Parents One

5 เคล็ดลับง่ายๆ สอนลูกค้นหาข้อมูลอย่างไรให้ได้ประสิทธิภาพ

การสืบค้นข้อมูลเป็นหนึ่งในทักษะที่เด็กยุคใหม่จำเป็นต้องมี การใช้ข้อความค้นหาไปเรื่อยๆ ก็อาจจะทำให้ได้ข้อมูลที่หลากหลายมากจนเกินไป จนจับต้นชนปลายไม่ถูก หากพ่อแม่อย่างเรารู้เทคนิคเหล่านี้ ก็จะสามารถนำไปสอนลูกและช่วยเขาค้นหาข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะจะช่วยกำหนดวงแคบในการค้นหา และหาข้อมูลได้ง่ายขึ้นนั่นเอง ซึ่งจริงๆ พ่อแม่อย่างเราเวลาที่จะค้นหาอะไรก็สามารถใช้เทคนิคนี้ได้เช่นกันนะคะ

เชื่อมคำด้วยเครื่องหมายบวก (+)

เมื่อลูกต้องการค้นหาข้อมูลบางอย่าง แต่กลับพบข้อมูลที่ไม่ครบถ้วนตรงตามความต้องการ แนะนำให้ใช้เทคนิค + ในการเชื่อมคำ เพื่อให้การค้นหามีผลลัพธ์ที่ตรงตามความต้องการมากที่สุด โดยส่วนมากจะใช้กับภาษาอังกฤษ เพราะว่าปกติแล้วกูเกิล (Google) จะไม่ค้นหาข้อมูลจากคำประเภท at, with, on, what, when, where, how, the, to, of ซึ่งจะข้ามการค้นหาคำเหล่านี้ไปเลย เช่น Color of Rainbow ถ้าเกิดเราค้นหาแค่นี้ ผลการค้นหาจะขึ้นมาแค่ Color และ Rainbow ในขณะที่ Color +of Rainbow จะมีผลการค้นหาที่มากกว่า

 

เครื่องหมายลบ (-) ใช้ตัดคำที่ไม่ต้องการ

เป็นการลดผลการค้นหา เพื่อจำกัดกรอบในการค้นหา ทำให้เราเข้าถึงแหล่งข้อมูลที่เฉพาะเจาะจงได้มากยิ่งขึ้น เป็นการค้นหาโดยไม่ให้เลือกคำนั้นๆ มาแสดง เช่น คณิตศาสตร์ -เรขาคณิต หมายถึง ค้นหาคณิตศาสตร์ที่ไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องเรขาคณิต เพราะถ้าเราไม่อยากได้ข้อมูลเกี่ยวกับเรขาคณิต แต่ค้นหาแค่ คณิตศาสตร์ ข้อมูลก็จะขึ้นมาทั้งหมด ซึ่งอาจเยอะเกินกว่าที่เราต้องการค่ะ

 

ใช้เครื่องหมายคำพูด (“…”) ค้นหาทั้งประโยค

เมื่อต้องการค้นหาข้อมูลโดยอยากค้นข้อความทั้งประโยค ก็ใช้เทคนิคใส่เครื่องหมาย “…” ไว้ต้นและท้ายประโยคได้ เช่น “ดาราศาสตร์และจักรวาล” ข้อมูลที่ขึ้นมาก็จะขึ้นเว็บไซต์ที่มีข้อความนี้ทั้งประโยค ผลการค้นหาก็จะแคบลง เพราะถ้าค้นหาแบบที่ไม่ใส่เครื่องหมายคำพูด สิ่งที่ขึ้นมาก็จะมีทั้งแค่ดาราศาสตร์อย่างเดียว จักรวาลอย่างเดียว หรือทั้งสองอย่าง ทำให้เจอผลการค้นหาที่เยอะมาก

 

ค้นหาด้วยคำว่า AND และ OR

เราสามารถสอนลูกให้เพิ่มหรือจำกัดการค้นหา ด้วยเทคนิคที่เรียกว่า ตรรกะบูลีน (Boolean Logic) คือ AND และ OR

 

เพิ่ม filetype เพื่อการค้นหาไฟล์เอกสารที่มีนามสกุล

หากต้องการหาข้อมูลที่มีความเฉพาะเจาะจงว่าอยากได้ข้อมูลในรูปแบบไหน ก็สามารถใส่ filetype หรือประเภทของข้อมูลในการค้นหาได้ เช่น อยากได้ข้อมูลเกี่ยวกับ อวกาศ ในรูปแบบของไฟล์ doc. ก็สามารถค้นหาด้วยคำว่า อวกาศ filetype:doc เพียงเท่านี้ข้อมูลที่ขึ้นมาก็จะอยู่ในรูปแบบของไฟล์ doc. ทั้งหมด

ตัวอย่างสกุลไฟล์ที่เด็กจะใช้ค้นหาบ่อยๆ

ข้อมูลอ้างอิงจาก

สนับสนุนโดย : กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์