Parents One

การลงโทษแบบ Time in และ Time out ต่างกันอย่างไร เลือกแบบไหนจึงเหมาะกับลูก

ในบางครั้งเด็กๆ สุดน่ารักของคุณพ่อคุณแม่ก็กลายเป็นปีศาจตัวน้อยที่ไม่ยอมฟังใคร ดื้อแบบสุดๆ งอแงแบบไม่เกรงใจใคร จนคนเป็นพ่อเป็นแม่อย่างเราๆ ต้องหาวิธีมาปราบปีศาจตัวน้อยให้ออกจากร่างของลูกรักซะหน่อย ซึ่งวิธีการลงโทษก็มีอยู่มากมาย

ซึ่งวันนี้ทาง Parents One ขอนำเสนอเรื่องการลงโทษแบบ “Time in” และ “Time out” มาให้คุณพ่อคุณแม่ได้ศึกษากัน บางคนก็พอจะทราบกันมาบ้างถึงวิธีการลงโทษแบบนี้ ซึ่งจะมีข้อดีข้อเสีย หรือแตกต่างกันมากน้อยแค่ไหน แล้วแบบไหนถึงจะเหมาะกับการลงโทษของลูกน้อยสุดแสบของเรา ตามมาดูกันเลยค่ะ

Time out และ Time in คืออะไร

Time out

คุณหมอได้อธิบายถึง Time out ว่า เป็นการแยกเด็กออกมาจากการได้รับแรงเสริมทางบวกหรือแยกออกมาจากสถานการณ์ที่ทำให้เด็กเกิดปัญหาพฤติกรรม ซึ่งเป็นการช่วยให้เด็กใช้เวลานอกในการสงบสติอารมณ์ของตัวเอง ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดก็ตาม และเมื่อเด็กๆ สงบสติลงก็สามารถกลับไปยังส่ิงที่ทำอยู่ก่อนหน้านี้ได้นั้นเองค่ะ

Time in 

Time in คือ เมื่อใดที่ลูกของเราเริ่มโวยวาย หงุดหงิด หรือผิดหวังในเรื่องใดๆ ก็ตาม แทนที่เราจะไล่เขาไปนั่งสงบสติหรือสำนึกผิดอย่างเดียวดาย โดยที่เราไม่ให้ความสนใจใดๆ แก่เขาเลย แล้วเปลี่ยนเป็นการที่เราคุณพ่อคุณแม่ไปนั่งข้างๆ เขา เพื่อที่จะช่วยสงบสติอารมณ์ หามุมหรือสถานที่สงบๆและเข้าไปนั่งด้วยนั้นเองค่ะ คุณพ่อคุณแม่อาจจะช่วยเขาปลอบให้อารมณ์เย็นลง หรือเพียงแค่สงบสติเงียบๆ อยู่ข้างๆ เพื่อให้ลูกรู้ว่าพ่อแม่ยังอยู่ข้างๆ เสมอและพร้อมจะช่วยเขาในเวลาที่เจอปัญหานั้นเองค่ะ

สถานการณ์ไหนควรใช้ Time out หรือ Time in

เมื่อเด็กๆ ทำความผิด อันดับแรกที่คุณพ่อคุณแม่ทำโทษควรจะเป็น Time in โดยการแสดงถึงความรัก ความห่วงใย และคอยปลูกฝังให้เขาปฏิบัติตัวเป็นคนดีอย่างสม่ำเสมอนั้นเองค่ะ โดยเฉพาะเมื่อเด็กๆ ร่าเริง เขามักจะเปิดรับความรู้ใหม่ๆ และซึมซับความอบอุ่นจากคนรอบข้างได้ดี เพราะฉะนั้นการทำโทษแบบ Time in  เรียกได้ว่าเป็นการทำโทษแบบอบอุ่น ควรจะเป็นการปลูกฝังเป็นอันดับแรก

แต่หากเด็กไม่ยอมทำตามหรือยังทำตัวไม่น่ารักแบบเดิม คุณพ่อคุณแม่อาจจะต้องใช้วิธีทำโทษแบบ Time out มาจัดการกับลูกน้อยในลำดับต่อไปนั้นเองค่ะ ก็ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ที่คุณพ่อคุณแม่ต้องเจอนะคะ

ข้อจำกัดในการใช้ Time out และ Time in

Time out

Time in

 

วิธีทำ Time out และ Time inให้ได้ผล

Time out

Time in 

 

ข้อดีของการทำ Time out และ Time in

ขอบคุณข้อมูลจาก : tipsddanswerbyyok