Parents One

ป้อนกล้วยบดทารกยังไง ไม่เสี่ยงต่อปัญหาลำไส้ลูก

กล้วยเป็นผลไม้ชนิดหนึ่งที่เราคุ้นเคยกันอยู่แล้ว กล้วยมีอยู่มากมายและหลากหลายสายพันธุ์ และอีกทั้งยังมีวิตามินและประโยชน์อีกมากมาย โดยเฉพาะเรื่องของโภชนาการ และยังมีประโยชน์กับลูกๆ อีกด้วย

แต่คุณแม่ๆ รู้หรือไม่ว่าสำหรับเด็กๆ อย่างเด็กแรกเกิดที่ยังอายุไม่ถึง 6 เดือนนี้ หากคุณแม่ๆ ป้อนเจ้ากล้วยบดเร็วเกินไป จะเกิดผลเสียอย่างไรกันลูกๆ บ้าง โดยเฉพาะสำไส้ หรือระบบย่อยอาหาร ไปดูกันเลย

เป็นแหล่งอาหารกลุ่มคาร์โบไฮเดรตที่ให้พลังงาน และยังมีแร่ธาตุที่สำคัญมากมายได้แก่ โพแทสเซียม ซึ่งมีหน้าที่สำคัญ คือนำสารอาหารผ่านเข้าสู่เซลล์และนำของเสียออกจากเซลล์ แถมยังเป็นตัวช่วยที่ช่วยให้กล้ามเนื้อในร่างกายหดตัวหรือคลายตัว โดยเฉพาะกล้ามเนื้อหัวใจ นอกจากนี้ยังมีวิตามินบี 6 ซึ่งจำเป็นต่อร่างกาย  พบมากในกล้วยหอม วิตามินบี 6 นี้ช่วยในการสร้างสารสื่อประสาท ช่วยให้สดชื่น มีความสุข ช่วยให้ลูกน้อยหลับ และมีผลต่อความจำของลูกน้อยอีกด้วย

 

กล้วยน้ำว้าเหมาะสมที่สุดเพราะถ้าเลือกจากปริมาณคาร์โบไฮเดรตและลักษณะสัมผัสของเนื้อกล้วบดแล้ว เนื้อของกล้วยน้ำว้าจะมีลักษณะที่ละเอียดและเป็นแป้งมากที่สุด  รองลงมาก็คือกล้วยไข่ กล้วเล็บมือนาง นั้นเอง ส่วนกล้วยหอมที่บางคนเข้าใจว่าเป็นผลไม้ที่มีแก๊สมาก จริงๆ แล้วมีไยอาหารมาก เมื่อร่างกายย่อยยากหรือไม่สามารถย่อยได้จึงทำให้เข้าใจว่ากล้วยหอมมีแก๊สมากนั่นเอง

 

ร่างกายทารกมีความพร้อมที่จะรับสารอาหารอื่นๆ นอกจากนมแม่ เมื่ออายุประมาณ 4 เดือน เนื่องจากนมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดและมีสารอาหารครบถ้วน สำหรับทารกตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 เดือน จึงแนะนำให้คุณแม่ๆ ป้อนอาหารอื่นๆ นอกจากน้ำนมแม่เมื่อเขาอายุได้ 6 เดือนขึ้นไปนั้นเอง

 

คำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO) ให้เริ่มอาหารอื่นที่ไม่ใช่นมหลังเด็กอายุได้ 6 เดือน เนื่องจากก่อน 6 เดือน เด็กยังมีกระเพาะอาหารและลำไส้ไมแข็งแรงเต็มที่ ระบบการย่อยยังไม่สมบูรณ์ หากกินอาหารอื่นที่ไม่ใช่นมเข้าไป อาจมีความผิดปกติได้

 

แม่ๆ คะเมื่อลูกๆ เริ่มทานอาหารเสริมหรืออาหารแข็งๆ ได้แล้ว คุณแม่ๆ ก็สามารถทำกล้วยบดให้เด็กๆ ได้เลยค่ะ วิธีการทำง่ายมากๆ เลย

ส่วนผสสมกล้วยบดได้แก่
วิธีทำก็คือ

 

ที่มา : bnhhospitababykapook, amarinbabyandkids