Parents One

“เพราะเด็กไม่ใช่ผู้ใหญ่ตัวเล็ก” เลี้ยงลูกในยุค 2019 เตรียมความพร้อมก่อนที่ลูกจะป่วย

“เพราะเด็กไม่ใช่ผู้ใหญ่ตัวเล็ก”

เลี้ยงลูกในยุค 2019 เตรียมความพร้อมก่อนที่ลูกจะป่วย

หลายคนอาจจะเคยได้ยินคำว่า “เด็กไม่ใช่ผู้ใหญ่ตัวเล็ก” กันมาบ้าง ในยุคที่การเลี้ยงดูลูกยากขึ้นไปทุกวัน ทั้งโรคภัยต่างๆ ที่มีมากมาย ปัญหาสังคมรอบด้าน ภัยจากโลกออนไลน์ ทำให้พ่อแม่ในยุค 2019 ต้องเตรียมตัวมากกว่าที่เคยเป็นอยู่

วันนี้ ParentsOne ขอรวบรวมสถิติ, สิ่งที่พ่อแม่ควรต้องรู้ รวมถึงคำแนะนำจากคุณหมอ เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่การดูแลลูก ในยุคที่การดูแลเด็กๆ ยากขึ้นไปทุกที

อันดับ 1 ที่เด็กไทยเสียชีวิต คือโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ

โรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจในเด็ก เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทําให้เด็กไทยที่มีอายุตํ่ากว่า 5 ปี มีอัตราการป่วยและเสียชีวิตสูง ส่วนเด็กอายุตํ่ากว่า 5 ปี ในประเทศที่กําลังพัฒนา เสียชีวิตด้วยโรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจถึง 2.9 ล้านคน

  • ในประเทศไทย ร้อยละ 72  ของผู้ป่วยเด็ก มีอายุน้อยกว่า 1 ปี
  • อัตราการเสียชีวิตของเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ของโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจมี 1.2 /100,000
  • ในเด็กอายุน้อยกว่า 3 ปี มักพบการติดเชื้อที่รุนแรง
  • โรคปอดบวมเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของโรคติดเชื้อในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ถึงร้อยละ 52

โรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจที่เด็กไทยเป็นเยอะที่สุด

  • เชื้อไวรัสอาร์เอสวี (RSV)
  • โรคหวัด
  • โรคคออักเสบ
  • โรคหูอักเสบ
  • โรคไซนัสอักเสบ
  • โรคกล่องเสียงอักเสบ (Viral croup)
  • โรคหลอดลมอักเสบ
  • โรคปอดอักเสบ หรือ ปอดบวม

อะไรทำให้เด็กเป็นโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ

  • อายุ : มักพบการติดเชื้อที่รุนแรงในเด็กอายุน้อยกว่า 3 ปี
  • เพศ : โรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจส่วนล่างพบในเด็กชายได้บ่อยกว่าในเด็กหญิง
  • น้ําหนักแรกเกิด : เด็กที่มีน้ําหนักแรกเกิดน้อยหรือคลอดก่อนกําหนดมีโอกาสมากกว่าปกติ
  • ปัจจัยภายในบ้าน : มีคนสูบบุหรี่, บ้านที่มีคนอาศัยแออัด
  • การได้รับวัคซีนไม่ครบ เสี่ยงต่อการติดเชื้อบางอย่าง  เช่น  คอตีบ, ไอกรน, หัด
  • เด็กที่ได้รับนมแม่ จะมีโอกาสเกิดโรคติดเชื้อในระบบหายใจน้อยกว่าเด็กที่เลี้ยงด้วยนมผสม

สถานการณ์ปัจจุบันของโรคภัยไข้เจ็บในเด็ก

ในปัจจุบันถึงแม้ว่าการแพทย์จะมีความเจริญก้าวหน้ามาก แต่โรคภัยไข้เจ็บยังคงมีอิทธิพลต่อสุขภาพของเด็กจนทำให้เกิดความสูญเสียอยู่

“เมื่อก่อนเวลาเราพูดถึงโรคภัยไข้เจ็บ เราก็จะคิดถึงแค่โรคทางกาย แต่ในปัจจุบันไม่ใช่นะคะ เพราะมันมีทั้งโรคทางกาย โรคทางจิตใจ รวมไปถึงเรื่องของการเลี้ยงดูด้วย” แพทย์หญิงสุรางคณา เตชะไพฑูรย์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเด็กสมิติเวชให้ความเห็น

