Parents One

มีลูก 1 คน ต้องวางแผนการเงินอย่างไร

ได้ยินกันมาเรื่อยๆ นะคะ กับประโยคที่ว่า “มีลูกหนึ่งคน จนไปสิบปี” ก็การเลี้ยงดูเด็กคนนึงให้เติบโตขึ้นมาจนเป็นผู้ใหญ่มันใช้เงินไม่ใช่น้อยๆ เลยนี่นะ อย่างไรก็ตาม การมีลูกก็เป็นความฝันสูงสุดของทุกครอบครัว เรื่องของภาระค่าใช้จ่ายที่ตามมาจึงยากที่จะหลีกเลี่ยง

แต่รู้หรือไม่ การเงินนั้นเป็นเรื่องที่วางแผนได้เสมอ เราดูกันคร่าวๆ ดีกว่าค่ะ ว่าแต่ละช่วงวัยของลูกเรา จะต้องใช้ค่าใช้จ่ายมากน้อยแค่ไหนกัน

ช่วง 9 เดือนแรกก่อนคลอด

การเตรียมตัวเมื่อรู้ตัวว่ากำลังจะเป็นแม่มีรายละเอียดปลีกย่อยมากมาย ในช่วงนี้ค่าใช้จ่ายเราจะต้องให้ความสำคัญเป็นอันดับแรกเลยก็คือ ค่าคลอด

ค่าคลอด เป็นค่าใช้จ่ายก้อนใหญ่ที่สุดของระยะนี้ ซึ่งเราก็สามารถเลือกโรงพยาบาลและการบริการให้เหมาะสมกับฐานะทางการเงินของเรา นอกจากนั้นยังมี ค่าตรวจครรภ์, ค่าฝากครรภ์, ค่าอัลตร้าซาวน์, ค่ายาจิปาถะอีกมากมาย ซึ่งในช่วงนี้จำเป็นต้องใช้เงินประมาณ

20,000 – 180,000 บาท

ทารกก่อนวัยเรียน

(0-4 ปี)

ในระยะทารกนั้นเป็นช่วงที่เด็กยังไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ดังนั้นค่าใช้จ่ายจึงไปหนักอยู่ที่สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น แพมเพิส, ผ้าอ้อม, ขวดนม, อุปกรณ์เลี้ยงเด็กต่างๆ รวมไปถึงบรรดาของเล่นเสริมพัฒนาการ ซึ่งยังไม่หมดแค่นี้นะคะ

ช่วงวัยนี้กินระยะเวลายาวไปถึง ช่วงเตรียมอนุบาล การเตรียมความพร้อมให้กับเด็กในการเข้ารับการศึกษาก็เป็นเรื่องที่สำคัญนะคะ การเรียนพิเศษเสริมทักษะต่างๆ ก่อนวัยเรียนในยุคนี้ก็เป็นสิ่งที่ทำกันแทบจะทุกบ้าน ทำให้ต้องใช้เงินไปกับเด็กระยะนี้ประมาณ

20,000 – 50,000 บาท/เดือน

วัยอนุบาล

(4-7 ปี)

วัยนี้เป็นเรื่องของการปูพื้นฐานและเสริมทักษะการเรียนรู้ต่างๆ เพราะ พื้นฐานที่ดี จะนำมาสู่อนาคตที่ดี การเลือกโรงเรียนเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญมากในวัยนี้

การเลือกโรงเรียนอนุบาลให้ลูกนั้น คุณพ่อ-คุณแม่สามารถเลือกให้เหมาะกับสถานะทางการเงินและความถนัดของลูกได้ ทำให้ค่าใช้จ่ายหลักๆ ไปตกอยู่ที่ ค่าเทอมนั่นเอง โดยในแต่ละเทอมจะต้องมีค่าใช้จ่ายประมาณ

20,000 – 80,000 บาท/เทอม

วัยประถม

(7-12 ปี)

ต่อเนื่องกันมาจากช่วงอนุบาล สำหรับประถมก็มีตัวเลือกในส่วนของโรงเรียนมากขึ้น ไม่ว่าเป็น โรงเรียนรัฐบาล โรงเรียนเอกชน หรือจะเป็นโรงเรียนแบบอินเตอร์ นอกจากนี้การเสริมทักษะด้านอื่นก็เริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้น การเรียนพิเศษเสริม อย่างดนตรีหรือกีฬาต่างๆ ก็เป็นอีกค่าใช้จ่ายที่เพิ่มเข้ามา โดยรวมๆแล้วก็ใช้เงินประมาณ

20,000 – 150,000 บาท/เทอม

วัยมัธยม

(12-18 ปี)

