Parents One

ลูกน้อยงอแงร้องไห้แบบไหน เรียกว่าผิดปกติ

เด็กๆ มักร้องไห้งอแง ซึ่งเป็นหนึ่งในเรื่องกังวลใจของคนเป็นพ่อเป็นแม่อยู่ไม่น้อย โดยเฉพาะคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ที่ต้องเตรียมรับมือกับเสียงของเจ้าตัวน้อย แต่การที่เด็กๆ ร้องไห้งอแงนั้น ไม่ใช่ว่าเขาร้องไห้เฉยๆ แต่นั้นคือการสื่อสารของทารกอีกวิธีหนึ่งนั้นเองค่ะ

แต่บางครั้งคุณพ่อคุณแม่ก็จะพบว่าทารกน้อยของเราร้องไห้มากขึ้นๆ เรื่อยๆ โดยไม่มีสาเหตุที่ชัดเจน จนทำให้พ่อแม่เกิดความกังวลได้ และไม่รู้จะแก้ปัญหาอย่างไร งั้นลองมาดูกันว่าทารกน้อยของเราที่ร้องไห้นั้น เกิดจากสาเหตุใด และมีวิธีแก้ไขยังไงบ้าง ไปดูกันเลยค่ะ

โดยปกติ เมื่อทารกอายุประมาณ 6-8 สัปดาห์ จะร้องไห้เฉลี่ยวันละ 3 ชั่วโมง และหลังจากนั้นเมื่ออายุได้ 10-12 สัปดาห์ ทารกจะร้องไห้น้อยลงเหลือประมาณวันละ 1 ชั่วโมง ซึ่งการร้องไห้ไม่ได้มีผลเสียใดๆ ต่อร่างกายหรือพัฒนาการของทารกเลยนะคะคุณแม่ๆ

แต่ถ้าหากเด็กๆ ร้องไห้แบบผิดปกติ หรือที่เรียกว่า อาการโคลิค (Colic) โดยเฉพาะเด็กแรกเกิดอายุประมาณ 2-3 สัปดาห์ไปจนถึง 3 เดือน เด็กจะร้องไห้มากและร้องนานมากกว่า 3 ชั่วโมงภายในวันเดียวโดยไม่มีสาเหตุ คุณพ่อคุณแม่ควรรีบไปปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเมื่อเกิดสถานการณ์ดังนี้

สาเหตุที่ทารกร้องไห้และวิธีรับมือ

เนื่องจากนมแม่จะย่อยง่าย จึงทำให้ทารกหิวบ่อย ควรให้นมลูกทุก 2-3 ชั่วโมงและสังเกตอาการหลังกินนมว่าลูกดีขึ้นหรือไม่ หากหยุดร้องก็แสดงว่ามาถูกทางแล้วค่ะคุณแม่ๆ

จะพบได้บ่อยเนื่องจากระบบย่อยอาหารของเด็กยังทำงานไม่ได้ดี จึงทำให้เกิดอาการท้องอืดได้ หากเป็นอย่างงั้นหลังกินนมเสร็จให้อุ้มพาดบ่าลูบหลังเบาๆ เพื่อให้เขาเรอทุกครั้งจะทำให้เด็กๆ สบายตัวมากขึ้น แต่หากมีอาการหนัก เช่น การแหวะนมมาก อาเจียนพุ่ง ควรรีบปรึกษาแพทย์โดยด่วนเลยนะคะ

จากหูอักเสบ ควรมาพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุ และให้การรักษาต่อไปค่ะ

คุณพ่อคุณแม่ควรถอดเสื้อผ้า เพื่อสำรวจดูว่ามีรอยแมลงกัดหรือไม่

หากลูร้องคุณพ่อคุณแม่ควรดูผ้าอ้อมก่อนทุกครั้งก่อนว่าเปียกแฉะ ทำให้เด็กๆ ไม่สบายตัวหรือไม่

เด็กบางคนง่วงนอน แต่ก็ไม่ยอมหลับ เนื่องจากสภาพแวดล้อมไม่เอื้ออำนวยให้เด็กๆ หลับนั้นเอง ยิ่งง่วงแล้วไม่หลับ ก็ทำให้ลูกเหนื่อยและร้องไห้มากได้นะคะ

สังเกตได้จากเมื่อเด็กๆ มีอาการตัวร้อน วัดไข้ด้วยปรอทวัดไข้พบว่ามีไข้ หรือมีอาการอื่นร่วมด้วยเช่น ซึม กินได้น้อย อาเจียน ท้องเสีย ไอ น้ำมูก ให้รีบพามาพบแพทย์บางครั้งอุณหภูมิร่างกายที่สูงขึ้นของลูกน้อย อาจเกิดจากสภาพแวดล้อมที่ร้อนเกินไป หรือการห่อตัวหนา หรืออากาศถ่ายเทไม่สะดวกก็ได้ค่ะ

ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับพื้นฐานทางด้านอารมณ์ เด็กๆ มักจะตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นด้วยปฏิกิริยารุนแรง ร้องไห้มาก หงุดหงิดง่าย ปรับตัวยาก เพราะฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรมีความอดทน และยอมรับพื้นฐานทางอารมณ์ของลูก อีกทั้งต้องตอบสนองต่อลูกน้อยอย่างเหมาะสม เพื่อให้เขาได้ปรับตัวให้ได้ดีขึ้นต่อไปนั้นเองค่ะ

วิธีการช่วยเหลือเมื่อเด็กๆ ร้องไห้

ข้อควรระวังเมื่อลูกร้องไห้

 

ที่มา : pobpad, Smitivejhospitals, Nappibaby