Parents One

พาลูกเรียนรู้ “ช่วงกึ่งหลับกึ่งตื่น” ช่วยให้ลูกจำสิ่งนั้นได้ดีขึ้นได้!

คุณพ่อคุณแม่เคยได้ยินไหมค่ะว่า หากอยากให้ลูกเรียนรู้ได้ดี จำได้แม่น ต้องพาเขาเรียนรู้ก่อนเข้านอน หรือกึ่งหลับกึ่งตื่นจะได้ผลดีอย่างไม่น่าเชื่อเลย แถมเราเองก็ยังได้ใช้เวลานี้ในการทำกิจกรรมร่วมกันกับลูกอีกด้วย เรียกได้ว่าเป็นเวลาคุณภาพ (Quality Time) แบบสุดๆ ซึ่งนอกจากการอ่านนิทานที่เราอาจจะเคยได้ยินที่เป็นกิจกรรมยอดฮิตก่อนนอนที่แม่ๆ ชอบทำร่วมกับลูกแล้ว ยังมีกิจกรรมอะไรอีกบ้าง ที่ช่วยส่งเสริมให้ลูกเรียนรู้ได้ดีช่วงกึ่งหลับกึ่งตื่นแบบนี้ เราจะพาคุณพ่อคุณแม่ไปดูการวิจัยนี้ พร้อมๆ กันเลยค่ะ

ผลการทดสอบของนักวิจัยพบว่า การเรียนรู้ขณะช่วงกึ่งหลับกึ่งตื่น ทำให้คนเราสามารถเรียนรู้และจดจำสินั้นได้ดีขึ้นเมื่อตื่นขึ้นมา ซึ่งผลการวิจัยมีดังนี้

1. สามารถเรียนรู้ภาษาต่างประเทศได้

ในการทดลองของนักวิทยาศาสตร์ได้ให้ผู้ที่พูดภาษาเยอรมันโดยกำเนิด เริ่มเรียนภาษาดัตซ์ด้วยคำศัพท์พื้นฐาน จากนั้นก็ขอให้ผู้ทดสอบเข้าไปนอนหลังจากนั้น โดยขณะที่ผู้ทดสอบกำลังหลับไหลกึ่งหลับกึ่งตื่นน นักวิจัยได้ใช้เสียงของคำศัพท์เหล่านั้นให้แก่คนกลุ่มหนึ่งฟัง อีกกลุ่มหนึ่งไม่ได้ฟัง ผลปรากฎว่ากลุ่มคนที่ฟังสามารถแปลและเรียนรู้คำศัพท์ภาษาดัตซ์ได้ดีขึ้น แต่เพื่อให้แน่ใจว่าสิ่งที่ทดสอบนั้นคนที่หลับอาจจะได้ยินเวลาพูดก็ได้ จึงให้อีกกลุ่มที่กำลังเดินฟังคำศัพท์เช่นเดียวกัน ผลปรากฎว่าคนกลุ่มนี้จำอะไรแทบไม่ได้เลย

2. สามารถเรียนรู้ทักษะด้านดนตรีได้ดีขึ้น

ในการทดลองนักวิจัยได้สอนคนกลุ่มหนึ่งให้เล่นกีตาร์โดยใช้ทำนองและเทคนิคจากวีดีโอเกม Guitar Hero หลังจากนั้นผู้ถูกทดสอบก็งีบหลับไป แต่เช่นเดียวกันจะมีกลุ่มหนึ่งได้ยินเพลงขณะหลับ กับอีกกลุ่มจะไม่ได้ยินอะไรเลย แต่เมื่อพวกเขาตื่นขึ้นมา นักวิจัยได้ให้ทุกคนได้เล่นเพลงที่ฟังนั้นอีกครั้ง ผลปรากฎว่ากลุ่มคนที่ฟังขณะกำลังนอนหลับ สามารถเล่นกีต้าร์ได้ดีกว่าอีกกลุ่มนั่นเอง

3. สามารถจดจำ สถานที่นั้นๆ ได้ดีขึ้น 

ในการวิจัยนี้ ได้ให้ผู้สูงอายุวัย 60 ปี ที่มีสุขภาพแข็งแรง โดยใช้คอมพิวเตอร์ เพื่อวางวัตถุเสมือนจริงบนหน้าจอ เมื่อพวกเขาเลือกสถานที่และวางวัตถุจะได้ยินเสียงที่เฉพาะของจุดๆ นั้น จากนั้นจึงให้ผู้เข้าร่วมทดสอบงีบหลับเป็นเวลา 1 ชั่วโมงครึ่ง ในครั้งแรกผู้ทดสอบจะไม่ได้ยินเสียงอะไรเลยขณะงีบ แต่ครั้งที่ 2 จะมีการเปิดเสียงเพลงที่เล่นเมื่อวางวัตถุบนคอมฯ จะดังขึ้น ซึ่งผลการทดสอบพบว่าความทรงจำของพวกเขาจะจางหายน้อยลงเมื่อเขาได้ยินเพลงเดียวกับที่เขาวางของในตำแหน่งบนคอมพิวเตอร์นั่นเอง

4. สามารถเก็บความทรงจำสำคัญได้

นักวิทยาศาสตร์ระบุว่า สมองของคนเราจะสามารถแยกความทรงจำที่สำคัญออกจากความทรงจำทั่วไปได้ เมื่อไหร่ที่สมองบอกว่าสิ่งนี้สำคัญ ความทรงจำนั้นจะส่งไปยังความทรงจำระยะยาวของเราโดยตรง ในขณะที่ความทรงจำที่ไม่สำคัญจะถูกลบล้างด้วยความทรงจำใหม่ เพื่อประโยชน์ของตัวเราเองนั่นเอง

นอกจากนี้ยังพบอีกด้วยว่า ความทรงจำที่มีเสียงเข้ามาเชื่อมโยง แม้จะไม่สำคัญ แต่สมองของเราก็สามารถจดจำได้ดีกว่า

จะเห็นได้ว่าหากเราทำกิจกรรมก่อนนอนกับลูก และระหว่างลูกจะนอนกึ่งหลับกึ่งตื่น เรามีการใช้เสียงเพลง หรือการใช้ภาษากระตุ้นความทรงจำ เปิดให้ลูกฟังระหว่างนั้น ก็อาจจะช่วยให้เด็กๆ มีความทรงจำเกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ ได้ดีขึ้นได้เช่นกันค่ะ หวังว่าคุณพ่อคุณแม่จะนำความรู้นี้ไปใช้ประโยชน์และปรับให้เข้ากับเด็กๆ ที่บ้านไม่มากก็น้อยนะคะ

อ้างอิงจาก : sciencealert