Parents One

เทคนิคการเล่นนิทาน พิชิตใจลูกน้อย

การเล่านิทานถือว่าเป็นกิจกรรมที่คุณพ่อคุณแม่มักจะทำกับลูกยามว่าง โดยเฉพาะก่อนนอน ถือว่าเป็นกิจกรรมที่มีประโยชน์ต่อตัวเด็กเองแถมยังเป็นการใช้เวลาด้วยกันกับครอบครัว อีกทั้งยังสร้างความทรงจำดีๆ กับตัวเด็กๆ ในวัยยังซน และตัวคุณพ่อคุณแม่เองก็ผ่านการฟังนิทานตอนเด็กๆ กันมาอยู่แล้ว และสิ่งสำคัญที่ทำให้นิทานที่ฟังดูสนุก และทำให้เด็กๆ ชอบก็มีอยู่มากมายหลายวิธี จะมีเทคนิคอะไรบ้าง ตามมาดูกันเลยค่ะ

วิธีเพิ่มความสนุกให้กับนิทาน

ลูกอายุเท่าไหร่ ควรจะเล่าแบบไหนดี

คุณพ่อคุณแม่ควรให้เด็กๆ ได้จับได้สัมผัสนิทานบ่อยๆ ควรเป็นกระดาษหนาและทนต่อการขยำของเจ้าเด็กน้อย อาจช่วยลูกถือหรือพลิกหนังสือทีละหน้า โดยออกเสียงสูงๆ ต่ำๆ เพื่อดึงความสนใจ เนื่องจากเด็กๆ ยังไม่เข้าใจเรื่องที่เราเล่าให้ฟัง อ่านบ่อยๆ และสร้างความคุ้นเคยและเคยชินในการจับหนังสือ และทำให้เด็กๆ รักการอ่านมากยิ่งขึ้นอีกด้วยค่ะ

อายุประมาณนี้เด็กๆ เริ่มทรงตัวได้แล้ว คุณหมอแนะนำว่าให้ลองนั่งตรงข้ามกัน เพื่อที่คุณพ่อคุณแม่จะได้สบตาลูก และจะได้สังเกตสายตาว่าลูกมองรูปอะไรอยู่ เพื่อให้การอ่านของเราจะได้ตอบสนองสิ่งที่ลูกเห็นได้นั้นเองค่ะ เน้นการโต้ตอบอย่างมีปฏิสัมพันธ์ คุณพ่อคุณแม่อ่านด้วยน้ำเสียงที่น่าสนใจ สูงๆ ต่ำๆ เช่นเดิม แต่สามารถเน้นคำสั้นๆ ที่เห็นชัดเจนได้ เช่น “ลูกหมูกำลังไปหาเพื่อน” เราก็ย้ำว่า “ลูกหมู” พร้อมกับชี้ไปที่ตัวหมู ซ้ำๆ 2-3 รอบ เน้นเสียงสูงต่ำด้วย เป็นการเล่นที่น่าสนุกสำหรับลูกยิ่งขึ้นนะคะ

ถือว่าเป็นช่วงที่เด็กๆ ใช้มือเก่งและซนมากขึ้น ทำให้เด็กๆ สามารถพลิกหนังสือได้อย่างคล่องเลยทีเดียว คุณพ่อคุณแม่สามารถดึงดูดลูกให้มีปฏิสัมพันธ์ตลอดการอ่านหนังสือได้ไม่ยากแล้วนะคะ ก็คล้ายๆ กับช่วงอายุที่กล่าวมาข้างต้น แต่มีสิ่งที่เพิ่มมานั้นก็คือ เราสามารถพูดประโยคยาวๆ และต่อได้ 2-3 ประโยค ขึ้นกับว่าพื้นฐานของเด็กแน่นแค่ไหน และที่สำคัญ เราสามารถชวนลูกตอบคำถามได้แล้ว โดยตั้งคำถามง่ายๆ และเฉลยให้กับเขา จับนิ้วชี้ลูกเป็นตัวช่วยในการตอบ เช่น “ลิงอยู่ไหนน้า…”  เว้นจังหวะ “ลิงอยู่นี่” พร้อมจับนิ้วลูกมาชี้แทน ทำซ้ำๆ บ่อยๆ ในระหว่างการเล่นนิทาน แต่อย่าลืมทำเสียงสูงๆ ต่ำๆ เพื่อความสนุกด้วยนะคะ คราวนี้เด็กๆ ก็จะใช้นิ้วชี้เพื่อการสื่อสารกับเรื่องอื่นๆ ที่เขาต้องการได้แล้วนะคะคุณแม่ๆ

หากคุณพ่อคุณแม่ปูพื้นฐานแน่นพอแล้ว พ่อแม่ก็สามารถเล่าเป็นเรื่องตามที่มาได้ แต่ต้อง 1-3 บรรทัดต่อหน้านะคะ เพราะเด็กๆ ชอบฟังสั้นๆ มากกว่า มีบ้างที่เด็กจะฟังยาวๆ แต่มักจะเป็นเรื่องเดิมที่รู้แล้ว พอมีเล่มใหม่จะไม่ค่อยชอบฟัง นั้นเป็นเพราะเรื่องเดิมเขาได้มีปฏิสัมพันธ์ด้วย เด็กๆ ก็จะชอบ หากมีเล่มใหม่แล้วลูกไม่สนใจ ให้สำรวจเลยว่าคุณพ่อคุณแม่เองที่ไม่ค่อยมีปฏิสัมพันธ์กับลูกตอนเล่าหรือเปล่า หรือนิทานอาจจะยาวเกินไปนั้นเองค่ะ

ขอบคุณข้อมูลจาก : หมอเสาวภา, planforkids, rakluke