Parents One

“ออทิสติกเทียม” อาการน่ากังวลจากการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

คุณพ่อคุณแม่อาจจะเห็นหรือเคยได้ยินข่าวเกี่ยวกับเด็กเด็กวัยเตรียมอนุบาลและวัยอนุบาลที่เล่นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ดูโทรทัศน์ มากเกินไป จนกลายเป็นเด็กที่มีพฤติกรรมคล้ายออทิสติก หรือเรียกกันว่า “ออทิสติกเทียม” มาดูกันค่ะว่าจะมีสาเหตุ อาการ เเละวิธีรักษาอย่างไรบ้าง

ออทิสติกเทียมคืออะไร ?

ออทิสติกเทียม คือ การที่เด็กขาดการสื่อสารแบบสองทาง ทำให้ตัวเด็กขาดการกระตุ้น เพราะการให้ลูกเล่นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หรือดูโทรทัศน์ เป็นการรับสารทางเดียวเท่านั้น ทำให้เด็กมีพัฒนาการทางสังคมที่ช้า

สาเหตุ

เพราะเด็กเล็กยังแยกแยะไม่ออกระหว่างโลกจริงกับโลกเสมือนในหน้าจอ จึงส่งผลต่อพัฒนาการ เพราะเเทนที่เด็กๆ จะเเสดงออกด้วยการพูดโต้ตอบปกติ ก็อาจจะไม่พูดออกมาเพราะกำลังอยู่กับโลกส่วนตวในหน้าจอ เเเป็นละในที่สุดก็จะพัฒนาไปปัญหาด้านการเข้าสังคมในที่สุด

ตรวจสอบอาการลูก

สามารถสังเกตอาการของลูกได้ว่าเป็นออทิสติกเทียมหรือไม่ได้ดังนี้

ถ้าลูกมีอาการดังกล่าวควรเข้ารับการตรวจกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการเด็กโดยตรง

 

วิธีป้องกัน

คุณพ่อคุณเเม่ควรคุยกับลูกอย่างน้อยวันละ 30 นาที – 1 ชั่วโมง เป็นการให้ลูกเรียนรู้การสื่อสารแบบสองทาง เด็กจะเข้าใจการโต้ตอบ สบตา คำศัพท์ เเละให้ลูกออกไปเล่นกับเด็กคนอื่นๆ บ้าง เพื่อสร้างทักษะด้านการปฎิสัมพันธ์

ช่วง 2 ปีเเรกของเด็ก คุณพ่อคุณเเม่ยังไม่ควรให้ลูกเล่นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ดูโทรทัศน์ เเต่สามารถให้เล่นได้หลังจากอายุ 2 ขวบ เเละไม่ควรนานกว่า 1 ชั่วโมงต่อวัน นอกจากนั้นก็ควรหากิจกรรมอื่นๆ ให้ลูกทำ เช่น ต่อเลโก้ เล่นแป้งโดว์ วาดภาพระบายสี พับกระดาษ เป็นต้น

เพราะจะได้ดูความผิดปกติได้แบบทันท่วงที โดยส่เด็กที่เป็นออทิสติกเทียมถ้าได้รับการรักษาเเละการกระตุ้นอย่างถูกต้อง อาการก็จะดีขึ้นในระยะเวลาประมาณ 6 เดือน ถึงจะกลับมาเป็นเด็กปกติได้

อยากฝากคุณพ่อคุณเเม่ว่าไม่ควรปลอยให้มือถือเลี้ยงลูก เพราะจะส่งผลกระทบมากกว่าที่เราคิด

ขอบคุณข้อมูลจาก –
Bangkokhospital
Posttoday