fbpx

ทำไมผู้ชายต้องเป็นสีฟ้า ผู้หญิงต้องเป็นสีชมพู? เมื่อความชอบของลูกไม่จำเป็นต้องอยู่ในกรอบของเพศ

: 3 พฤศจิกายน 2563

เป็นค่านิยมที่เราคุ้นเคยกันเป็นปกติว่าผู้ชายต้องใช้สีฟ้าผู้หญิงต้องใช้สีชมพูรวมกับกิจกรรมและความชอบต่างๆที่ถูกเหมารวมว่าเป็นของเพศใดเพศหนึ่งเท่านั้นอาจฟังดูเป็นเรื่องปกติแต่ที่จริงแล้วการจำกัดกรอบของเพศให้แก่ลูกน้อยนั้นนอกจากจะเป็นการจำกัดทางเลือกให้กับตัวเด็กแล้วยังให้โทษมากกว่าประโยชน์แก่ตัวเขาในอนาคตอีกด้วย

ความชอบของเด็กนั้นไม่จำเป็นต้องมีกรอบของเพศมากำหนดเลย เราทุกคนมีอิสระที่จะทำในสิ่งที่ชอบโดยไม่ต้องปิดบัง และไม่ต้องคำนึงถึงว่าผู้หญิง/ผู้ชายเขาไม่ทำกันนี่นาอีกต่อไปกันแล้วค่ะ

วันนี้ ParentsOne เลยอยากมาเล่าให้ฟังว่าค่านิยมของเพศนั้นมาจากไหน ทำไมสัญญะอย่างสีถึงถูกนำมาผูกกับเพศ กับค่านิยมของเพศและทำไมเราถึงไม่จำเป็นต้องยึดตามนั้น จะเป็นยังไงกันบ้าง เราไปดูกันดีกว่าค่ะ!

สีฟ้าของผู้หญิง สีชมพูของผู้ชาย?

เด็กทารกชายก็ต้องใส่เสื้อสีฟ้า เด็กทารกหญิงก็ต้องใส่เสื้อสีชมพู เป็นสัญญะทางเพศที่ยากจะเลี่ยงเพราะสีเหล่านี้ถูกปลูกฝังลงในส่วนหนึ่งของชีวิตเราไปเรียบร้อยแล้ว จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่เมื่อถามเด็กๆ ว่าชอบสีอะไร เขาก็จะตอบสีฟ้า สีน้ำเงิน ในขณะที่เด็กผู้หญิงจะตอบว่าชอบสีชมพู สีแดง สีม่วง

รู้หรือไม่ว่าในอดีตนั้น สีฟ้าเคยถูกจำกัดไว้ว่าเป็นสีของเด็กผู้หญิง เพราะเป็นสีที่อ่อนโยน นุ่มนวลกว่า และในแง่ศาสนาแล้วนั้นถือเป็นสีเดียวกับผ้าคลุมของพระแม่มารีในขณะที่สีชมพูนั้นถูกมองว่าเป็นสีที่แข็งแกร่งกว่า สื่อถึงการรบ ชัยชนะเหมือนสีแดง จึงถูกตีว่าเหมาะกับเด็กผู้ชายมากกว่า

จุดเริ่มต้นของสีบอกเพศ

แต่แล้วความเชื่อเหล่านี้ก็ถูกเปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือ เมื่อการตลาดเสื้อผ้าแฟชั่นของประเทศสหรัฐอเมริกาได้ส่งเสริมแนวคิดว่าสีฟ้าเป็นของเด็กผู้ชาย สีชมพูเป็นของเด็กผู้หญิงซึ่งปรากฎการณ์นี้ได้มาเป็นระลอกๆ ในช่วงยุค Baby Boomer (~.. 1940) ก่อนจะหายไปเมื่อมีการเคลื่อนไหวของสิทธิสตรีในช่วงค.. 1970 เมื่อสังคมตื่นรู้เรื่องความเสมอภาคทางเพศและส่งเสริมแฟชั่นแบบ unisex มากขึ้น

แต่แล้วความคิดนี้ก็กลับมาอีกครั้งอย่างเป็นถาวรเมื่อช่วงปีค.. 1980 บวกกับเทคโนโลยีอัลตราซาวด์ที่สามารถทำให้คุณพ่อคุณแม่สามารถรู้เพศของลูกได้ตั้งแต่ก่อนคลอด บริโภคนิยมจึงฉวยโอกาสใช้การค้นพบใหม่นี้ส่งเสริมการตลาด ผลักดันให้สีของเพศนั้นยิ่งรุนแรงขึ้นไปอีก

อ่านมาถึงจุดนี้แล้ว เราอาจจะเริ่มสงสัย ว่าความชอบของเรานั้นถูกหยิบยื่นให้โดยการตลาดตั้งแต่เริ่มเลยหรือเปล่านะ?

