Parents One

หนูน้อยหัวกระแทกพื้นบ่อย แบบไหนที่เรียกว่าอันตราย

เมื่อหนูน้อยเริ่มเดินได้ หรือวัยกำลังเตาะแตะ คุณพ่อคุณแม่มักประสบปัญหา ลูกหงายหลังหัวฟาดพื้นบ้าง ล้มหัวกระแทกพื้นบ้าง แต่ด้วยความเป็นเด็กเขาก็มักจะห่วงเล่น จนไม่รู้สึกเจ็บเนื้อเจ็บตัวกันเลย

แล้วคุณพ่อคุณแม่จะทราบได้อย่างไรว่า เมื่อลูกน้อยเล่นซนแล้วเกิดหัวกระแทกแบบไหนจึงนจะเป็นอันตรายกับเขา เรามาลองสังเกตอาการกันเลยค่ะ

เมื่อถึงวัยเตาะแตะ หรือกำลังหัดเดินของเด็กๆ แล้ว สิ่งที่มักจะตามมาและเป็นปัญหาสำหรับคนเป็นพ่อเป็นแม่นั้นก็คือ อุบัติเหตุ ซึ่งมักเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา คนเป็นพ่อเป็นแม่อย่างเราๆ ต้องคอยระมัดระวัง แต่ก็มีปัจจัยที่ทำให้ความรุนแรงนั้นแตกต่างกันออกไป ได้แก่

อาการที่ต้องสังเกตและต้องรีบพาไปพบแพทย์

หากลูกมีประวัติศีรษะกระแทกพื้น จะมีอาการดังนี้

วิธีการดูแลเมื่อศีรษะกระแทกรุนแรง

คุณพ่อคุณแม่ต้องดูแลเด็กๆ ภายใน 24 ชั่วโมงแรก โดยการประคบเย็นบริเวณที่บวมปูด เพื่อช่วยลดอาการบวมลง หลังจาก 24 ชั่วโมงไปแล้วให้ประคบร้อน เพราะความร้อนจะทำให้เลือดที่ออกใต้ผิวหนังไหลเวียนได้ดีขึ้นและดูดซึมกลับ ทำให้อาการบวดลดลงนั้นเองค่ะ

คุณพ่อคุณแม่จะต้องใช้ผ้าสะอาดกดแผลห้ามเลือดประมาณ 10 นาที หากเลือดหยุดไหลแล้ว ให้ทำความสะอาดด้วยผ จนสะอาด จากนั้นให้เช็ดรอบแผลด้วย แอลกอฮอล์ หากบริเวณนั้นไม่อยู่ใกล้ใบหน้าให้ใช้เบตาดีนอีกรอบ

แต่หากแผลนั้นลึกเกินไป และมีเลือดออกไม่หยุด ควรประคบเย็นให้ลูกแล้วรีบนำเขาส่งโรงพยาบาลโดยทันทีค่ะ

หากเด็กๆ ศีรษะกระแทกจนมี อาการซึมลง รับประทานอาหารหรือนมน้อยลง อาเจียน แขนขาอ่อนแรง ปวดศีรษะ ต่างๆ ควรรีบพาไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลโดยด่วน เพื่อรักษาต่อไปนะคะ

การป้องกันเด็กศรีษะกระแทก

 

ที่มา : Mamaexpert, Pobpad, babimild