะ ทั้งที่เลี้ยงมาเหมือนกัน พี่น้องคลานตามกันมา ทำไมถึงนิสัยไม่เหมือนกันเลยนะ ไปได้เชื้อใครมา? ทำไมนิสัยถึงไม่ได้แม่หรือพ่อมา บางคนเรียบร้อยน่ารัก บางคนซนมากจนจับตัวแทบไม่ทันและการแสดงออกก็มีทั้งกล้ามากๆกับขี้อายสุดๆ วันนี้ทาง Parents One จะนำเสนอหนึ่งทฤษฎีที่จะช่วยให้เราได้เข้าใจธรรมชาติของเด็กๆ ได้ค่ะ

เคยได้ยินทฤษฎีของ Adler’s Individual Psychology มั้ยคะ ทฤษฎีที่ว่าด้วยความสัมพันธภาพหรือสิ่งแวดล้อมนั้นสำคัญกว่าพันธุกรรม ทฤษฎีนี้แหละที่จะมาช่วยให้เราเข้าใจตัวตนของเด็กๆ ในบ้านมากขึ้น ยิ่งมีจำนวนสมาชิกพี่น้องมากขึ้นเท่าไหร่ก็ยิ่งจะทำให้เราเข้าใจตัวตนของเขาได้มากขึ้นโดยไม่ต้องใช้เกณฑ์สายเลือดเป็นตัวตัดสิน

ไปอ่านกันได้เลยค่ะ!

ทฤษฎี Adler’s Individual Psychology คืออะไร

ทฤษฎนี้ ถูกคิดขึ้นโดย แอดเลอร์ นักจิตวิทยาชาวออสเตรีย เขาเชื่อว่าอิทธิพลของสังคมคือสิ่งที่ชี้ถึงพฤติกรรมของบุคคลจะเป็นอย่างไรนั้นถูกกำหนดโดยสังคมหรือสิ่งแวดล้อมรอบตัวไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจ, การเมือง, ประเพณีวัฒนธรรม, วิธีการเลี้ยงดูลูก ซึ่งจากหลักนี้เองทำให้ตัวแอดเลอร์ตั้งข้อสังเกตขึ้นมาว่า ลำดับของพี่น้องเองก็จะส่งผลต่ออุปนิสัยและความคิดต่างๆ ของตัวเด็กด้วยซึ่งสำหรับส่งผลอย่างไรนั้น ต้องมาดูทั้งด้านดีและด้านเสียของแต่ละลำดับ คนโต คนกลาง คนเล็ก

คนโต ถ้าดี ดีใจหาย ถ้าร้าย ร้ายสุดขั้ว

ตามทฤษฏีแอดเลอร์แล้วจะเป็นคนที่ได้รับความรักมากที่สุดเพราะเกิดมาเป็นลำดับแรก พ่อแม่จึงมักจะทุ่มเทความรักในจนหมดหัวใจ ทำให้เขาเป็นคนที่รู้สึกได้รับการเติมเต็มอยู่เสมอและมีความคิดแรกเริ่มว่าตนคือที่หนึ่ง ดังนั้นเมื่อต้องกลายเป็นคนโตหรือเป็นพี่ ความรู้สึกที่จะเกิดขึ้นนั้น แบ่งออกเป็นด้านดี ด้านร้ายตามการเลี้ยงดูของพ่อแม่ได้ดังนี้

หากคุณพ่อคุณแม่สอนหรือบอกไว้ล่วงหน้าว่าไม่นานจะได้เป็นพี่, สอนให้รู้จักการแบ่งปันไว้ล่วงหน้า, บอกเสมอว่ายังรักตนไม่เปลี่ยนแปลง ด้านดีที่จะเกิดขึ้นคือ

หากคุณพ่อคุณแม่ไม่บอกก่อนล่วงหน้าว่าจะมีสมาชิกใหม่, ทุ่มเทความรักให้กับคนที่ 2 โดยทันที, ใส่ใจคนโตน้อยลงและเริ่มตำหนิติเตียนว่าโตกว่าจะต้องเข้าใจได้และรู้จักเสียสละ , บอกให้โตเสียที

ในส่วนนี้เองมาจากการเลี้ยงดูที่ผู้ปกครองจะต้องทำความเข้าใจธรรมชาติของลูก ว่ายังมีความอ่อนเดียงสาอยู่มาก สามารถแก้ไขและบอกให้เข้าใจได้เพียงแค่สละเวลาหรือยอมที่จะสอนให้เขารู้ที่มาที่มาของการเป็นพี่ เท่านี้ก็จะสามารถช่วยให้เขาเป็นพี่แบบอย่างที่ดีต่อทั้งตัวเราและน้องๆ ต่อไปได้แล้วค่ะ

