Parents One

เด็กดื้อต้องโดนอะไร! ลงโทษแบบไหนให้ลูกเข้าใจมากขึ้น

แน่นอนว่าช่วงเวลาที่เราปวดหัวมากที่สุดสำหรับการเลี้ยงลูกคือตอนที่ลูกดื้อหรือซนมากๆ ยิ่งในช่วงที่เด็กกำลังเติบโต มีความเข้าใจ และเริ่มมีความคิดเป็นของตัวเอง เป็นอะไรที่พ่อๆ แม่ๆ กังวลใจที่สุด แต่แล้วถ้าลูกดื้อหรือซนขึ้นมา เราควรมีวิธีการ ‘ลงโทษอย่างไร ให้ลูกเข้าใจและไม่เกิดพฤติกรรมซ้ำอีก’ ซึ่งปัจจุบันการลงโทษด้วยวิธี ’การตี’ ไม่ใช่วิธีการที่ดีอีกต่อไปแล้ว มันมาพร้อมกับการเกิดแผลในใจสำหรับเด็กและอาจมีพฤติกรรมก้าวร้าวได้ในอนาคต วันนี้ Parents One เลยอยากให้คุณพ่อคุณแม่มาทำความเข้าใจและลงโทษแบบคุณพ่อคุณแม่ยุคใหม่กันค่ะ

Time out หรือ การเข้ามุม 

การกำหนด พื้นที่ หรือ สถานที่ เมื่อเด็กแสดงพฤติกรรมไม่ดี ได้สงบสติอารมณ์ โดยในการที่จะลงโทษด้วยการเข้ามุมนี้ จะต้องแสดงพื้นที่ขอบเขต และระยะเวลาที่ชัดเจน ให้เหตุผลต่อการทำโทษด้วย ในการเข้ามุมนี้ไม่ใช่การกักขัง ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ควรอยู่ในสถานที่นั้นด้วย ทั้งนี้การเข้ามุม สามารถทำร่วมกับ Time in ในการเข้าไปแสดงความห่วงใยด้วยการตักเตือนและพูดคุย ก่อนที่จะทำ Time out 

 

การลดสิทธิ

การดึงสิทธิ์หรือสิ่งของที่มีออกจากตัว เป็นการลงโทษทางลบ คือการนำสิ่งที่เด็กชอบหรือพึงพอใจออกไปจากตัว มีผลทำให้เด็กมีพฤติกรรมลดลง และเข้าใจมากขึ้น เช่น การงดดูโทรทัศน์ การงดให้ทานขนมที่ชอบ การจำกัดเวลาในการเล่นนอกบ้าน การลดค่าขนม

 

 การว่ากล่าวตักเตือน

การว่ากล่าวตักเตือนด้วยวาจา มีหลักการคือ ตักเตือนเน้นไปที่พฤติกรรมให้ชัดเจน ว่าพฤติกรรมที่แสดงออกมาไม่ดี หรือไม่เหมาะสมอย่างไร มากกว่าการไปต่อว่าด้วยบุคคลิกภาพหรือนิสัยของเขา ใช้น้ำเสียงที่เหมาะสม และไม่ใช้อารมณ์ในขณะที่ตักดตือน มีเหตุผลประกอบสั้นๆที่ยาวจนกลายเป็นการบ่น 

 

การชดเชย

เมื่อเกิดพฤติกรรมที่ไม่ดี ให้สามารถชดใช้และชดเชยจากการทำนั้นได้ เพื่อให้เด็กเข้าใจและไม่เกิดพฤติกรรมซ้ำขึ้นอีก เป็นการลงโทษทางบวก คือการให้ในสิ่งที่เด็กไม่พึงพอใจ มีผลทำให้พฤติกรรมของเด็กลดลง เช่น ทำโต๊ะเลอะแล้วต้องเช็ดและเช็ดเพิ่มทั้งห้องด้วย หรือ เอาสิ่งของที่ขโมยมาจากเพื่อนไปคืนและเอาของที่ชอบไปให้เพื่อนเป็นการชดเชยด้วย

ที่มา https://www.happyhomeclinic.com/Download/article/a32-punishment.pdf