 

เด็กและเพศสภาพ

ก่อนจะเข้าใจข้อเสียของการจำกัดกรอบความชอบของลูกให้อยู่ในเพศของตัวเอง ควรเข้าใจพัฒนาการของเพศสภาพและเพศภาวะในตัวเด็กก่อน แม้ว่าในวัยทารกนั้นเจ้าหนูอาจจะยังไม่เข้าใจ แต่เมื่อเขาโตขึ้น เขาจะค่อยๆ เรียนรู้และเข้าใจว่าตัวเองเป็นใคร ชอบอะไรค่ะ ซึ่งแบ่งเป็นขั้นๆ ดังนี้:

2-3 ปี: เด็กเข้าใจว่าตัวเองเป็นเพศอะไร และผู้ชายกับผู้หญิงแตกต่างกันอย่างไรบ้าง

4-5 ปี: จุดยืนของเพศเริ่มคงตัว ถึงแม้ว่าสามารถเปลี่ยนได้ในอนาคต เด็กเริ่มรู้ว่าของเล่นชนิดไหนเหมาะสำหรับเพศอะไร บางคนถึงขั้นแสดงเพศสภาพของตัวเองชัดเจน

6-7 ปี: เริ่มเข้าใจจุดยืนในเพศสภาพของตนเอง ในวัยนี้จะเริ่มเลือกของเล่น หรือชุดที่ตัวเองชอบ ไม่แสดงเพศสภาพชัดเจนจนเกินไปด้วยรู้ว่าผู้อื่นสามารถรู้เพศของตัวเองได้แล้ว แต่สำหรับเด็กที่เพศสภาพและเพศของตัวเองนั้นไม่ตรงกัน อาจจะเริ่มมีความรู้สึกวิตกกังวลเพราะตนเองไม่เหมือนกับเพื่อนๆ หรือรู้สึกแตกต่างจากเด็กคนอื่น

8 ปีขึ้นไป: วัยแห่งการค้นหาและเรียนรู้ เด็กบางส่วนปักหลักกับเพศที่ตนเลือกแล้ว บางส่วนจะเริ่มค้นหาเพศสภาพที่ใช่สำหรับตนเอง เด็กในวัยนี้สามารถรับอิธิพลจากรอบข้างเพื่อพัฒนาความชอบและเพศสภาพของตนผ่านครอบครัว สังคม และเพื่อนฝูงค่ะ

ซึ่งในวัย 8 ปีขึ้นไปนั้น คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรผลักดันความชอบในกรอบของคำว่าเพศ แต่ควรเสนอตัวเลือกต่างๆ ให้เขาได้เรียนรู้และค้นหาตัวตนโดยไม่ถูกปิดกั้นค่ะ

จะเป็นอะไรไหม ถ้าลูกชายชอบเล่นตุ๊กตา ลูกสาวชอบเล่นหุ่นยนต์?

แน่นอนว่าคุณพ่อคุณแม่อาจจะกังวลเป็นเรื่องปกติถ้าเห็นลูกน้อยเล่นของเล่น หรือชื่นชอบสิ่งที่ไม่ตรงกับเพศสภาพ แต่อันที่จริงแล้วไม่จำเป็นต้องกังวลเลยค่ะ ในทางกลับกัน ควรส่งเสริมให้ลูกน้อยได้รู้จักและเล่นกับของเล่นหลากหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นตัวต่อ ตุ๊กตา หุ่นยนต์ รถของเล่น รวมไปถึงสีสันในสิ่งของหรือเสื้อผ้าที่เขาใส่ ถึงแม้ว่าจะเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่การได้เล่นของเล่นหลากหลายและทำความรู้จักกับสิ่งของที่ไม่ตรงกับเพศสภาพนั้น นอกจากจะทำให้ตัวลูกน้อยได้เข้าใจความแตกต่าง และยังให้เขามีสิทธิ์ในการเลือกสิ่งที่เขาชอบอีกด้วยค่ะ

