Parents One

ปัญหาบุคลิกภาพของเด็กที่ควรแก้ไข พ่อแม่ช่วยได้อย่างไรบ้าง

บุคลิกภาพถือเป็นเรื่องสำคัญ และเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงลักษณะนิสัยของคนๆ นั้นได้ ซึ่งแต่ละคนก็มีบุคลิกภาพแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับการเลี้ยงดูตั้งแต่วัยเด็ก และนั้นแหละค่ะก็มีเด็กบางคนที่มักมีปัญหาบุคลิกภาพบางลักษณะ เช่น การกัดเล็บ ม้วนผม แคะจมูก ซึ่งคุณพ่อคุณแม่บางคนก็เป็นกังวลใจกับปัญหานี้อยู่ไม่น้อย แล้วจะมีวิธีรับมืออย่างไรบ้างสำหรับเรื่องนี้ ไปดูกันเลยค่ะ

ปัญหาบุคลิกภาพที่พบมากในเด็ก

จากการวิจัยพบว่า ประมาณร้อยละ 30 ถึงร้อยละ 60 ของเด็กและวัยรุ่นเคยมีประสบการณ์กัดและเคี้ยวเล็บจากนิ้วมือมากกว่า 1 นิ้ว ซึ่งเกิดขึ้นได้ทั้งเด็กผู้ชายและเด็กผู้หญิงในอัตราใกล้เคียงกัน แต่เด็กผู้ชายเมื่อโตขึ้นจะมีแนวโน้มที่กัดเล็บสูงกว่าเด็กผู้หญิงนั้นเองค่ะ

การดูดนิ้วเป็นเรื่องปกติมาก โดยเฉพาะเด็กที่ยังเล็กๆ ซึ่งอาจจะเริ่มได้ตั้งแต่อายุประมาณ 2 – 4 ขวบ เด็กบางคนก็มีการดูดนิ้วอื่นๆ บางคนก็ดูดมือ หรือดูดทั้งกำปั้น โดยบางคนจะแสดงพฤติกรรมดังกล่าวร่วมกับการดูดนิ้วหัวแม่มือ หรือบางคนก็แสดงพฤติกรรมดังกล่าวแทนการดูดนิ้วหัวแม่มือ ซึ่งการดูดนิ้วของเด็กนนั้น ก็เพื่อผ่อนคลายอารมณ์ แต่หากเด็กดูดนิ้วบ่อยจนเกินไปทั้งที่อายุ 4 – 5 ขวบไปแล้ว นั้นก็อาจจะหมายถึงปัญหาความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นกับเด็กได้นั้นเองค่ะ เช่น ปัญหาเกี่ยวกับฟันต่างๆ หรือนิ้วติดเชื้อ รวมไปถึงการถูกล้อเลียนจนขาดความมั่นใจนั้นเองค่ะ

การแคะจมูกถึงแม้ว่าจะเริ่มต้นในช่วงเด็ก แต่พฤติกรรมนี้สามารถสืบเนื่องต่อไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ได้ โดยสถิติหนึ่งระบุว่าร้อยละ 91 ของผู้ใหญ่ จะแคะจมูกเป็นประจำ และอีกร้อยละ 8 ของจำนวนดังกล่าวรับประทานสิ่งที่ตนเองแคะออกมาด้วยค่ะ

ส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นกับเด็กผู้หญิง เช่น การม้วนผม ลูบผม และดึงผม ซึ่งพฤติกรรมม้วนผมนี้เป็นจุดเริ่มแรกของวัยเด็กที่เป็นสาเหตุของการดึงผม โดยส่วนใหญ่มันจะเกิดขึ้นตอนเด็กเล็กและค่อยๆ หายไปเองเมื่อเขาโตขึ้น แต่ถ้าหากพฤติกรรมดังกล่าวยังอยู่ คุณพ่อคุณแม่ก็สามารถกำจัดปัญหาบุคลิกภาพไปได้ แต่หากเข้าสู่วัยรุ่นที่ค่อนข้างโตแล้ว การแก้ปัญหาก็จะเป็นไปได้ยากยิ่งขึ้นนั้นเองค่ะ ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้นอกจากจะเป็นปัญหาเรื่องบุคลิกแล้วยังเป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงความวิตกกังวล รวมไปถึงโรคย้ำคิดย้ำทำ และภาวะซึมเศร้าได้ด้วยนั้นเองค่ะ

สาเหตุ

ผู้ปกครองจะช่วยเหลืออย่างไรได้บ้าง

ถึงแม้ปัญหาบุคลิกภาพของเด็กจะสามารถหายไปเมื่อเด็กๆ เข้าสู่วัยเรียน แต่หากผู้ปกครองไม่อยากให้หนูน้อยมีปัญหาบุคลิกภาพ สามารถช่วยเหลือหรือแก้ไขได้ดังนี้