“เรื่องของโรคต่างๆ ไม่ใช่เรื่องเล็กๆ จำเป็นที่จะต้องให้ความสำคัญและรักษาอย่างดีที่สุด เพราะว่าเด็กไม่ใช่ผู้ใหญ่ตัวเล็ก”

สำหรับโรคทางกาย เด็กเล็กๆ ก็จะมีโอกาสติดเชื้อมากกว่าปกติ เพราะระบบภูมิคุ้มกันที่ยังทำงานได้ไม่ดี ต่อให้มีวัคซีนก็ไม่สามารถป้องกันได้ 100% เพราะเชื้อโรคมันก็เก่ง มันก็เปลี่ยนตัวมันเองได้ เด็กๆ จึงต้องคอยฉีดวัคซีนกระตุ้นภูมิคุ้มกันตามกำหนดอยู่ตลอด

นอกจากนี้ยังมีโรคทางกายอื่นๆ อย่างโรคหัวใจ โรคเบาหวาน ที่เรียกว่าโรคเรื้อรังที่ไม่ติดเชื้อ เรามักจะคิดว่าโรคเหล่านี้เป็นโรคเกิดกับผู้ใหญ่ แต่ไม่ใช่ค่ะ เด็กๆ ก็เป็นได้ ปัจจุบันอัตราการเกิดโรคอ้วนในเด็กเพิ่มขึ้น สถานการณ์ในเมืองไทยเพิ่มมากขึ้น

ซึ่งเกิดจากเราใช้ชีวิตแบบคนตะวันตก เด็กกินอาหารมีน้ำตาลที่เพิ่มมากขึ้น อาหารมื้อด่วนต่างๆ ซึ่งก็จะส่งผลให้เกิดโรคอื่นๆ ตามมา อย่างโรคเบาหวาน โรคหัวใจที่เพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน

‘โรคติดเชื้อ’ โรคยอดฮิตในเด็ก

“อัตราการตายจากโรคติดเชื้อทางเดินหายใจของเด็กก็จะสูงกว่าผู้ใหญ่”

สำหรับโรคติดเชื้อในเด็กอื่นๆ อันดับหนึ่ง คือการติดเชื้อทางเดินหายใจ โรคหวัดพบได้เยอะมาก โดยในเด็กเล็กมักจะลงทางเดินหายใจส่วนล่าง ซึ่งนั่นทำให้เกิดเรื่องของหลอดลมอักเสบ หลอดลมฝอยอักเสบ ปอดอักเสบได้มากกว่า แล้วเวลาเป็นก็จะเป็นหนักกว่าผู้ใหญ่ เพราะฉะนั้นอัตราการเสียชีวิตจากโรคติดเชื้อทางเดินหายใจของเด็กก็จะสูงกว่า ซึ่งบางโรคก็สามารถป้องกันได้ก่อนด้วยการฉีดวัคซีนค่ะ

ส่วนโรคที่ไม่มีวัคซีนป้องกัน เช่นโรคที่เรากังวลกันอยู่บ่อยครั้งในเวลาเปิดเทอม อย่างโรคมือเท้าปาก ที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ ในสมัยก่อนมันก็ไม่ได้ดูร้ายแรง แต่ปัจจุบันเชื้อโรคมันร้ายกาจขึ้น สามารถจะขึ้นสมองได้ ทำให้เกิดสมองอักเสบ การควบคุมการทำงานของหัวใจผิดปกติจนทำให้เสียชีวิต ซึ่งจะมีการรายงานข่าวเป็นระยะๆ จึงทำให้พ่อแม่เป็นกังวล ดังนั้นโรคติดเชื้อก็จะเป็นโรคยอดฮิตของเด็กอยู่ตลอดเวลา