เมื่อโตขึ้น เขาจะไปในทางที่เขาชอบเอง ซึ่งนั่นอาจจะหมายความว่าลูกน้อยจะชอบในสิ่งที่ตรงกับเพศสภาพของเขาหรือไม่ตรงก็ได้ และมันไม่ใช่เรื่องที่ผิดปกติเลยแม้แต่นิดเดียว อย่าลืมว่าความสุขของลูกนั้นเป็นความสำคัญอันดับแรก หน้าที่ของคุณพ่อคุณแม่คือการให้ความรัก ความเข้าใจ ส่งเสริมให้เขาทำในสิ่งที่ชอบไม่ว่าจะตรงกับค่านิยมที่สังคมกำหนดเกี่ยวกับเพศสภาพหรือไม่ ให้เขาเติบโตต่อไปได้ด้วยจิตใจที่แข็งแรงค่ะ

Writer Profile : phanthirapuyou

  • Blog :
  • Social Media :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Update
ไลฟ์สไตล์ ไลฟ์สไตล์
เคยกลับบ้านมาแล้วกรี๊ดลั่นบ้านเพราะเจ้าตัวแสบไปวิ่งเล่นเลอะเทอะกันไหมคะ ? หรือแต่งตัวลูกอย่างดีไปทานข้าวนอกบ้าน แต่คุณลูกก็ทำซอสหกใส่ ไอติมหล่นไปเป็นก้อน เละทั้งตัว วันนี้ ParentsOne มีเสื้อเด็กที่เจ๋งมากๆ จาก GQ : the good day lab™ มาลองรีวิวให้ได้ชมกันค่ะ 🛒 ช้อปเลยที่ -> https://gqsize.link/bZT7Sx แกะกล่อง GQ : the good day lab™ เสื้อเด็ก ฟีเจอร์เพียบ คุณภาพ GQ ขึ้นชื่อว่า GQ ก็มั่นใจได้เรื่องคุณภาพค่ะ ผ้านุ่ม เบาบาง เหมาะกับอากาศเมืองไทย ใส่วิ่งสบายๆ ที่แปลกตาคือเป็นเสื้อที่ไม่มีป้ายแท็กค่ะ ทั้งด้านหลังคอเสื้อ หรือข้างใน ไม่ต้องห่วงว่าจะเคืองหรือคันเลย กระดุมแข็งแรงเอามากๆ ใช้แรงผู้ใหญ่ดึงแรงๆ ก็ไม่มีปัญหาเลย ไฮไลท์สำคัญที่คุณแม่แทบกรี๊ด คือเป็นไม่เปื้อนค่าาาา เทน้ำ เทนมใส่เสื้อ ไม่เปียกเลย สะบัดสองที หายปกติ ซึ่งถ้าใครเคยเห็นโฆษณา GQ ที่เสื้อเชิ้ตขาวไปทำงานคุณพ่อ โดนกาแฟหกใส่ แต่ผ้าไม่เปื้อนเลย เทคโนโลยีผ้าสะท้อนน้ำ ตอนนี้มาอยู่ในเสื้อเด็กแล้ววววว ทีมงานทดสอบเทน้ำสีผสมอาหาร นม หรือแม้แต่ซอสมะเขือเทศลงบนเสื้อ ก็ไม่เปื้อนค่ะ ไม่น่าเชื่อมากๆ ข้อดีที่สุดของผ้าแบบนี้ คือทำให้ชีวิตคุณแม่สบายขึ้นมาก พาลูกไปเที่ยว วิ่งเล่นสนามหญ้า พาไปทานก๋วยเตี๋ยว หรือให้ทานอะไร ก็ไม่ต้องกลัวเสื้อสวยๆ เลอะ แถมประหยัดเวลาซักผ้าด้วย ไม่ต้องมาคอยแช่ผ้าให้คราบมันออกแบบสมัยก่อน สำหรับเสื้อเด็ก the good day lab™…
8 ธันวาคม 2566

anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save