Parents One

6 เคล็ดลับ เลี้ยงลูกให้สนิทกับพ่อเเม่ สร้างครอบครัวอบอุ่นน่ารัก

คุณพ่อคุณเเม่คงอยากสนิทกับลูกๆ ของตัวเอง เพราะเวลาที่เราเห็นครอบครัวไหนดูเป็นพ่อเเม่ลูกใกล้ชิดสนิทสนมกันก็รู้สึกว่าน่ารักดี เราเลยมีคำเเนะนำเล็กๆ น้อยๆ มาฝากกันค่ะ

ทำกิจกรรมด้วยกันบ่อยๆ

หมั่นหาอะไรทำด้วยกันตามประสาพ่อเเม่ลูก อาจจะเป็นการเล่นบอร์ดเกม ทำอาหาร ดูหนังร่วมกันในครอบครัว เพราะกิจกรรมจะทำให้ได้ใช้เวลาร่วมกัน มีบางครอบครัวที่ถึงกับกำหนดกิจกรรมในทุกอาทิตย์ว่าจะทำอะไรกันดี ไม่ใช่เเค่กินข้าวด้วยกัน เเต่ให้ลองโหวตกันดูว่าสัปดาห์นี้อยากทำอะไร ไปเที่ยวที่ไหน นอกจากได้ใช้เวลาด้วยกันเเล้วลูกๆ ก็ยังได้สนุกกับการช่วยเลือกด้วย

เล่าสู่กันฟัง

อีกวิธีที่ทำให้ครอบครัวมีความสัมพันเเน่นแฟ้นกัน คือไม่ว่าจะมีอะไรก็เล่าให้ฟังกันได้ เจอเหตุการณ์อะไรมาจากที่ทำงาน ที่โรงเรียน ตกเย็นก็ลองมานั่งคุยกัน บางทีเราอาจได้มุมมองแปลกๆ จากลูกก็ได้ อย่าคิดว่าเรื่องของเด็กก็คือเรื่องของเด็ก เเละเรื่องของผู้ใหญ่ก็คือเรื่องของผู้ใหญ่เท่านั้น

แสดงความรัก

เรารู้ว่าคุณพ่อคุณเเม่ทุกคนรักลูก เเต่การเเสดงออกถึงความรักจะยิ่งทำให้เด็กๆ มั่นใจว่าตัวเขาเองเป็นที่รัก เเละถูกรักจากครอบครัว อย่างการบอกรักกันทุกวันก็ไม่ใช่เรื่องแปลกเเละดูเสียเปล่า(อย่าอายนะคะที่จะบอกรักลูก) หรือการสัมผัสด้วยการกอดก็เป็นอีกหนึ่งการเเสดงความรักที่ดีมากๆ จงยืนยันความรักของคุณที่มีต่อลูกให้เขาเห็นแบบสม่ำเสมอ มันจะกลายเป็นความผูกพันกันระหว่างพ่อเเม่กับลูก

เป็นที่ปรึกษาที่ดี

เด็กๆ ต้องการคนรับฟัง พวกเขาจะรู้สึกสบายใจไม่ว่าจะเจอเหตุการณ์อะไรมา ถ้าเล่าให้คุณพ่อคุณเเม่ฟังได้ อย่างน้อยมันจะเกิดเป็นความรู้สึกมั่นคงทางจิตใจว่าฉันสามารถเชื่อใจคนๆ นี้ได้นะ ซึ่งเมื่อลูกเล่าอะไรให้ฟังก็ไม่ควรไปตัดสินว่าดีหรือไม่ดี เเต่ให้รับฟัง ทำความเข้าใจ เเละค่อยๆ เเนะนำเด็กๆ ไปทีละนิด

หาความรู้

คุณพ่อคุณเเม่ควรหมั่นอัปเดตตัวเองอยู่เสมอ เวลาลูกๆ มาถามหรือขอคำปรึกษาจะได้ให้ถูก อยากแนะนำให้ลองอ่านหนังสือจิตวิทยาเยอะๆ จะได้เข้าใจเด็กๆ มากขึ้น เพราะความรู้เหล่านี้เอาไปประยุกต์ใช้ได้จริงๆ เราจะเข้าใจพฤติกรรมที่เเสดงออกในเเต่ละช่วงวัยของเด็ก หรือถ้าลูกเเสดงอารมณ์โกรธ เกรี้ยวกราด เราก็จะเข้าใจเเละพูดคุยกับลูกได้อย่างถูกวิธี นอกจากนั้นถ้าเด็กรู้สึกว่า “พ่อเเม่ฉันช่างเก่งจริงๆ ไม่ว่ามีปัญหาอะไรก็ปรึกษาได้หมด” หรือถ้าไม่รู้จริงๆ ก็ยังพยายามหาทางช่วยเหลือ หาคนที่เชี่ยวชาญมาให้ลูกคุยได้ ลุกจะยิ่งรู้สึกสนิทใจกับเรามากขึ้น

เข้าอกเข้าใจ

ต้องเข้าใจว่าในบางสถานการณ์คุณพ่อคุณเเม่อาจคิดไม่ตรงกับลูกบ้าง เพราะช่วงวัยที่แตกต่างกัน เเต่การเป็นครอบครัวเดียวกัน ไม่ได้หมายความว่าต้องมีไลฟ์สไตล์แบบเดียวกันเสมอไป อย่าลืมนะคะว่าลูกไม่ใช่ตัวเราในเวอร์ชั่นที่เด็กกว่า อยากให้ยอมรับในตัวตนที่เขาเป็น เเละเข้าใจว่าทุกคนมีความเเตdต่างกัน เเต่เราก็ยังเป็นครอบครัวเดียวกันอยู่ดีค่ะ

ลองเอาไปใช้กับเด็กๆ ดูนะคะ อยากให้คุณพ่อคุณเเม่อยู่ใกล้ชิดกับลูกเยอะๆ ในตอนที่เขาเป็นเด็ก เพราะเด็กๆ โตเร็วมาก เเต่ละช่วงวัยก็จะค่อยข้างเเตกต่างกัน เพราะถ้าเวลาผ่านไปเเล้วอาจเสียดายที่ย้อนกลับมาในช่วงเวลานั้นไม่ได้ค่ะ 😀