ฤกษ์คลอดดี แต่สุขภาพของลูกอาจไม่ดี

สาเหตุของการคลอดก่อนกำหนดในเมืองไทยนอกจากเรื่องของ “โรคภัย” แล้วยังมีเรื่องของ “ฤกษ์ยาม”  เราก็ไม่ได้มีปัญหากับเรื่องฤกษ์ยาม แต่อย่างไรก็ตามอยากให้เด็กปลอดภัยมากที่สุด คือขอให้ครบกำหนดน้อยสุดคือ 38-40 สัปดาห์ เพราะพอมีฤกษ์ยามในการคลอดเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่ถ้าอายุครรภ์ยังไม่ถึงกำหนดคลอด พอเด็กคลอดก่อนกำหนดก็มีปัญหา จึงส่งผลต่อปัญหาสุขภาพอื่นๆ ตามมา

“ในเด็กเล็กๆ จะมีภาวะภูมิคุ้มกันน้อยกว่าผู้ใหญ่ ยิ่งเด็กที่คลอดก่อนกำหนดภูมิคุ้มกันก็ยิ่งน้อยลง โอกาสการติดเชื้อก็เยอะมากขึ้น”

ซึ่งการติดเชื้อในเด็กเล็กอันตรายมากนะคะ เพราะว่ามันไม่ได้เป็นการติดเชื้อเฉพาะที่ มีสิทธิ์จะเป็นการติดเชื้อในกระแสโลหิตถึงขั้นขึ้นสมองได้ จึงทำให้ส่งผลกระทบและเกิดปัญหากับส่วนต่างๆ ของร่างกาย การคลอดก่อนกำหนดจึงมีอัตราการเสียชีวิตมากกว่าเด็กที่ครบกำหนด

เด็กต้องมีหมอ ‘เฉพาะทาง’

“มีคำที่กล่าวว่า เด็กไม่ใช่ผู้ใหญ่ตัวเล็กๆ โรคของเด็กบางอย่างไม่เหมือนกับโรคของผู้ใหญ่”

เราต้องการแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้นๆ อย่างเช่น เรื่องของการผ่าตัดในเด็ก การผ่าตัดเพื่อรักษาเด็กๆ ต้องมีการใช้หมอเฉพาะทางผ่าตัดของเด็ก และแยกเฉพาะส่วนต่างๆ ของร่างกาย เครื่องมือในการรักษาก็ต้องเป็นของเด็ก รวมไปถึงทีมที่ใช้ในการดูแล ยกตัวอย่างเช่น เด็กที่ลำไส้ผิดปกติออกมาแล้วต้องมีการผ่าตัด ซึ่งการผ่าตัดนั้นก็ต้องใช้กล้องเล็กๆ สั้นๆ สำหรับเด็ก และจะต้องใช้ทีมเฉพาะทางที่เป็นหมอศัลยกรรมเด็กที่ได้รับการเทรนเกี่ยวกับการส่องกล้องในเด็กมาโดยเฉพาะ

หรืออย่างโรคหัวใจของเด็กกับผู้ใหญ่ก็ไม่เหมือนกัน ของผู้ใหญ่ส่วนใหญ่เกิดจากเส้นเลือดที่มาเลี้ยงหัวใจอุดตัน แต่ของเด็กจะเป็นพิการแต่กำเนิด ซึ่งบางเคสอาจรักษาได้ง่าย แต่บางเคสซับซ้อนมากเลยต้องใช้ทีมที่เป็นหมอผ่าตัดหัวใจที่ชำนาญการผ่าตัดหัวใจเด็กและต้องมีหมอหัวใจเด็กเข้ามาช่วยร่วมดูด้วย รวมไปถึงต้องมีทีมพยาบาลสำหรับเด็ก อุปกรณ์การแพทย์ทุกอย่างต้องเป็นสำหรับเด็ก

รู้จักกับโรงพยาบาลเด็กสมิติเวช กับรางวัลระดับโลก และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกว่า 150 คน

World’s Best Hospitals MTQUA 2018
(สมิติเวช สุขุมวิท และสมิติเวช ศรีนครินทร์) 

โรงพยาบาลสมิติเวชเป็นโรงพยาบาลเดียวในเอเชียที่ได้รับเลือกให้เป็น 1 ใน 5 สถานพยาบาลที่ดีที่สุดระดับโลกรองรับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Medical Tourism) MTQUA จากการประกาศผลการจัดอันดับ  10 โรงพยาบาลยอดเยี่ยมระดับโลกสำหรับท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ปี 2018 นับเป็นรางวัลแห่งความภาคภูมิใจที่ได้รับอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 2

