Parents One

5 ขั้นตอนรับมือเมื่อลูกถูกคุณครูทำโทษเกินกว่าเหตุ

 

ไม่ว่าเวลาจะผ่านมานานเท่าไหร่คุณพ่อคุณแม่ทุกยุคสมัยมักจะต้องพบเจอกับเหตุการณ์ชวนให้รู้สึกไม่สบายใจเกี่ยวกับการถูกทำโทษของลูกซึ่งเราไม่สามารถรู้ได้เลยว่า สิ่งเหล่านั้นเหมาะสมหรือถูกต้องแล้วหรือไม่กับการถูกคุณครูทำโทษเอา และยิ่งมีข่าวลงอยู่ทุกวันว่าโทษที่ได้รับอาจไม่ใช่แค่การตักเตือนแต่ลามไปถึงการละเมิดสิทธิบนร่างกายของลูกเรา อาทิการตัดผม, ทำร้ายร่างกายเกินกว่าเหตุเช่นการตีจนเขียวช้ำ, เกิดฮ้อเลือดถลอก, ริบของหรือทำลายข้าวของที่เป็นสมบัติของลูก และวาจาเองก็เช่นกันในการละเมิดอย่างการล้อเลียนรูปร่างและดูแคลนสติปัญญาของเด็ก

ส่งผลให้ความมั่นใจในตัวลูกลดลงรวมไปถึงสภาพจิตใจที่บอบช้ำนำไปสู่สภาวะเศร้าซึม, เก็บตัว, ไม่ยอมเข้าสังคมจนไม่อยากไปโรงเรียน

แบบนี้คงต้องทำอะไรซักอย่างแล้วเพื่อให้ลูกเรามีสุขภาพกายและจิตที่ดีขึ้น มาลองดูวิธีช่วยเหลือลูกไปด้วยกันเลยค่า

เมื่อรู้ว่าเกิดเรื่อง ต้องถามไถ่แสดงความใส่ใจ

โดยปกติเมื่อเห็นลูกกลับมาแล้วบอกว่าถูกลงโทษหรือสังเกตได้จากความเปลี่ยนทางร่างกายและสีหน้า ส่วนมากเรามักจะถามลูกว่าไปทำอะไรผิดมาล่ะเลยโดน , เกเรอะไรมารึเปล่า, ทำเรื่องไม่ดีมาใช่ไหม ซึ่งจริงๆ แล้วคำเหล่านี้เป็นคำที่ไม่ควรนำมาใช้ถามนักเพราะแม้สิ่งที่เราคิดว่าเราถามไปเพราะอยากรู้ข้อเท็จจริงจะได้พูดคุยต่อ มันกลับกลายเป็นการทำให้ลูกรู้สึกต้องผิดไปตั้งแต่แรกทั้งที่เขายังไม่มีโอกาสได้บอกเราว่าเกิดอะไรขึ้น

ดังนั้นสิ่งที่ควรถามควรใช้ประโยคเหล่านี้แทนเช่น

เมื่อลูกยอมพูดและเล่าถึงเหตุกาณ์แล้วต้องไม่ซ้ำเติมหรือมองว่าเป็นเรื่องเพียงเล็กน้อยเพราะเขายังเด็กและเรียนรู้โลกภายนอกมาน้อยกว่าเราที่เป็นพ่อเป็นแม่มาก ฉะนั้นแล้วใช้ความเข้าใจเขาให้มากและบอกเสมอว่าจะอยู่เคียงข้างเพื่อให้ลูกรู้สึกสบายใจที่มีเราเป็นที่พึ่ง

 

เจาะลึกให้ครบทุกแง่มุมปัญหาที่เกิดขึ้นกับลูก

การรับฟังต้องรับฟังให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ไม่เพียงแค่ถามมาตอบไปสั้นๆ เพราะไม่เช่นนั้นปัญหาจะไม่สามารถแก้ไขได้จริง คุณพ่อคุณแม่ควรที่จะต้องรู้ที่มาที่ไปทั้งหมดเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นจุดเริ่มของการถูกทำโทษ, กฏข้อระเบียบที่เหตุของการถูกทำโทษ, สภาพหรือภาวะทางอารมณ์ที่แสดงออกมาของตัวครูหรืออาจารย์ที่ทำโทษและหากถามเพิ่มเติมได้อาจลองสอบถามด้วยว่ามีใครโดนเหมือนลูกเราบ้างไหมหรือมีเพียงคนของเราที่โดนเพื่อเก็บข้อมูลที่ละเอียดยิ่งขึ้น

และในเวลาเดียวกันเมื่อสรุปเรื่องได้ทั้งหมดแล้วต้องประเมินที่มาที่ไปของการทำโทษว่าเหมาะสมหรือไม่เหมาะสมอย่างไรเพื่อทำไปจัดการในขั้นถัดๆ ไปของการเข้าพบคุณครูเพื่อพูดคุย, ดูแลลูกของเราให้เข้าใจเรื่องราวมากขึ้นว่าทำไมจึงเกิดการทำโทษขึ้น

