fbpx

มาทำความรู้จักกับ  4 ระยะของฟันผุ

Writer : buubae
: 7 กันยายน 2561

เรื่องของฟันผุ เป็นสิ่งที่หลายๆ คนอาจจะละเลย มองข้าม หรือไม่ดูแลสุขภาพฟันเท่าที่ควรจึงทำให้เกิดอาการนี้ แต่รู้หรือไม่ว่าฟันผุนั่นอันตรายกว่าที่คิดถ้าเกิดไม่ได้รับการรักษา อาจจะลุกลามไปถึงการติดเชื้อในกระแสเลือดได้ด้วย เพราะฉะนั้นวันนี้เรามาทำความรู้จักกับฟันผุในแต่ละระยะ อาการ และแนวทางรักษากันดีกว่าจ้า

ฟันผุระยะที่ 1

อาการ : เห็นรอยเป็นสีขาวขุ่นบริเวณผิวฟันหรือหลุมร่องฟัน แต่ยังไม่มีอาการเจ็บ ปวด หรือ เสียวฟัน

วิธีรักษา : แปรงฟันให้สะอาด ใช้ฟลูออไรด์ทาเฉพาะจุด (ฟลูออไรด์มีหน้าที่ช่วยให้แร่ธาตุคืนกลับสู่ฟัน และยังช่วยยั้บยั้งการลุกลามของฟันผุได้ด้วย)

ฟันผุระยะที่ 2

อาการ : เริ่มมีการกัดกร่อนที่เนื้อฟัน มีสีเทาดำ เริ่มเห็นรู มีเศษอาหารติด ซึ่งการผุจะลุกลามเร็วกว่าในระยะแรกๆ เพราะชั้นเนื้อฝันนั่นแข็งแรงน้อยกว่าชั้นเนื้อฟัน และเริ่มมีอาการเสียวฟันเมื่อเจอของร้อง เย็น หรือ หวานจัด

วิธีรักษา : พบทันตแพทย์เพื่ออุดฟัน

ฟันผุระยะที่ 3

อาการ : ฟันผุทำลายถึงชั้นโพรงประสาทฟัน มีอาการอักเสบของเนื้อเยื่อภายในโพรงประสาทฟัน มีอาการปวดตลอดเวลา หรือ เป็นพักๆ มีเศษอาหารตกค้าง เริ่มมีกลิ่น

วิธีรักษา : ถ้าฟันผุทะลุถึงโพรงประสาทฟัน ไม่สามารถอุดฟันได้ ต้องรักษารากฟัน หากมีอาการติดเชื้อก็ต้องรักษาไปด้วย

ฟันผุระยะที่ 4

อาการ : เนื้อเยื่อโพรงประสาทฟันอาจจะถูกทำลายไปถึงรากฟัน จะมีอาการเจ็บๆ หายๆ เกิดฝีหนองบริเวณปลายราก มีอาการบวมหรือฝีทะลุมาที่เหงือก ฟันโยก และเชื้อโรคอาจจะลุกลามเข้าสู่กระแสเลือด และระบบน้ำเหลืองของร่างกายได้

วิธีรักษา : ถอนฟัน ซึ่งเมื่อถอนเสร็จแล้ว ควรใส่ฟันเทียมเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการฟันล้ม

ที่มาhaamor.com

Writer Profile : buubae

  • Blog :
  • Social Media :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Update
anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save