fbpx

AMBER Alert ระบบแจ้งเตือนเด็กถูกลักพาตัวที่ไม่ควรมองข้าม!

Writer : Phitchakon
: 1 กันยายน 2565

สำหรับเด็กที่สูญหาย เวลาทุกนาทีมีค่า

ทุกครั้งที่เข็มนาฬิกาขยับ นั่นอาจหมายถึงชีวิตที่อยู่ใกล้อันตรายเข้าไปทุกที

ตั้งแต่วันที่ 25 สิงหาคม 2565 เป็นต้นไป หากเห็นข้อมูลของเด็กสูญหายปรากฏขึ้นบนหน้าฟีด Facebook และ Instagram โปรดสละเวลาสักนิด เงยหน้าขึ้นมองซ้ายมองขวาตามหาเด็กน้อยคนนั้น เพราะข้อมูลที่ท่านเพิ่งได้อ่าน คือ AMBER Alert ระบบแจ้งเตือนเด็กถูกลักพาตัว ฟีเจอร์ใหม่ที่เพิ่งเปิดใช้งานในประเทศไทยเพื่อให้ความช่วยเหลือเด็กๆ ที่กำลังถูกลักพาตัว !

เหตุการณ์ไม่คาดฝันอาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อโดยที่เราไม่ทันตั้งตัว Parents One ขอเชิญทุกท่านมาทำความรู้จัก AMBER Alert ระบบแจ้งเตือนที่ช่วยเหลือเด็กทั่วโลกมาแล้วกว่า 1,114 ชีวิตนับตั้งแต่เปิดใช้งาน มาใช้สื่อโซเชียลในมือให้เป็นประโยชน์ ร่วมเป็นพลังเล็กๆ แสนยิ่งใหญ่ นำพาเด็กๆ ที่พลัดพรากกลับสู่อ้อมกอดอบอุ่นของครอบครัวอย่างปลอดภัยกันค่ะ

รู้จัก AMBER Alert

AMBER Alert คือ ระบบแจ้งเตือนเมื่อเกิดเหตุการณ์เด็กถูกลักพาตัว โดยบริษัท Meta ได้นำระบบนี้มาใช้บนโซเชียลมีเดียอย่าง Facebook และ Instagram ขึ้นเป็นข้อความและรูปภาพของเด็กที่สูญหายบนหน้าฟีดของผู้ใช้ 

ซึ่งชื่อของระบบแจ้งเตือนนี้มากจากเรื่องราวแสนเศร้าที่เกิดขึ้นในปี 1996 ที่รัฐเท็กซัส Amber Hagerman เด็กน้อยชาวอเมริกาวัย 9 ขวบ ถูกลักพาตัวระหว่างที่กำลังปั่นจักรยานเล่นกับน้องชาย หลังจากนั้นก็พบร่างเธอเสียชีวิตห่างจากจุดที่ถูกลักพาตัวไม่เกิน 10 กิโลเมตร และจวบจนวันนี้ก็ยังไม่สามารถจับตัวคนร้ายได้

ภายหลังมีคุณแม่คนหนึ่งในรัฐเท็กซัสชื่อ Diane Simone ตั้งข้อสงสัยว่า ทำไมเด็กหญิงคนหนึ่งจึงถูกลักพาตัวขึ้นรถกลางวันแสกๆ ได้โดยไม่มีมีผู้ใดเห็นเหตุการณ์ เธอจึงโทรไปยังสถานีวิทยุท้องถิ่นและเสนอการสร้างระบบแจ้งเตือนเด็กหายขึ้นมา จนกระทั่งกลายเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนา AMBER Alert ซึ่งประเทศไทยเป็นประเทศที่ 6 ของเอเชีย และประเทศที่ 27 ของโลกที่มีการเปิดใช้ระบบ AMBER Alert 

เมื่อเด็กหายต้องทำอย่างไร?

