Parents One

พ่อแม่ควรแยกห้องนอนกับลูกเมื่อไหร่กันนะ ?

พ่อแม่ไทยอย่างเราการแยกห้องนอนลูกจะแตกต่างจากพ่อแม่ทางฝั่งตะวันตก บ้านเรามักจะไม่ค่อยแยกห้องนอนลูกกันเท่าไหร่ บางคนแยกห้องนอนอีกทีลูกก็โตเป็นหนุ่มเป็นสาวกันเลย แล้วคุณพ่อคุณแม่สงสัยกันไหมคะว่า เราจำเป็นต้องแยกห้องนอนลูกหรือไม่ แล้วช่วงอายุเท่าไหร่ถึงจะแยกห้องนอนลูกได้ วันนี้เราจะมาบอกคุณพ่อคุณแม่กันค่ะ ไปดูกันเลย

จริงๆ แล้วการแยกห้องนอนลูกก็ไม่ได้ต้องมีกฎเกณฑ์อะไรที่ตายตัว หรือตัวเลขอายุของลูกที่เป๊ะๆ ขนาดนั้นหรอกนะคะ แต่ในครอบครัวต่างชาติเขามักจะแยกห้องนอนลูกตั้งแต่ยังเป็นเบบี๋กันเลย หรืออายุประมาณ 6 เดือนขึ้นไปนั้นเอง ซึ่งคุณพ่อคุณแม่บางคนอาจจะคิดว่าเด็กไป เดี๋ยวลูกเกิดอันตราย แต่ไม่ต้องห่วงเลยค่ะ เพราะสมัยนี้เราสามารถติด baby monitor ไว้ดูเด็กๆ ได้ตลอดเวลา

แต่ถ้าเป็นเด็กที่โตขึ้นมาหน่อย คุณพ่อคุณแม่อาจจะถามความสมัครใจของเขาดูก่อนก็ได้ค่ะ ว่าลูกพร้อมไหมในการแยกห้องนอน ซึ่งอย่างช้าสุดการแยกห้องนอนของลูกก็ไม่ควรให้เกินอายุ 3 ขวบค่ะ เพราะไม่อย่างงั้นการแยกห้องนอนจะยากขึ้นนั้นเอง

พ่อแม่ต้องทำอย่างไรหากอยากให้ลูกเริ่มแยกห้องนอน

ในช่วงคืนแรกเชื่อได้เลยว่า อาจจะเป็นสิ่งที่ยาก และวุ่นวาย หรือพ่อแม่บางคนอาจจะเป็นกังวลและยังห่วงลูกได้ ทำให้พ่อแม่บางคนอาจจะให้ลูกอยู่ห้องเดียวกับเราไปก่อน แต่มีการแยกเตียง เพื่อให้เขาได้ปรับตัวก่อนจะแยกห้องนอน ซึ่งสิ่งสำคัญสำหรับการแยกห้องนอนนั้นก็คือ บรรยากาศที่รู้สึกปลอดภัยกับเด็กๆ นั้นเอง ซึ่งเรามาดูกันเลยดีกว่าว่า จะทำอย่างไรบ้าง หากอยากให้ลูกได้เริ่มแยกห้องนอน

1.เลือกคืนที่เหมาะสม

พ่อแม่ควรเลือกคืนที่เหมาะสมที่จะพาเขาแยกห้องนอน อย่างวันหยุดสุดสัปดาห์ที่ทั้งครอบครัวหยุดอยู่บ้านไม่ได้ไปไหน อาจจะมีการบอกลูกไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ ว่าพรุ่งนี้เราจะแยกห้องนอนกันนะลูก หรือช่วงก่อนอย่างตอนกลางวันของคืนนั้นก็ยังได้ ให้คุณพ่อคุณแม่อธิบายถึงการแยกห้องนอนว่าทำไมเขาถึงต้องแยกห้องนอน เช่น เพราะเพื่อนๆ ที่อายุเท่าลูกเขานอนในห้องของตัวเองกันหมดแล้ว เป็นต้น หรือถามความสมัครใจลูกก่อนก็เป็นสิ่งที่ดีค่ะ

 

