Parents One

ยิ่งตีลูก ยิ่งก้าวราวจริงหรือ?

เชื่อเลยว่าในสังคมถ้าเป็นสมัยก่อน การตีลูกหรือทำโทษลูกถือเป็นเรื่องปกติที่พ่อแม่จะทำเมื่อลูกดื้อหรือไม่เชื่อฟัง เหมือนดังสุภาษิตคำพังเพยที่ว่า “รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี” บางคนก็ถือว่าการทำโทษลูกด้วยวิธีการตีหรือใช้การกระทำที่รุนแรงเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมของเราซึ่งมันช่วยให้เด็กๆ ไม่ดื้อได้และนั้นก็เป็นความเชื่อที่ผิดค่ะ

แต่ไม่ใช่ว่าคนเป็นพ่อเป็นแม่อย่างเราจะไม่สามารถทำโทษเด็กๆ ได้นะคะ แต่วิธีการทำโทษอาจจะต้องมีการปรับเปลี่ยนสักหน่อย มาดูกันเลยดีกว่าว่าการตีลูกมันมีผลเสียมากกว่าผลดียังไง และมันทำให้ลูกก้าวร้าวจริงหรือไม่ไปดูกันเลยค่ะ

ผลเสียของการตีลูก

ทำยังไงไม่ให้เราโมโหลูกจนต้องใช้ความรุนแรง

ตัวอย่างประเทศที่มีกฎหมายห้ามตีเด็ก

1. ประเทศสวีเดน : จะเน้นเรื่องการห้ามลงโทษร่างกายเด็กบริเวณโรงเรียน

2. ประเทศฝรั่งเศส : จะเน้นเรื่องการห้ามตีเด็กโดยเฉพาะผู้ปกครอง จะไม่มีสิทธิใช้ความรุนแรงทั้งร่างกายและจิตใจกับเด็กๆ เลย

3. ประเทศสกอตแลนด์ : เป็นประเทศแรกในสหราชอาณาจักรที่กำหนดให้การตีเด็กเป็นความผิดทางอาญา

4. ชาติอื่นๆ ในสหราชอาณาจักรในอังกฤษและเวลส์  : อาจโดนตั้งข้อหาทางอาญาได้หากตีลูกแรงจนเกิดรอยช้ำ บวม หรือเป็นแผล ซึ่งตอนนี้เวลส์ก็กำลังอยู่ในกระบวนการที่จะออกกฎหมายห้ามตีเด็กโดยสิ้นเชิง ห้ามแม้แต่การลงโทษอย่างสมเหตุสมผล

5. ประเทศญี่ปุ่น : ได้ออกกฎหมายห้ามตีเด็กขึ้น โดยห้ามพ่อแม่ ผู้ปกครอง และคุณครู ลงโทษเด็กทางร่างกายไม่ว่าจะเป็นการทำโทษเพื่ออบรมสั่งสอนหรือไม่ก็ตาม

หากตีไม่ได้จะทำโทษแบบไหน

1. Time out ให้ลูกอยู่ตามลำพัง

เมื่อไหร่ก็ตามที่ลูกทำผิดหรือดื้อ พ่อแม่อย่างเราหากใช้วิธีนี้ อันดับแรกเลยก็ต้องจับเขาให้ไปนั่งอยู่มุมใดมุมหนึ่งคนเดียวหรือนั่งเฉยๆ อยู่กับที่ โดยที่พ่อแม่อย่างเราต้องเพิกเฉยกับพฤติกรรมเรียกร้องความสนใจนั้น ให้เขาได้สงบสติอารมณ์ของตัวเอง แต่ไม่ใช่การลงโทษหรือปล่อยให้เขาอยู่อย่างโดดเดี่ยวจากสังคมนะคะ

2. งดกิจกรรมที่ลูกต้องการ

หากลูกงอแงเอาแต่ใจ ว่าเท่าไหร่ก็ยังไม่ยอมหยุดดื้อล่ะก็ วิธีนี้ถือเป็นวิธีปราบเซียนเลย เพราะสิ่งที่ลูกต้องการเอาจะไม่สามารถทำได้อีกต่อไป เช่น อดเล่นของเล่นที่ชอบ อดกินขนม 1 วัน อดเที่ยวเล่นกับเพื่อน ซึ่งวิธีนี้สามารถใช้กับเด็ก 6 ขวบขึ้นไปได้นะคะ