มาถึงช่วงมัธยมกันแล้วนะคะ โดยส่วนมากแล้วระดับชั้นมัธยมจะไม่ค่อยแตกต่างจากประถมเท่าไหร่นัก เพราะทางเลือกก็จะคล้ายๆ กัน อาจจะมีบางคนที่ไปศึกษาต่อต่างประเทศ หรือต่อในสายอาชีวะกันบ้าง อย่างไรก็ตาม ค่าใช้จ่ายจำนวนหนึ่งที่เพิ่มเข้ามาแน่นอน และไม่ใช่จำนวนน้อยๆ ด้วย ก็คือ ค่าเรียนพิเศษนั่นเอง

ปฏิเสธไม่ได้หรอกค่ะว่าสมัยนี้ใครๆ ก็เรียนพิเศษกัน เพราะเป็นการเตรียมความพร้อมสู่สมรภูมิแอดมิชชั่น การสอบแข่งขันเข้ามหาวิทยาลัยชั้นนำที่เข้มข้นขึ้นทุกปี  แล้วเด็กแต่ละคนก็เรียนกันเยอะมาก คนละหลายวิชา หลายสถาบัน พ่อแม่อย่างเราๆ ก็มีหน้าที่สนับสนุนพวกเขาอย่างเต็มที่ อยากเรียนอะไรก็จัดไปค่ะคุณลูก ดังนั้นค่าใช้จ่ายที่คุณแม่ต้องแบกรับจึงอยู่ที่ประมาณ

50,000 – 300,000 บาท/เทอม

วัยมหาวิทยาลัย

(12-21-24 ปี)

สุดท้ายแล้ว เย้! หลายๆ ครอบครัวจะสิ้นสุดการส่งเสียลูกกันที่วัยมหาวิทยาลัยนี่แหละค่ะ ซึ่งก็เช่นเคยระดับมหาวิทยาลัยนั้นมีทางเลือกที่หลากหลาย ทั้งมหาวิทยาลัยรัฐบาล มหาวิทยาลัยเอกชน มหาวิทยาลัยรัฐบาลที่คิดค่าเทอมแบบเอกชน การศึกษาในหลักสูตรอินเตอร์ และในแต่ละคณะที่ลูกเลือกเรียกก็มีค่าใช้จ่ายจิปาถะที่แตกต่างกันไปอีก รวมไปถึงค่าหอพักในกรณีที่ได้เรียนในมหาวิทยาลัยที่ห่างไกล หรืออยู่ในโซนต่างจังหวัด ทำให้ค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยแล้วถูกดีดขึ้นไปสูงถึง

70,000 – 500,000 บาท/เทอม

อย่าลืมนะว่า เงินเฟ้อ มีอยู่จริง

ค่าใช้จ่ายที่โชว์อยู่ตรงหน้าเป็นเพียงการคำนวณคร่าวๆ และยิ่งไปกว่านั้นยังเป็นการคำนวณที่อ้างอิงจากอัตราเงินในปัจจุบัน คุณพ่อคุณแม่อย่าลืมนะคะว่าเงินเนี่ย มีอัตราเงินเฟ้อแฝงอยู่ ทำให้ทุกอย่างที่เราคิดไว้จะต้องคิดอัตราเฉลี่ยเงินเฟ้อเข้าไปด้วย โดยอัตราเงินเฟ้อสำหรับการศึกษา คือ 6% ต่อปี และอัตราเงินเฟ้อค่ากินอยู่เฉลี่ย คือ 3% ต่อปี

ให้ธนาคารกรุงศรีอยุธยาช่วยวางแผนเพื่อการศึกษาของเจ้าตัวน้อย

ไล่เรียงกันมาตั้งแต่ช่วงวัยแรกจนถึงวัยมหาวิทยาลัย สร้างความงงไม่ใช่น้อยเลยใช่ไหมคะ นอกจากตัวเลขที่มากมายมหาศาลแล้วยังจะมีอัตราเงินเฟ้ออีก งงค่ะ แต่ไม่ต้องเป็นกังวลไปเพราะ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ผู้นำแห่งการมุ่งมั่นสร้างสรรค์บริการทางการเงินและคำปรึกษาทางธุรกิจ ได้เปิดเว็บไซต์ใหม่ขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการในการวางแผนทางการเงินของทุกครอบครัว

Krungsri Plan Your Money

เว็บไซต์ที่จะเข้ามาช่วยเหลือด้านการวางแผนทางการเงินในส่วนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น เรื่องของการลดหย่อนภาษี, แนะนำการซื้อรถคันใหม่, วางแผนซื้อบ้าน และไฮไลท์เด็ดของเว็บไซต์นี้ก็คือ วางแผนเพื่อการศึกษาของเจ้าตัวน้อย และอ่านบทความด้านไลฟ์สไตล์การเงินได้ที่ Plearn เพลิน by Krungsri GURU

โดยการคำนวณของเว็บจะเริ่มจากการทำแบบสอบถามสำรวจความต้องการของเรา และคำนวณเป็นค่าใช้จ่ายออกมา หน้าตาน่ารัก แถมยังใช้งานง่ายมาก เหมาะสมที่สุดกับการเข้ามาช่วยเหลือทางด้านการเงินของทุกครอบครัว 🙂