2.ค่อยๆ ให้ลูกได้เตรียมใจ

ก่อนที่จะพาลูกเข้าห้องนอนของตัวเอง คุณพ่อคุณแม่อาจจะต้องพาเขาเข้าไปสำรวจรอบๆ ห้องเสียก่อน เพื่อให้เขารู้สึกปลอดภัย หรือหากเขาเกิดกลัวขึ้นมากลางดึก คุณพ่อคุณแม่เองก็ต้องพร้อมที่จะเข้าไปหาเขา เพื่อให้เขารู้สึกว่าเรายังอยู่ใกล้ๆ และที่นั้นปลอดภัยเสมอค่ะ หรือในระยะแรกๆ อาจจะต้องมีคนคอยอยู่เป็นเพื่อนเขาจนกว่าเขาจะหลับ เพื่อให้เขารู้สึกอุ่นใจนั้นเอง

 

3.ให้ของแทนใจ

หากไม่อยากให้ลูกรู้สึกเหงา หรือไม่ปลอดภัย หรือไม่คุ้นชินกับการนอนคนเดียว คุณพ่อคุณแม่อาจจะนำของหรืออะไรบางอย่างที่เป็นของประจำตัวของแม่ เช่น หมอน หรือเสื้อตัวนุ่มๆ หรือตุ๊กตา ที่ทำให้ลูกรู้สึกอุ่นใจว่าเราอยู่ใกล้ๆ ลูก ก็ทำให้เขานอนแยกห้องนอนได้ง่ายขึ้นค่ะ

 

4.เตรียมห้องนอนในฝันให้ลูก

หากลูกมีของเล่นหรือตุ๊กตาตัวโปรด ของเล่นเหล่านี้จะเป็นตัวช่วยที่ดีในการที่จะให้เขาได้แยกห้องนอน หากเป็นเด็กโตขึ้นมาหน่อย คุณพ่อคุณแม่อาจจะให้เขาได้มีโอกาสได้เดินเลือกของประดับตกแต่งต่างๆ ภายในห้องของตัวเองได้ เพื่อให้เขา

 

5.พ่อแม่ต้องใจแข็งพอ

หากลูกทำไม่ได้ ให้นอนคนเดียวทีไร ก็แอบเข้ามานอนให้ห้องของคุณพ่อคุณแม่กลางดึกทุกที ซึ่งเด็กๆ มักจะทำอย่างนั้นกัน ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ต้องใจแข็งนะคะ พยายามพาเขากลับไปนอนในห้องของตัวเองอย่างใจเย็น ห้ามดุหรือด่า หรือบังคับ ให้ค่อยๆ พาเขาไปนอนอย่างค่อยๆ เป็น ค่อยๆ ไป หรืออาจจะลองยืนอยู่หน้าประตูห้อง รอดูเขาสักครู่ แล้วค่อยๆ เดินกลับห้อง ช่วงแรกๆ ต้องเข้าใจลูกหน่อยนะคะ เพราะมันจะเป็นแบบนี้อยู่ช่วงแรกๆ เท่านั้น อาจจะมีสถานการณ์แบบนี้อีกบ่อยๆ แต่เดี๋ยวเขาก็ชินได้เองค่ะ

 

6.ชื่นชมเมื่อลูกทำได้

หลังจากที่ลูกได้ฝ่าฝันอุปสรรคต่างๆ เมื่อคืนได้แล้ว ในตอนเช้าที่พบกัน คุณพ่อคุณแม่ก็อาจจะต้องมีคำชมเชยให้กับลูกบ้างเมื่อเขาทำได้ เพราะมันจะทำให้เขามีกำลังใจและคิดว่าถึงแม้เราจะแยกห้องกับพ่อแม่แล้ว แต่ยังไงพ่อแม่ก็ไม่ทิ้งเขาไปไหน ต่อไปเขาก็จะภาคภูมิใจแล้วว่า เขาสามารถปรับตัวนอนเตียงคนเดียวและห้องของเขาได้แล้วโดยไม่มีพ่อแม่นั้นเอง

ข้อดีของการแยกห้องนอนให้ลูก

ข้อเสียของการแยกห้องนอนให้ลูก

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : Baby & Kids , Line today, Rakluke