 

ไม่ตำหนิหรือซ้ำเติม

บ่อยครั้งที่เรามักใช้ความคิดแบบผู้ใหญ่ตัดสินไปก่อนแล้วว่าหากลูกถูกทำโทษมา แสดงว่าลูกต้องผิดแน่นอนหรือแม้จะฟังแล้ว ก็รู้ได้ว่าเพราะลูกเรามีความประพฤติไม่ดีก่อนจริงจึงสมควรแล้วที่ถูกครูทำโทษมา จึงทำให้เรามักตำหนิเขาหรือสมน้ำหน้าซ้ำไปอยู่ดีแม้จะรู้เรื่องราวทั้งหมดแล้ว แต่ว่าในความจริงนั้น แม้ลูกจะมีส่วนผิดหรือทำเรื่องไม่ดีจริงจนถูกทำโทษรุนแรง คุณพ่อคุณแม่ก็ไม่ควรซ้ำเติมเพราะมันจะเป็นการตอกย้ำว่าตัวลูกนั้น ทำอะไรก็ผิดไปหมด ไม่เคยได้รับการให้อภัยและไม่เคยมีใครเข้าใจความรู้สึกของเขา มันส่งผลให้ลูกรู้สึกเราไม่ใช่ที่พึ่ง และต่อไปมีอะไรเขาก็เลือกที่จะไม่บอกเราอีก

ดังนั้นสิ่งที่ควรทำคือรับรู้เรื่องกอดเขาไว้ให้แน่นๆ บอกว่าไม่เป็นไร ไว้เริ่มใหม่นะในกรณีที่ลูกมีส่วนผิดจริง แต่หากลูกถูกทำโทษโดยไม่สมเหตุสมผล ต้องคอยบอกว่าเราอยู่ข้างเขา, เข้าใจเขา

 

สร้างความมั่นใจกลับมาให้ลูก

ไม่ว่าจะเป็นการลงโทษแบบไหน ก้มักจะส่งผลให้ลูกรู้สึกด้อยค่าในตนลงไม่ว่าจะเป็นการถูกทำร้ายตามร่างกายจนเกิดรอยพกช้ำ, ทรงผมหรือของใช้บางอย่างที่แหว่งพังไป และสภาพจิตใจที่เจ็บปวดหลังการถูกพูดจาไม่ดีใส่ คุณพ่อคุณแม่ต้องเรียกความมั่นใจเหล่านั้นกลับมาเพื่อไม่ให้เขารู้สึกว่าสิ่งที่ถูกกระทำมาเป็นเรื่องที่สมควรซึ่งการช่วยเหลือสามารถทำได้ดั้งนี้

ไม่ปล่อยให้เหตุการณ์เกิดขึ้นซ้ำ

หากเราสามารถช่วยเหลือให้สภาพจิตใจของลูกดีขึ้นแล้ว อย่าลืมว่าอีกสิ่งหนึ่งที่ต้องปรับปรุงเพิ่มเติมก็คือเรื่องของสภาพแวดล้อมและตัวบุคคลที่อาจส่งผลให้ลูกเราต้องรู้สึกเจ็บปวดหรือเสียใจในเรื่องซ้ำๆ คุณพ่อคุณแม่ต้องไม่นิ่งเฉยในการเข้าพูดคุยหรือทางโรงเรียนหรือทางตัวบุคคลที่เป็นอาจารย์เพื่อให้ได้มีความเข้าใจตรงกันและบอกให้รู้ถึงข้อที่ควรปรับปรุง ทั้งนี้ก็เพื่อให้คุณครูหรือบุคลากรในโรงเรียนนั้นได้มีโอกาสอธิบายมุมมองและความรู้สึกของตนที่ได้ทำลงไปว่าเป็นเช่นไร

และในขณะเดียวกัน หากเหตุการณ์ยังคงดำเนินต่อไป คุณครูหรือโรงเรียนไม่มีท่าทางใส่ใจมากเท่าที่ควร ก็อาจต้องมีการขอย้ายโรงเรียนหรือการจัดการที่เด็ดขาดขึ้นในแง่มุมทางกฏหมายเพิ่มเติมซึ่งเรื่องราวเหล่านี้ก็จำต้องความสมัครใจของลูกก่อนเสมอว่าคิดเห็นอย่างไร และต้องการแบบไหนเพราะสิ่งที่เราต้องคำนึงถึงมากที่สุด คือความสบายใจของลูกในการเล่าเรียน เขาต้องอยู่กับสภาพแวดล้อมและชีวิตในรั้วโรงเรียนไปอีกหลายต่อหลายปี ดังนั้นโรงเรียนจึงควรเป็นที่ที่ทำให้เขารู้สึกอยากไปใช้เวลาอยู่เสมอ

ที่มา : line, thaipublica