  1. เดินทางไปแจ้งความที่สถานีตำรวจในพื้นที่ที่เด็กสูญหาย 
  2. แจ้งไปยัง INBOX ของเพจตำรวจสอบสวนกลาง CIB หรือสายด่วน 1195  ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่สอบสวนเบื้องต้นตามเกณฑ์ที่กำหนด เพื่อพิจารณาว่าเด็กเข้าข่ายถูกลักพาตัวหรือไม่ และควรกระจายข่าวสารผ่านระบบ AMBER Alert หรือเปล่า

หลักเกณฑ์การเปิดใช้งาน

AMBER Alert จะสงวนไว้ในกรณีที่ร้ายแรงมากเท่านั้น โดยเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญจะทำการพิจารณาตามหลักเกณฑ์ ดังนี้ 

  • เด็กมีอายุไม่เกิน 18 ปี 
  • มีการแจ้งความเรียบร้อย
  • ผู้บังคับใช้กฎหมายเชื่อว่าเด็กอาจถูกลักพาตัว หรือกำลังตกอยู่ในอันตราย  
  • มีข้อมูลเพียงพอ  เช่น เสื้อผ้า ภาพถ่าย ยานพาหนะ จุดที่พบเห็นเด็กล่าสุด  

ข้อความแจ้งเตือน

หากพบว่าเข้าเกณฑ์ และมีการพิจารณาร่วมกับผู้ปกครองแล้วว่าควรกระจายข่าวสารเร่งด่วน เจ้าหน้าที่จะประสานไปยัง Meta เพื่อเปิดระบบ AMBER Alert ข้อมูลของเด็กจะขึ้นบน ฟีดของผู้ใช้งาน Facebook และ Instagram ในรัศมี 160 กิโลเมตรจากจุดที่เด็กสูญหายเป็นเวลา 24 ชั่วโมง และนำข้อมูลขึ้นบนหน้าเว็บไซต์ thaiamber.org

  • ชื่อเด็กที่สูญหาย  
  • อายุของเด็ก  
  • สถานที่ที่พบเห็นเป็นครั้งสุดท้าย
  • ชุดที่เด็กสวมใส่  
  • ข้อมูลเด็กที่อยู่ร่วมกับผู้ใหญ่ครั้งสุดท้าย  
  • ข้อมูลยานพาหนะที่น่าจะนำตัวเด็กไป 

เมื่อพบตัวเด็ก ข้อมูลจะถูกลบออกจากระบบทันที  

หากไม่เข้าเกณฑ์การเปิดใช้งาน…

ในกรณีที่ไม่เข้าเกณฑ์การเปิดใช้งาน หรือพิจารณาแล้วว่าการเปิดใช้งานระบบ AMBER Alert อาจมีความเสี่ยง และเป็นอันตรายกับเด็กมากกว่า เจ้าหน้าที่จะประสานงานไปยังส่วนอื่นๆ ต่อไป เช่น  

  • ประสานเร่งรัดคดี  
  • ประกาศข้อมูลตามเพจหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  
  • ประสานกับเพจพันธมิตรต่างๆ 
  • ประสานงานกับเจ้าหน้าที่จากกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และกรมสุขภาพจิต เข้าเยียวยาสภาพจิตใจผู้ปกครอง  

การทำงานของระบบ AMBER Alert จะสมบูรณ์ ก็ต่อเมื่อได้รับความร่วมมือจากผู้ใช้งานโซเชียลมีเดียทุกท่าน เมื่อพบเห็นข้อมูลของเด็กที่สูญหายไม่ควรเพิกเฉยหรือเลื่อนผ่านไป ควรช่วยกันเป็นหูเป็นตา สอดส่ายสายตามองหา เพราะไม่แน่ว่าบางที เด็กๆ ที่กำลังรอคอยความช่วยเหลืออาจอยู่ใกล้ตัวเรามากกว่าที่คิด  

และถ้าพบเห็นเด็กหรือมีข้อมูลสำคัญ ควรติดต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจให้รวดเร็วที่สุด ผ่านสายด่วน 1195 หรือแจ้งเบาะแสผ่านเว็บไซต์  thaiamber.org มาร่วมด้วยช่วยกันเพื่อความปลอดภัยของลูกๆ หลานๆ ในสังคมนะคะ!