  • ได้รับการรับรองคุณภาพมาตรฐานการดูแลเฉพาะทาง โรคหืดในเด็ก (CCPC CHILDHOOD ASTHMA PROGRAM) จาก JCI ซึ่งเป็นโรงพยาบาลเด็กเอกชนแห่งแรก ที่อยู่นอกประเทศสหรัฐอเมริกาเพียงแห่งเดียว ที่ได้การรับรองมาตรฐานดังกล่าวนี้ต่อเนื่องเป็นปีที่ 7 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน ถึง 31 สิงหาคม 2564
  • พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ประทานโล่รางวัล “โรงพยาบาลคุณธรรม” แก่โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช ในงานประชุมสัมมนาพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม กระทรวงสาธารณสุข ครั้งที่ 13 ประจำปี 2561 เนื่องจากเป็นองค์กรที่มีหลักการบริหารจัดการ ด้วยความโปร่งใส ซื่อสัตย์ ประหยัด ยึดมั่นในสิ่งที่ถูกต้องบนพื้นฐานทางศีลธรรม

โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช พร้อมที่สุดสำหรับการดูแล

  • โรงพยาบาลสมิติเวช มีศูนย์และคลินิกโรคเฉพาะทางสำหรับเด็กที่ครบทุกสาขากว่า 30 ศูนย์
  • เป็นโรงพยาบาลเด็กที่สามารถรองรับผู้ป่วยเด็กที่ต้องนอนโรงพยาบาลร่วม 200 เตียง
  • หอผู้ป่วยวิกฤตเด็กและทารกแยกการดูแลอย่างมีประสิทธิภาพ
  • หอพักผู้ป่วยโรคมะเร็ง
  • ศูนย์ปลูกถ่ายไขกระดูก
  • หอพักผู้ป่วยเด็กหลังผ่าตัด
  • ศูนย์ผ่าตัดเด็กและทารกครบวงจร

โรงพยาบาลที่พร้อมมอบความเชี่ยวชาญในการดูแลเด็กๆ

Children’s Center : อยู่บริเวณชั้น 2 ของโรงพยาบาล ที่นี่จะเป็นแหล่งรวมการเรียนรู้ต่างๆ ของเด็ก โดยแบ่งเป็น 2 โซน คือ เด็กป่วยที่เข้ามาทำการรักษากับเด็กที่เข้ามารับวัคซีนเฉยๆ ซึ่งจะทำให้เด็กไม่ต้องเสียเวลาหรือเสี่ยงติดเชื้อโรคกลับไปที่บ้านด้วยนั่นเอง

ห้องให้นมบุตร : โรงพยาบาลเด็กสมิติเวชมุ่งเน้นนโยบาย bottle-free การให้นมลูก 100 % สำหรับคุณแม่ทุกคน เพราะเห็นความสำคัญของน้ำนมแม่มีคุณค่าอย่างยิ่งต่อลูก ทางโรงพยาบาลจึงมีห้องให้นมลูกใน Nursery และในห้องคุณแม่ที่พักฟื้นหลังคลอด เพื่ออำนวยความสะดวกให้ทั้งแม่และลูก

ห้อง Nursery : หอทารกแรกเกิด มีไว้สำหรับเด็กแรกเกิดที่ลืมตาดูโลกออกมา

นอกจากนี้ยังมีหอผู้ป่วยทารกวิกฤตที่ไว้ดูแลโดยเฉพาะสำหรับทารกที่มีน้ำหนักตัวน้อย ทารกที่คลอดก่อนกำหนด หรือมีภาวะแทรกซ้อน โดยที่นี่จะมีการดูแลจากทีมแพทย์และพยาบาลเฉพาะทางสำหรับเด็กทารกแรกเกิดวิกฤต ที่สำคัญคือยังมีเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ได้รับมาตรฐานอีกด้วย

ห้องตรวจสำหรับเด็ก : บรรยากาศน่ารักตกแต่งด้วยสีสันมากมาย ทำให้เด็กๆ ที่กำลังกลัวคุณหมอรู้สึกผ่อนคลาย เมื่อมาถึงห้องตรวจที่น่ารักแบบนี้ เด็กๆ คงจะลดความกังวลไปได้มากเลยทีเดียว

