Parents One

ลูกวัย 0-3 ขวบ ชอบหยิก กัด ตี เราจะสอนลูกอย่างไรดีนะ?

เด็กๆ วัย 0-3 ปี บางครั้งเองก็ชอบแกล้งหรือทำร้ายคนอื่นๆ เช่น ปาของใส่ หรืออยู่ดีๆ ก็มาตี หรือกัดเพื่อน โดยที่เราเองก็สงสัยนะคะว่า ที่ลูกทำไปนั้นเขาตั้งใจหรือไม่ตั้งใจกันแน่ เพราะเวลาเขาทำสิ่งเหล่านั้นเขามักจะสนุกสนานกับมัน หัวเราะคิกคัก หากบ้านไหนเป็นแบบนี้วันนี้เรามีวิธีการสอนที่ถูกต้อง “จากคุณหมอ เมริษา ยอดมณฑป นักจิตวิทยา” มาฝากกันค่ะ มาดูกันว่าพ่อแม่อย่างเราจะสามารถทำอะไรได้บ้าง ไปดูกันเลย!

ทำไมเด็กช่วง 0-3 ขวบ ถึงชอบทำร้ายคนอื่น แบบไม่มีสาเหตุ

สอนเด็กๆ ได้อย่างไรบ้าง

ก่อนเริ่มสอน : สร้างสายสัมพันธ์กับเขาก่อนที่จะสอน

เด็กๆ มักอยากทำเพื่อคนที่เขารัก หากอยากที่จะสอนอะไรกับลูกสักอย่าง คุณพ่อคุณแม่ควรสร้างสายสัมพันธ์อันดีกับลูกก่อน ทำให้ลูกรู้ว่าเรามีความสำคัญกับเขา จะทำให้เด็กๆ ทำตามสิ่งที่เราสอนได้อย่างง่ายๆ เลยค่ะ เช่น อ่านนิทาน เล่นด้วยกัน หอม กอด เป็นต้น

ขั้นตอนที่ 1 : ตั้งกติกาให้ชัดเจนระหว่างลูก

ก่อนอื่นเลยคนในบ้านต้องรู้และปฏิบัติในเรื่องการสอนในทิศทางเดียวกันเสียก่อน โดยกติกาในบ้านอาจจะเริ่มจาก กฎ 3 ข้อ นั่นก็คือ ห้ามทำร้ายผู้อื่น ห้ามทำร้ายตนเอง และห้ามทำลายข้าวของ ช่วงแรกๆ เด็กๆ อาจจะยังไม่เข้าใจ แต่เชื่อเถอะว่าตั้งกติกาไว้ให้เข้าใจตรงกันดีกว่า เพื่อไม่ให้เขาสับสนได้ง่ายๆ

ขั้นตอนที่ 2 : หากลูกทำผิดกติกาดังกล่าว ต้องสอนเขาทันที

1. กรณีทำร้ายคนอื่นโดยเจตนา

2. กรณีทำร้ายคนอื่นโดยไม่เจตนา

เด็กเล็กมักมีปัญหากับการสื่อสาร ทำให้บางทีเขาอาจจะแสดงพฤติกรรมที่เขาใช้ร่างกายตอบสนองเพราะทันใจกว่า ทำให้เรามักเห็นเด็กเล็กมักจะขว้าง หยิก กัด ตี ที่รวดเร็วมาก นอกจากนี้เด็กเล็กมีพัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่และเล็กที่ยังไม่สมบูรณ์ ทำให้ควบคุมยาก จริงๆ เขาแค่อยากมาจับหยิบ แต่มันกลายเป็นแรงจนกลายเป็นทำร้ายผู้อื่นหรือสิ่งอื่นๆ ได้โดยไม่ได้เจตนานั่นเองค่ะ

สิ่งที่เราควรสอนเขาในกรณีนี้นั่นก็คือ

ขั้นตอนที่ 3 : สอนลูกให้สื่อสารให้เป็น

เด็ก 0-3 ขวบ มักจะยังสื่อสารได้ไม่ดี ทำให้เขาใช้การทำร้าย การตี การปาข้าวของ เพื่อเรียกร้องความสนใจหรือพยายามทำให้คนอื่นๆ มาเล่นกับเขา วิธีการเพิ่มทักษะการสื่อสารให้ลูกง่ายๆ เช่น

ขั้นตอนที่ 4 : ไม่ปล่อยผ่าน สอนทุกครั้งเมื่อมีโอกาส

เมื่อไหร่ที่รู้ว่าลูกทำผิดกติกาที่เราตั้งไว้ อย่าปล่อยผ่าน เพราะเด็กจะเคยชินและคิดว่าทำผิดไปก็ไม่มีใครทำอะไร แล้วเขาก็จะทำผิดครั้งต่อไปเรื่อยๆ ถึงแม้การสอนสำหรับเด็กบางคนอาจจะใช้เวลาเรียนรู้นาน แต่เชื่อเถอะค่ะว่าหากเราสอนไปเรื่อยๆ ทุกครั้งเมื่อมีโอกาสเขาก็จะสามารถเรียนรู้ได้อย่างแน่นอน

ขั้นตอนที่ 5 : เพิ่มพื้นที่ให้ลูกได้ลองปล่อยพลัง

เพราะเด็กมักจะซุกซนเป็นธรรมชาติของพวกเขา เราควรมีพื้นที่ให้เขาได้เล่นซุกซนให้สมกับที่เขาเป็นเด็กด้วย อย่าห้ามซะจนเกินไป เพราะพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมอาจจะเพิ่มขึ้นได้เช่นกัน วิธีหาพื้นที่ปล่อยพลังง่ายๆ เช่น การเล่นทราย วิ่งเล่นในพื้นที่กว้างๆ พื้นที่ที่ปลอดภัยสำหรับการกระโดด เป็นต้น

ขอบคุณข้อมูลจาก : Thai PBS Kidsเมริษา ยอดมณฑป