ที่มา :

Writer Profile : Phitchakon

  • Blog :
  • Social Media :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



Update
Banner Banner
Live Action เรื่องล่าสุดจาก Disney ที่หลายๆคนรอคอยไม่ว่าจะเป็นคุณพ่อคุณแม่ที่เคยรับชมการ์ตูนในวัยหวานหรือแม้แต่คุณน้องคุณหนูที่หลงรักโลกใต้ท้องทะเลก็ตาม ใช่แล้วล่ะค่ะ เรากำลังพูดถึง “The Little Mermaid” หรือ “เงือกน้อยผจญภัย” ที่หยิบยกกลับมาทำใหม่ในเวอร์ชันคนแสดงในปีนี้ โดยมีนักร้องสาว “ฮัลลี เบลลีย์” รับบทนางเงือกน้อย “แอเรียล” พร้อมเป็นตัวแทนส่งเสียงบอกกับเด็กหญิงชายทั่วโลกว่า “ใครก็เป็นเจ้าหญิงได้”  หยิบกลับมาทำใหม่ ตีความใหม่ในรูปแบบที่ไม่เคยมีมาก่อนแบบนี้ ใครๆ ก็ต้องตื่นเต้นอยู่แล้ว ซึ่งเรื่องราวจะเป็นอย่างไร มีจุดเด่นจุดด้อย ข้อดีข้อเสียอย่างไร เหมาะสำหรับเด็กๆ หรือไม่ ลองไปดูกันเลย! เรื่องราวของนางเงือกน้อยแสนซน “แอเรียล” ธิดาคนสุดท้องของราชาไตรตันเจ้าแห่งโลกใต้สมุทรเธอมีความหลงใหลในโลกมนุษย์และใฝ่ฝันว่าอยากจะเดินเหินอย่างผู้คนบนดินแม้พ่อจะพยายามกีดกันเธอเท่าไรก็ตาม วันหนึ่งเธอบังเอิญได้พบกับ “เจ้าชายอีริค” และตกหลุมรักเขาเข้าอย่างจัง เธอจึงได้ทำข้อตกลงกับแม่มดทะเล “เออซูลาร์” เพื่อแลกเสียงอันไพเราะกับขาอย่างมนุษย์โดยมีข้อแม้ว่าเธอจะต้องได้รับจุมพิตจากเจ้าชายไม่เช่นนั้นเธอจะกลับมาเป็นเงือกและกลายเป็นทาสของเออซูลาร์ตลอดไปการออกเดินทางทำตามเสียงเรียกร้องของหัวใจเพื่อใช้ชีวิตอย่างที่ฝันจึงได้เริ่มต้นขึ้น เติมเต็มหัวใจที่ยังเปี่ยมไปด้วยความทรงจำของวัยเยาว์ ส่งต่อความกล้าหาญให้หนูน้อยเชื่อมั่นในตัวเอง และสิ่งที่ฝัน จูงมือลูกรักไปดู “The Little Mermaid” ได้แล้ววันนี้ ในโรงภาพยนตร์! ชมตัวอย่าง : https://www.youtube.com/watch?v=AS0vop2rgFo การ์ตูนเรื่องนี้เหมาะกับเด็กอายุ 8 ขวบขึ้นไป แม้จะมีเค้าโครงเรื่องหลักๆ มาจากการ์ตูนเงือกน้อยแอเรียลแบบต้นฉบับทั้งหมด แต่พอมาอยู่ในโลกแห่งความเป็นจริงก็ทวีคูณความจริงจังให้มากยิ่งขึ้นไปกว่าเดิม นอกจากนี้ยังมีการเพิ่มเติมพื้นเพตัวละคร เสริมเนื้อเรื่องเพิ่มประเด็นให้มีความซับซ้อนยิ่งกว่าเดิม จึงบอกได้ว่าเป็นเวอร์ชันที่ไม่ค่อยเหมาะกับเด็กเล็กๆ เท่าไร ถึงอย่างนั้นเด็กๆก็ยังสามารถสนุกสนานกับกลิ่นอายของเทพนิยายชวนฝันเพลิดเพลินกับภาพบรรยากาศโลกใต้ท้องทะเลที่สวยงามสุดแสนจะแฟนตาซี รับประกันว่ากระตุ้นจินตนาการเรียกความตื่นตาตื่นใจจากเจ้าตัวน้อยแน่นอน เรื่องที่ต้องระวัง มีความรุนแรงและฉากน่ากลัว อย่างที่บอกไปว่า Live Action เวอร์ชันนี้ มีความดาร์ก ความสมจริงเพิ่มเข้ามา เรื่องความรุนแรงต่างๆ ฉากต่อสู้ ฉากปะทะ หรือหน้าตาของเหล่าสัตว์ร้ายใต้ทะเล อาจทำให้เด็กๆ ไม่สบายใจ หรือตื่นกลัวได้ แถมยังมีจังหวะตกใจ (Jump…
25 พฤษภาคม 2566

anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save