รถเข็นเสาน้ำเกลือสำหรับเด็ก : เด็กๆ ที่อยู่โรงพยาบาลคงจะเบื่อกันมากๆ ถ้าต้องอยู่กับคุณหมอและผนังห้องสีขาวๆ ที่นี่เลยมีสิ่งอำนวยความสะดวกเอาใจเด็กๆ ที่อยู่ในโรงพยาบาล โดยมีรถสำหรับแขวนน้ำเกลือ  ให้เด็กๆ ที่ยังแขวนน้ำเกลืออยู่ได้สนุกสนานไปกับเจ้ารถหลากสีเหล่านี้  อาจให้คุณพ่อคุณแม่เข็นรถพาไปชมสวนสีเขียวด้านหน้าโรงพยาบาล หรือไปซื้อขนมทานเล่นที่โซนพลาซ่า นอกจากเด็กๆ จะชอบเจ้ารถเข็นนี้แล้ว ผู้ปกครองก็ยังได้รับความสะดวกสบายอีกด้วย

ห้องผู้ป่วยเด็ก (Standard) : ตกแต่งห้องด้วยสีโทนอุ่น พร้อมกับวอลล์เปเปอร์สุดน่ารักๆ เหมาะกับเป็นห้องพักสำหรับเด็กๆ มากเลยทีเดียว ห้องแบบนี้จะมีทั้งเตียงและที่นอนแบบปูไม่ยกสูงเหมาะกับเด็กเล็ก เพื่อป้องกันอันตรายจากการตกเตียงนั่นเอง แถมคุณแม่ยังสามารถนอนกับลูกได้อย่างสบาย นอกจากนี้ ภายในห้องยังมีสิ่งอำนวยความสะดวกมากมายอีกด้วย

ห้องเรียนรู้สำหรับคนพิเศษ : ห้องนี้จะอยู่ในศูนย์เด็กพิเศษ โดยรองรับเด็กที่มีความผิดปกติทางด้านพัฒนาการ อารมณ์และการเรียนรู้ สามารถมาฝึกฝนร่างกายได้ ซึ่งผู้ปกครองไม่ต้องกลัวอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับเด็กๆ เลย เพราะมีคุณหมอผู้เชี่ยวชาญให้คำแนะนำและฝึกฝนอยู่ตลอดเวลาเมื่ออยู่ในห้อง (นี่เป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น ยังมีห้องให้คนพิเศษอีกหลายจุดเลยทีเดียว)

พื้นที่เด็กเล่นระหว่างรอพบคุณหมอ : เป็นโซนโปรดของเด็กๆ เลยก็ว่าได้ เพราะโซนนี้เป็นโซนเพื่อเด็กๆ โดยเฉพาะ ให้เด็กๆ ได้มาเล่นในลานกว้างๆ ก่อนจะเข้าพบคุณหมอนั่นเอง เมื่อเด็กๆ ได้เล่นอย่างเพลิดเพลินก็ทำให้ผ่อนคลายไร้ความกังวลเวลาเจอคุณหมอ แถมคุณพ่อหรือคุณแม่ก็สามารถไปทำธุระอย่างอื่นระหว่างรอพบคุณหมอได้ด้วย แต่อย่าปล่อยให้ลูกอยู่ตามลำพังนะคะ

  • จุดจอด Helicopter สำหรับขนย้ายผู้ป่วยฉุกเฉิน : ทางโรงพยาบาลยังมีจุดเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโดย Helicopter เผื่อเวลาเกิดเหตุฉุกเฉิน หรือต้องย้ายผู้ป่วยอย่างเร่งด่วน ทำให้ผู้ป่วยหรือผู้ที่ได้รับอุบัติเหตุใดๆ จะได้รับการดูแลที่มีศักยภาพและมาถึงโรงพยาบาลด้วยความรวดเร็วที่สุด พร้อมกับทีมแพทย์ของโรงพยาบาลที่จะมารอรับผู้ป่วย เพื่อนำตัวเข้ามารักษาในโรงพยาบาลต่อไป