3. ตักเตือนก่อน

วิธีนี้เหมาะสมสำหรับเด็กเล็ก เมื่อใดที่ลูกทำผิด ไม่ยอมเชื่อฟังอันดับแรกพ่อแม่อาจจะตักเตือนเขาด้วยสายตาก่อน มีการใช้น้ำเสียงเพื่อให้เขารู้ว่านี่คือสิ่งที่แม่ไม่ปลื้มเลยนะ จากนั้นก็ทำการตักเตือนสัก 1-3 ครั้ง หากทำผิดจะต้องโดนทำโทษ การตักเตือนก่อนจะทำให้ลูกรู้ว่าพวกเขาทำผิดแล้วนะ แล้วแม่ก็จะดุแล้วนะ หรือเพื่อให้เห็นภาพอาจจะใช้การเปรียบเทียบให้ลูกเห็นชัดได้ เช่น “ถ้าลูกตีเพื่อน แล้วแม่ตีลูกบ้างล่ะจะเจ็บไหม” เป็นต้น

4. ให้ลูกทำประโยชน์ทดแทนความผิด

เมื่อไหร่ที่ลูกทำผิดการทำโทษอย่างหนึ่งที่เป็นประโยชน์ นั้นก็คือการให้ลูกทำประโยชน์ทดแทนความผิด เช่น ช่วยแม่ถูกบ้าน ช่วยแม่กรอกน้ำ ช่วยเก็บใบไม้รอบๆ บ้าน เป็นต้น เพื่อให้เขาจะได้ไม่ทำอีก หรือหากเขาทำผิดก็ยังได้ประโยชน์อีกต่างหากนะคะ

5. บังคับให้ลูกทำในสิ่งที่ไม่ชอบ

หากลูกทำผิดถ้าเราหนักแน่นพอในการบังคับลูกว่าเช่น “ถ้าหนูดื้อ แม่จะให้หนูกินแต่ผักและลดค่าขนมเลยนะ” ลูกก็จะรู้สึกกลัวและไม่ทำในสิ่งที่ผิด และอาจจะเชื่อฟังเรามากขึ้นได้ แต่หากลูกแก้ไขพฤติกรรมแล้วก็อย่าลืมชื่นชมเขาที่ทำได้ด้วยนะคะ เพื่อให้เขาได้เห็นว่าหากเป็นเด็กดีแม่ก็จะทำแบบนี้ให้เห็นความแตกต่างของการเป็นเด็กดื้อและเด็กดีนั่นเองค่ะ

6. เพิกเฉยลูก เพื่อให้เขารู้ว่าถ้าเป็นเด็กดื้อจะไม่มีใครสนใจ

เมื่อใดที่ลูกเริ่มดื้อ งอแง ไม่เชื่อฟัง วิธีสามารถหยุดความร้ายกาจของลูกได้ค่ะ เช่น ลูกร้องไห้จะเอาของเล่น แทนที่เราจะบอกแม่จะดีนะ ให้เราทำเป็นไม่สนใจ เพื่อทำให้เขารู้ว่าหากเขาดื้อแบบนี้แม่ก็จะไม่สนใจด้วยเช่นกัน เด็กๆ ก็จะหยุดร้องเอง และเราก็จะสามารถเข้าไปพูดคุยและบอกสิ่งที่ถูกต้องให้กับลูกเพื่อให้เขาเข้าใจถึงพฤติกรรมที่เขาทำว่ามันไม่น่ารักแค่ไหน

เพราะฉะนั้นการทำโทษเด็กจริงๆ พ่อแม่สามารถทำได้นะคะ แต่การทำโทษที่ดีต้องไม่ควรใช้กำลังหรือทำให้ร่างกายและจิตใจของเด็กๆ ต้องบอบช้ำค่ะ ทางที่ดีคุณพ่อคุณแม่ต้องคิดเสมอว่า การที่เราทำโทษแบบนี้เราได้อะไร และลูกรู้สึกผิดจริงๆ หรือเปล่า จริงอยู่ที่การตีลูกจะทำให้ลูกหยุดดื้อ หยุดร้องไห้ แต่ข้อเสียมันมากมายและมีผลเสียระยะยาวกว่าที่คิดนะคะคุณพ่อคุณแม่