Parents One

เป็นเด็กก็เครียดได้ “ภาวะโรคเครียดในเด็กที่พ่อแม่ต้องรู้”

รู้ไหมคะ ว่าเด็กๆ ก็สามารถเครียดได้เหมือนกับผู้ใหญ่ได้เช่นกัน แต่ความสามารถในการแสดงออกระหว่างเด็กกับผู้ใหญ่นั้นอาจแตกต่างกันออกไปค่ะ เพราะผู้ใหญ่อย่างเราๆ สามารถแสดงอารมณ์หรือแสดงความรู้สึกของตัวเองได้ เพราะเข้าใจความรู้สึกต่างๆ ที่เกิดขึ้น ซึ่งต่างกับเด็กโดยเฉพาะเด็กเล็ก ที่ไม่สามารถแสดงออกทางภาษาได้อย่างครบถ้วนนั้นเองค่ะ

วันนี้ทาง Parentsone จึงนำเรื่องภาวะโรคเครียดมานำเสนอคุณพ่อคุณแม่กันในวันนี้ เพราะเรื่องเครียดของเด็กๆ ต้องได้รับการดูแลและช่วยเหลือจากคุณพ่อคุณแม่ด้วยเช่นกัน ไปดูกันเลยค่ะ

ความเครียดในเด็กปัจจุบันเกิดจากสาเหตุต่างๆ มากมาย และทางจิตแพทย์เผยสถิติเด็กเครียดในปัจจุบันมีมากถึง 30% และ 10% อยู่ในระดับความเครียดที่รุนแรงนั้นเองค่ะ

ความเครียดของเด็กสามารถแบ่งได้ 3 ระดับ

สาเหตุของความเครียด

มีด้วยกัน 2 สาเหตุหลักๆ ซึ่งได้แก่

ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเครียด

เด็กมักจะเครียดเรื่องอะไรบ้าง

อาการ

เมื่อเด็กๆ รู้สึกเครียดจากอะไรก็ตามมาก ก็จะมีอาการที่บ่งบอกว่าเขาเครียดแล้ว เช่น

น.พ. จอม ได้แนะนำวิธีป้องกัน และแก้ไขเพื่อไม่ให้เด็กเครียด ด้วยกัน 4 ข้อ ดังนี้

คุณพ่อคุณแม่สามารถเข้าไปพูดคุย รับฟังความคิดเห็นจากลูก เมื่อลูกมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป เช่น เมื่อเห็นลูกเงียบๆ หรือเหนื่อยๆ ควรเข้าไปถามเขาว่ามีอะไรหรือเปล่า พยายามแสดงความห่วงใยและเข้าใจเขา แล้วลูกจะรับรู้เองว่าคุณพ่อคุณแม่เข้าใจเขามากขึ้นนั้นเองค่ะ

เพราะการกดดันลูกโดยเฉพาะเรื่องการเรียน คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรคาดหวังลูกจนเกินไป เพราะจะทำให้ลูกเครียดได้นั้นเองค่ะ แต่ถ้ากรณีที่เด็กมีความอ่อนไหวต่อความรู้สึกแม้ว่าคุณพ่อคุณแม่ไม่ได้กดดันเขา หรือไม่ได้คาดหวังอะไร เด็กก็อาจจะเครียดเองได้ เพราะเขาจะสร้างความกดดันให้กับตัวเอง โดยที่ตั้งเป้าหมายไว้ต้องทำให้ได้หรือไม่ ก็เกิดการเปรียบเทียบและแข่งขันกับเพื่อน ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยของเด็กนั้นเองค่ะ

การดุด่า หรือการตีลูกจะทำให้เขารู้สึกไม่ดีกับตัวเอง และจะทำให้เขารู้สึกว่าคุณพ่อคุณแม่ไม่รัก อีกทั้งยังทำให้เขาเกิดการต่อต้าน และนำเอาวิธีที่ปฏิบัตินั้นไปใช้กับเพื่อนที่โรงเรียน ทางที่ดีก็คือคุณพ่อคุณแม่ควรตั้งสติและใช้เหตุผลกับลูกให้มากที่สุดนะคะ นอกจากนี้ต้องเลิกเพิกเฉยต่อเด็กอย่างสมเหตุสมผลเพราะบางอย่างเด็กอาจจะต้องการให้คุณพ่อคุณแม่สนใจเขาและเข้าใจเขาด้วยนั้นเองค่ะ

ควรมีเวลาให้กับลูกบ่อยๆ อย่างเช่น การพาไปทำกิจกรรมร่วมกันเป็นครอบครัว เล่นกับลูกบ่อยๆ จะทำให้ความสัมพันธ์ทั้งสองฝ่ายแนบแน่น ถ้าหากลูกอยู่ในวัยประถม คุณพ่อคุณแม่อาจจะเล่นสนุกกับเขา ชมเชยเขาได้ ส่วนถ้าลูกโตขึ้นมาหน่อยกำลังเป็นวัยรุ่นละก็ อาจจะเป็นที่ปรึกษาพูดคุยกับเขา เป็นการช่วยให้เขาเปิดใจระบายความในใจออกมาให้เราฟัง ทำให้ลูกไม่เครียดนั้นเองค่ะ

*** แต่หากรู้สึกว่าเครียดและวิตกกังวลเกินกว่าเหตุ และควบคุมความรู้สึกไม่ได้ เป็นระยะเวลาที่นาน จนทำให้เด็กๆ ไม่มีความสุข และมีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน คุณพ่อคุณแม่อาจจะพาเด็กๆ ไปพบคุณหมอเพื่อปรึกษา และช่วยปรับความคิดและพฤติกรรมในทางที่ดีขึ้นนั้นเองค่ะ

ขอบคุณข้อมูลจาก : 40plus.posttodaybumrungradbangkokhealththaihealth