Children’s Center

แผนกเด็กตั้งอยู่ชั้น 2 ของทั้งสมิติเวช สุขุมวิท และสมิติเวช ศรีนครินทร์ โดยการแยกสัดส่วนของโซนเด็กป่วย และโซนรับวัคซีน อย่างชัดเจน

ห้องให้นมบุตร

โรงพยาบาลเด็กสมิติเวชมุ่งเน้นนโยบาย bottle-free การให้นมลูก 100 % สำหรับคุณแม่ทุกคน เพราะเห็นความสำคัญของน้ำนมแม่มีคุณค่าอย่างยิ่งต่อลูก ทางโรงพยาบาลจึงมีห้องให้นมลูกใน Nursery และในห้องคุณแม่ที่พักฟื้นหลังคลอด เพื่ออำนวยความสะดวกให้ทั้งแม่และลูก

ห้อง Nursery

หอทารกแรกเกิด มีไว้สำหรับเด็กแรกเกิดที่ลืมตาดูโลกออกมา

นอกจากนี้ยังมีหอผู้ป่วยทารกวิกฤตที่ไว้ดูแลโดยเฉพาะสำหรับทารกที่มีน้ำหนักตัวน้อย ทารกที่คลอดก่อนกำหนด หรือมีภาวะแทรกซ้อน โดยที่นี่จะมีการดูแลจากทีมแพทย์และพยาบาลเฉพาะทางสำหรับเด็กทารกแรกเกิดวิกฤต ที่สำคัญคือยังมีเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ได้รับมาตรฐานอีกด้วย

ห้องตรวจสำหรับเด็ก

บรรยากาศน่ารักตกแต่งด้วยสีสันมากมาย ทำให้เด็กๆ ที่กำลังกลัวคุณหมอรู้สึกผ่อนคลาย เมื่อมาถึงห้องตรวจที่น่ารักแบบนี้ เด็กๆ คงจะลดความกังวลไปได้มากเลยทีเดียว

รถเข็นเสาน้ำเกลือสำหรับเด็ก

เด็กๆ ที่อยู่โรงพยาบาลคงจะเบื่อกันมากๆ ถ้าต้องอยู่กับคุณหมอและผนังห้องสีขาวๆ ที่นี่เลยมีสิ่งอำนวยความสะดวกเอาใจเด็กๆ ที่อยู่ในโรงพยาบาล โดยมีรถสำหรับแขวนน้ำเกลือ  ให้เด็กๆ ที่ยังแขวนน้ำเกลืออยู่ได้สนุกสนานไปกับเจ้ารถหลากสีเหล่านี้  อาจให้คุณพ่อคุณแม่เข็นรถพาไปชมสวนสีเขียวด้านหน้าโรงพยาบาล หรือไปซื้อขนมทานเล่นที่โซนพลาซ่า นอกจากเด็กๆ จะชอบเจ้ารถเข็นนี้แล้ว ผู้ปกครองก็ยังได้รับความสะดวกสบายอีกด้วย

ห้องผู้ป่วยเด็ก

ตกแต่งห้องด้วยสีโทนอุ่น พร้อมกับวอลล์เปเปอร์สุดน่ารักๆ เหมาะกับเป็นห้องพักสำหรับเด็กๆ มากเลยทีเดียว ห้องแบบนี้จะมีทั้งเตียงและที่นอนแบบปูไม่ยกสูงเหมาะกับเด็กเล็ก เพื่อป้องกันอันตรายจากการตกเตียงนั่นเอง แถมคุณแม่ยังสามารถนอนกับลูกได้อย่างสบาย นอกจากนี้ ภายในห้องยังมีสิ่งอำนวยความสะดวกมากมายอีกด้วย

ห้องเรียนรู้สำหรับคนพิเศษ

ห้องนี้จะอยู่ในศูนย์เด็กพิเศษ โดยรองรับเด็กที่มีความผิดปกติทางด้านพัฒนาการ อารมณ์และการเรียนรู้ สามารถมาฝึกฝนร่างกายได้ ซึ่งผู้ปกครองไม่ต้องกลัวอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับเด็กๆ เลย เพราะมีคุณหมอผู้เชี่ยวชาญให้คำแนะนำและฝึกฝนอยู่ตลอดเวลาเมื่ออยู่ในห้อง (นี่เป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น ยังมีห้องให้คนพิเศษอีกหลายจุดเลยทีเดียว)