โดยคุณพ่อคุณแม่สามารถบอกกับลูกถึงปัญหา โดยสามารถใช้วิธีนี้ได้กับเด็ก ตั้งแต่อายุ 3 – 4 ขวบ เพื่อช่วยให้เขาเห็นถึงปัญหาพฤติกรรมของตัวเองมากขึ้น เช่น เมื่อลูกแสดงออกอย่างเช่นการกัดเล็บ คุณพ่อคุณแม่ก็อาจจะเริ่มทักถึงพฤติกรรมดังกล่าว พร้อมกับให้เขาหยุดกัดเล็บ แต่ไม่ควรดุ หรือสั่งสอน หรือใช้วิธีที่เด็ดขาด อย่างการลงโทษ เพราะอาจจะทำให้ปัญหาที่เกิดกับเด็กนั้นแย่ลงได้นะคะ คุณพ่อคุณแม่ต้องขอความร่วมมือกับลูกอย่างค่อยเป็นค่อยไปนั้นเองค่ะ

เมื่อเกิดปัญหาอาจจะเมื่อลูกกลับมาบ้านแล้วร้องไห้เพราะถูกเพื่อนล้อเลียนเรื่องพฤติกรรมการดูดนิ้ว คุณพ่อคุณแม่ควรจะรับรู้ก่อนว่าลูกกำลังต้องการความช่วยเหลือ เราอาจจะถามถึงความสมัครใจของลูกว่าเขาต้องการจะหยุดพฤติกรรมดังกล่าวหรือไม่ เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้เด็กๆ ได้คิด และแสดงความมุ่งมั่น จากนั้นทั้งคุณพ่อคุณแม่และลูกเองก็หาทางออกร่วมกัน เกี่ยวกับปัญหาบุคลิกภาพนี้นั้นเองค่ะ

คุณพ่อคุณแม่อาจจะต้องหากิจกรรมเพื่อให้เขาได้จดจ่อกับสิ่งอื่นแทนการหมกหมุ่นกับพฤติกรรม อย่างเช่นการกัดเล็บ หรือม้วมผม หรือดูดนิ้ว เช่น ให้ลูกเป็นผู้ช่วยประกอบอาหาร หรือให้ลูกทำงานศิลปะที่ตัวเองชื่นชอบ หรืออีกวิธีนึงก็คือ หากเห็นว่าลูกกำลังกัดเล็บ แทนที่เราจะเข้าไปห้าม คุณพ่อคุณแม่ก็อาจชักชวนลูกให้สะบัดมือไปมา ซึ่งวิธีนี้จะช่วยให้เขาตระหนักถึงพฤติกรรมของงตนเองมากขึ้นและจะทำให้เขาหยุดพฤติกรรมดังกล่าวได้นั้นเองค่ะ

ยกตัวอย่างเช่น หากลูกของเรากัดเล็บ วิธีการง่ายๆ ที่จะหยุดพฤติกรรมนั้นก็คือ คุณพ่อคุณแม่ควรจะตัดเล็บให้ลูกสั้นๆ หรือให้ลูกทาโลชั่นชนิดไม่มีสารพิษที่มือบ่อยๆ ซึ่งวิธีนี้นอกจากจะป้องกันไม่ให้เขากัดเล็บแล้ว ยังช่วยเรื่องผิวพรรณของเด็กๆ ให้ชุ่มชื้นอีกด้วยนะคะ

เมื่อรู้ว่าลูกของเราชอบกัดเล็บ คุณพ่อคุณแม่อาจจะตั้งกฎขึ้นมาว่า จะอนุญาตให้ลูกสาวทาเล็บได้ หากเขาสามารถเก็บเล็บให้ยาวขึ้นโดยไม่กัดได้ หรือหากลูกสามารถเลิกพฤติกรรมหรือสามารถยับบั้งการดูดนิ้วได้ พ่อแม่อาจจะกระตุ้นให้เขามีพฤติกรรมทางบวกด้วยการชมเชย หรือให้รางวัลเล็กๆ น้อยๆ ก็ได้ค่ะ

เมื่อคุณพ่อคุณแม่หมั่นสังเกตลูก พร้อมทั้งให้รางวัลและชื่นชมอย่างสม่ำเสมอ จะทำให้พฤติกรรมไม่พึงประสงค์นนั้นหายไปได้ แต่หากเราพลาดการสังเกตเห็นเวลาที่ลูกแสดงพฤติกรรมทางบวก จะทำให้พ่อแม่อย่างเราพลาดที่จะให้รางวัลหรือคำชมเชยกับลูก หากเป็นเช่นนี้ พฤติกรรมไม่พึงประสงค์ที่เราอยากให้ลูกหาย ก็จะกลับมาดังเดิม ยังไงคุณพ่อคุณแม่ต้องหมั่นสังเกตนะคะ เพราะหากเผลอไปหรือไม่ได้รับการกระตุ้นที่สม่ำเสมอ พฤติกรรมนั้นจะกลับมาเหมือนเดิมได้ค่ะ

ขอบคุณข้อมูล : Taamkru