จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในปัจจุบันส่งผลกระทบในทุกภาคส่วน เช่น การศึกษาของเด็กไทย เพราะในขณะนี้เด็กไทยจำเป็นต้องเรียนออนไลน์เป็นระยะเวลานาน ซึ่งนั่นทำให้นักวิชาการเป็นห่วงว่าจะเกิดผลเสียต่อการเรียนรู้ของเด็กมากกว่า
ศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ นักวิชาการด้านการศึกษา เปิดเผยว่า จากกรณีที่มีการคาดการณ์ว่า เด็กไทยน่าจะต้องเรียนออนไลน์ยาวๆ 1-2 ปีนั้นอาจเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้จริงเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน แต่ปัญหาใหญ่ที่พบจากการที่เด็กไทยเรียนออนไลน์มาเป็นระยะเวลาหนึ่ง คือ เด็กทั่วประเทศโดดเรียนออนไลน์กว่า 20% ทำให้เห็นว่าการเรียนออนไลน์ทำให้เด็กเครียดจนต้องโดดเรียน
ตอนนี้ทั่วโลกมีการศึกษาเรื่องผลกระทบจากการเรียนออนไลน์ พบข้อมูลที่ตรงกันคือ ถ้าเด็กต้องเรียนออนไลน์ จะเกิดความถดถอยทางการศึกษาประมาณ 20-50% ดังนั้น หากต้องให้เด็กเรียนออนไลน์ต่ออีก 1 ปี เป็นทางเลือกที่ไม่เห็นด้วย เพราะการศึกษาไทยน่าเป็นห่วงอย่างมาก ทั้งในเชิงคุณภาพ ความถดถอยทางการศึกษา และสุขภาพจิตของเด็ก
ศ.ดร.สมพงษ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า การเตรียมการที่ผ่านมาของกระทรวงศึกษาธิการ ทำให้เห็นว่าการตัดสินใจต่างๆ ยึดส่วนกลางเป็นหลัก ไม่ได้ยึดโรงเรียน และเด็กเป็นหลักเลย ศธ.มองแค่ว่าจะออกนโยบายอะไรที่จะได้รับแรงกระทบจากการเมืองให้น้อยที่สุดเท่านั้น สิ่งเหล่านี้จะทำให้เกิดผลเสียต่อคุณภาพ ต่อชีวิต ต่อสุขภาพของนักเรียนอย่างมหาศาล
นอกจากนี้น.ท.สุมิตร สุวรรณ รองคณบดีคณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) วิทยาเขตกำแพงแสน ยังกล่าวอีกว่า หากต้องเรียนออนไลน์ต่ออย่างน้อย 1-2 ปี จะส่งผลกระทบต่อเด็กในระดับปฐมวัย และประถมศึกษาอย่างมาก เพราะเด็กเหล่านี้ไม่สามารถใช้เทคโนโลยีได้คล่อง การเรียนต้องเน้นพัฒนาการเป็นหลัก
ซึ่งหากถ้าต้องเรียนออนไลน์ต่อ การเรียนจะไม่มีประสิทธิภาพ และไม่มีคุณภาพ ดังนั้นจึงมีข้อเสนอว่า จะเป้นไปได้ไหมถ้าหยุดการเรียนการสอนไป 1 ปี เพราะซึ่งการหยุดเรียนทั้งระบบการศึกษา และเริ่มใหม่ในปีหน้า จะช่วยทำให้การเรียนการสอนมีคุณภาพ
แต่หากหยุดเรียน 1 ปี จะมีผลกระทบเรื่องการเสียโอกาส และเสียเวลาด้วย ทั้งนี้ ไม่ว่ารัฐจะตัดสินใจอย่างไร ขอให้คำนึงถึงประโยชน์ของนักเรียนเป็นหลักด้วย
อ้างอิงจาก
https://www.matichon.co.th/education/news_2873877