พื้นที่เด็กเล่นระหว่างรอพบคุณหมอ

เป็นโซนโปรดของเด็กๆ เลยก็ว่าได้ เพราะโซนนี้เป็นโซนเพื่อเด็กๆ โดยเฉพาะ ให้เด็กๆ ได้มาเล่นในลานกว้างๆ ก่อนจะเข้าพบคุณหมอนั่นเอง เมื่อเด็กๆ ได้เล่นอย่างเพลิดเพลินก็ทำให้ผ่อนคลายไร้ความกังวลเวลาเจอคุณหมอ แถมคุณพ่อหรือคุณแม่ก็สามารถไปทำธุระอย่างอื่นระหว่างรอพบคุณหมอได้ด้วย

จุดจอด Helicopter สำหรับขนย้ายผู้ป่วยฉุกเฉิน

สำหรับเคลื่อนย้ายผู้ป่วยเด็กวิกฤติ และในกรณีฉุกเฉิน ทางภาคอากาศยาน ทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ หรือต้องย้ายผู้ป่วยอย่างเร่งด่วน ทำให้ผู้ป่วยหรือผู้ที่ได้รับอุบัติเหตุใดๆ จะได้รับการดูแลที่มีศักยภาพและมาถึงโรงพยาบาลด้วยความรวดเร็วที่สุด พร้อมกับทีมแพทย์ของโรงพยาบาลที่จะมารอรับผู้ป่วย เพื่อนำตัวเข้ามารักษาในโรงพยาบาลต่อไป

น้องหยก กับอุบัติเหตุร้ายแรง “หากคุณแม่สู้ เราพร้อมสู้ไปด้วยกัน”

อุบัติเหตุเรื่องที่ไม่คาดคิด อยู่นอกเหนือการควบคุม นำมาซึ่งความโศกเศร้าอย่างถึงที่สุด แต่ความหวังจะเป็นสิ่งที่ทำให้เราสามารถก้าวข้ามผ่านสิ่งเหล่านี้มาได้ เพียงแสงเล็กๆ ที่ส่องประกายมา ก็มากเกินพอแล้วสำหรับปาฏิหาริย์ที่ยิ่งใหญ่ เรามาดูปาฏิหาริย์ที่ทีมแพทย์สมิติเวชร่วมกันสร้างขึ้นมากับครอบครัว น้องหยก – เด็กหญิงจิดาภา เพ็ญพิมล

เหตุการณ์หนึ่งที่สร้างความประทับใจและเป็นแรงบันดาลใจให้กับทีมแพทย์ของสมิติเวช “น้องหยก” เด็กหญิงวัยเพียงแค่ขวบเศษ ที่โชคร้ายประสบอุบัติเหตุร้ายแรงทางรถยนต์ ที่ไม่เพียงแค่สร้างความบาดเจ็บทางกาย แต่กระทบกระเทือนถึงสมองและพัฒนาการของน้องหยกด้วย

อุบัติเหตุร้าย จุดเริ่มต้นของความหวัง

25 มีนาคม 2555 รถตู้บรรจุผู้โดยสาร 11 คน มุ่งหน้าสู่จังหวัดชลบุรี เพื่อทำพิธีกราบไหว้บรรพบุรุษประจำปีหรือที่เราเรียกกันติดปากว่า “ไปเชงเม้ง”

โดยที่ไม่มีใครคาดคิด ระหว่างที่รถติด เคลื่อนตัวช้า ทุกอย่างดำเนินไปอย่างปกติ คุณแม่ส่งน้องหยกไปอยู่กับอากงที่เบาะด้านหลัง รถยนต์คันหนึ่งลอยข้ามมาอีกฝั่งของถนนและพุ่งชนรถตู้ของครอบครัวเข้าอย่างจัง ทำให้คุณพ่อเสียชีวิตทันที ส่วนตัวน้องหยกนั้น อาการบาดเจ็บสาหัส เรียกได้ว่า “เป็น-ตาย เท่ากัน”

จากอุบัติเหตุร้ายแรงในครั้งนั้น ทำให้คนเป็นแม่ใจสลายทันที แต่ท่ามกลางความเสียใจที่สุด ยังมีความหวังที่เกิดขึ้นมา