คนกลาง ดูผ่อนคลายสบายๆ แต่เบื้องลึกต้องการการยอมรับ

เพราะมีประสบการณ์มาแล้วกับการเลี้ยงคนโต อาจทำให้คุณพ่อคุณแม่คลายความกังวลไปได้บ้างกับการเลี้ยงคนที่ 2 จึงมักจะให้ความสบายและผ่อนคลายกว่าแต่ในเวลาเดียวกันนั้นก็ดูคล้ายจะเป็นการปล่อยที่ส่งผลทั้งดีและไม่ดีได้กับตัวลูกคนรองซึ่งสามารถแบ่งตามทฤษฎีของแอดเลอร์ได้ดังนี้

หากคุณพ่อคุณแม่เลี้ยงตามสบาย ปล่อยให้ลูกได้มีความคิดเป็นของตนเอง เลี้ยงอย่างเท่าเทียมและสอนถึงการแบ่งปัน ด้านดีที่จะเกิดขึ้น

หากคุณพอคุณแม่เลี้ยงให้เป็นรองพี่คนโตเสมอ มีอะไรพี่ถูก พี่โตกว่าและเก่งกว่า ให้ความสำคัญกับคนเล็กและให้คนกลางเขาดูแลตนเอง

คนกลางนับได้ว่าเป็นอีกหนึ่งลำดับพี่น้องที่มีความน่าเห็นใจเพราะไม่ใช่ทั้งคนแรกที่คุณพ่อคุณแม่รักสุดหัวใจไปแล้วในกับคนโต ไม่ใช่ลูกคนเล็กที่ยังมความเด็กและอ่อนเดียงสากว่าคนอื่น ทำให้สิ่งหนึ่งที่ทฤษฎีของแอดเลอร์กล่าวไว้คือ คนกลางคือความเหงาและรู้สึกโดดเดี่ยวและแปลกแยกจากคนอื่นเสมอเพราะไม่รู้ว่าเขาอยู่ในความสำคัญระดับไหนในครอบครัว ดังนั้นเรื่องการรักลูกอย่างเท่าเทียมจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมากๆ เลยล่ะค่ะ

คนสุดท้อง นับถือและภูมิใจในสิ่งที่เป็นแต่ก็อาจนำไปสู่นิสัยชอบเอาแต่ใจ

เพราะเป็นคนเล็กจึงถูกเอาอกเอาใจกว่าใครนั้น สำหรับทฤษฎีของแอดเลอร์เองก็วิเคราะห์ออกมาได้แบบนั้นเช่นกันค่ะ เพราะลูกคนเล็กคือคนที่ใครๆ ก็ต้องให้ความใส่ใจด้วยอายุ ด้วยวุฒิภาวะและรวมไปถึงความรักที่คิดว่าน่าจะเป็นลำดับสุดท้ายแล้วจึงให้ได้เต็มที่อย่างไม่มีกั๊กแต่นั่นจึงทำให้ส่งผลไปถึงอะไรหลายๆ อย่างในอนาคตได้เช่นกันกับอุปนิสัยของลูกคนเล็ก

หากคุณพ่อคุณแม่ดูแลเขาในฐานะเด็กที่อายุน้อยจึงยังต้องให้ความใส่ใจแต่ก็คอยสอนถึงการให้เกียรติพี่ๆ, ตามใจแต่ไม่ได้ตามให้ทุกอย่างให้เพียงสิ่งที่จำเป็นและอธิบายด้วยเหตุและผลเสมอว่าทำไมจึงต้องขัดใจ

หากคุณพ่อคุณแม่เลี้ยงแบบตามใจอย่างมากเพราะคิดว่าไหนๆ ก็เป็นคนเล็กสุดแล้วก็ต้องได้รับความรักที่มากกว่าคนอื่นๆ พี่ทุกคนต้องยอมให้น้อง อยากได้อะไรก็ต้องให้ จะส่งผลให้ลูกคนเล็กหรือคนสุดท้องนั้น

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ กับหลักการแบ่งประเภทนิสัยของลำดับเด็กๆ ในบ้านของแอดเลอร์ นับว่าเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยเลยทีเดียวเพราะสิ่งที่นักจิตวิทยาผู้นี้เขียน เป็นการมุ่งเน้นไปทางการอบรมและเลี้ยงดูเป็นหลัก จึงทำให้เราสามารถเข้าใจได้ชัดเจนมากขึ้นถึงเหตุผลที่มาที่ไปของอุปนิสัยลูก ที่ไม่เหมือนกัน บ้างก็ดี บ้างก็ร้าย เช่นนั้นแล้วการจะเลี้ยงเด็กสักคนขึ้นมาให้ดี ก็นับว่าเป็นเรื่องที่ต้องให้ความใส่ใจมากๆ ค่ะ ไม่ว่าจะกับวัยไหน คุณพ่อคุณแม่จะต้องให้ความรัก ความเข้าใจและเรียนรู้ถึงความแตกต่างของพวกเขาให้มากนะคะ หากเด็กๆ ได้รับการสั่งสอนและการดูแลที่ถูกวิธี รับรองได้ว่าไม่ว่าจะเป็นคนลำดับไหนของบ้านก็สามารถเป็นคนที่ดีมีคุณภาพและอยู่รอดต่อไปในสังคมได้อย่างแน่นอนค่ะ

ที่มา : plabooza, oservice, baanjomyuthanjsah