เมื่อพระอาทิตย์ขึ้น แปลว่าลูกเรายังรอดอยู่อีกหนึ่งวัน

น้องต้องรักษาตัวอยู่ห้องไอซียู ดูอาการอย่างใกล้ชิด เรียกได้ว่า “วันต่อวัน” จนกระทั่งการผ่าตัดครั้งที่ 3 ได้ผ่านพ้นไป

“เจ้าหญิงนิทรา” คำพูดที่เข้ามาทิ่มแทงใจของคนเป็นแม่ การที่ได้เห็นลูกนอนพิการ ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ สภาพจิตใจของคุณแม่ยิ่งเครียด เฝ้าแต่รอคอยภาวนาทุกคืนให้ผ่านพ้นไป และเมื่อพระอาทิตย์โผล่ขึ้นในแต่ละวันเป็นสัญญาณที่บอกว่า วันนี้เป็นอีกหนึ่งวันที่น้องหยกยังมีชีวิตอยู่

เมื่อคิดดังนั้น คุณแม่จึงลุกขึ้นมาสู้และทำทุกวิถีทางให้น้องหยกได้กลับมายิ้ม หัวเราะและมีความสุขเหมือนคนปกติอีกครั้งหนึ่ง

ความทุกข์ อยู่กับเราไม่นาน

8 ปี อาจจะเรียกได้ว่านาน แต่สำหรับคุณแม่และครอบครัวของน้องหยกนั้น เรียกได้ว่าเป็น 8 ปีที่มีความหมายมาก จากเด็กน้อยวัย 1 ขวบ ที่อยู่คาบเกี่ยวระหว่างความเป็นและความตาย ในวันนี้ได้เติบโตขึ้นเป็นเด็กผู้หญิงวัย 8 ปีที่กลับมาเดินได้ ใช้ชีวิตสดใสอยู่ท่ามกลางความรัก ด้วยการดูแลเอาใจใส่เป็นอย่างดีของทีมแพทย์จากโรงพยาบาลเด็กสมิติเวช

เพราะความเชื่อมั่นในกันและกัน ทั้งทางครอบครัวที่สู้อย่างไม่ย่อท้อ ทีมแพทย์ที่มีความพร้อมในด้านความรู้ ความสามารถ รวมไปถึงเทคโนโลยีที่ทันสมัย อีกทั้งตัวของน้องหยกเอง ทำให้การรักษาในครั้งนี้เต็มเปี่ยมไปด้วยกำลังใจที่แข็งแรง

เมื่อความทุกข์ได้รับการแบ่งเบา ทางครอบครัวจึงข้ามผ่านมาได้ และรู้สึกว่าไม่ได้สู้อยู่เพียงลำพัง ทำให้ก้าวผ่านความทุกข์แสนสาหัสนั้นมาได้ ราวกับว่าเวลานั้นผ่านมาเพียงไม่นาน

“เพราะเด็กไม่ใช่ผู้ใหญ่ตัวเล็ก” เราจึงต้องดูแลให้ดีที่สุด

โดยสรุปแล้ว สำหรับพ่อแม่ผู้ปกครอง ควรใส่ใจเด็กทั้งทางร่างกายและจิตใจ เพราะความเจ็บป่วยไม่ได้มีเพียงแค่ร่างกาย แต่รวมไปถึงสภาพแวดล้อมรอบตัวของลูกน้อยด้วย นอกจากนั้นในไทยยังมีเรื่องของโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ, ภูมิแพ้ รวมไปถึงโรคระบาดในเด็กต่างๆ ที่ต้องระวัง

ในส่วนของด้านสุขภาพ ควรปรึกษาแพทย์อย่างสม่ำเสมอ เพราะโรคภัยไข้เจ็บในยุคนี้มีหลากหลายและเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา จึงควรให้ลูกได้รับวัคซีนครบตามที่กำหนดของแต่ละช่วงวัย สุดท้ายแล้วเราควรเลือกโรงพยาบาลสำหรับเด็กที่มีความพร้อม ทั้งด้านเทคโนโลยี, อุปกรณ์ที่ทันสมัยและแพทย์เฉพาะทางอีกด้วย

ที่มาข้อมูล – โรงพยาบาลเด็กสมิติเวชสมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย, หาหมอ.comคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯWorld Health Organization