Parents One

จะรู้ได้ยังไง ว่าลูกเป็น “สมาธิสั้น”

โรคสมาธิสั้น (Attention Deficit Hyperactivity Disorder) คือกลุ่มอาการผิดปกติทางพฤติกรรมและอารมณ์ โดยความซนของเด็กนั้นบางครั้งคุณพ่อคุณแม่อาจจะมองเห็นเป็นเรื่องธรรมดา เพราะยังไงเด็กทุกคนก็ต้องซนมากเป็นปกติอยู่แล้ว ไม่ค่อยมีสมาธิซะส่วนใหญ่แต่ถ้าเด็กๆ เป็น “โรคสมาธิสั้น” ก็มีผลเสียต่อผลกระทบกับคนรอบข้างและเรื่องการเรียนได้เช่นกัน

วันนี้ทาง Parents One จึงได้นำความรู้เกี่ยวกับ “โรคสมาธิสั้น” มาให้คุณพ่อคุณแม่ได้ศึกษากันเผื่อว่าจะเป็นประโยชน์กับคุณพ่อคุณแม่ท่านไหนที่กังวลอยู่นั้นเอง ไปดูกันเลยค่ะ

โรคสมาธิสั้นเกิดจากอะไร

ความผิดปกติของสมองซึ่งมีผลกระทบต่อพฤติกรรม อารมณ์ การเรียน และการเข้าสังคมของเด็กๆ ซึ่งกลุ่มอาการผิดปกตินี้ จะเริ่มมีอาการตั้งแต่ช่วงอายุ 3-6 ปี  อาการจะแสดงออกอย่างชัดเจนและสามารถวินิจฉัยได้ในช่วงอายุ 6-12 ปีนั้นเองค่ะ

 

เด็กมีสมาธิได้นานแค่ไหนบ้าง

บอกไว้ก่อนเลยนะคะว่า เด็กๆ โดยปกติในแต่ละวัยจะสมาธิไม่เท่ากันอยู่แล้วค่ะ ซึ่งเด็กเล็กจะมีสมาธิสั้นกว่าเด็กโตนั้นเอง

สาเหตุของโรค

 

อาการของโรคประกอบด้วย

 

 

 

การรักษา

เป็นมาตรฐานในการรักษา สำหรับการใช้ยาที่มีความปลอดภัย และมีผลข้างเคียงน้อย สามารถช่วยให้เด็กมีสมาธิดีขึ้น สงบขึ้นและควบคุมตัวเองได้ดีขึ้น ส่งผลให้เด็กๆ มีสมาธิในการเรียนและการเรียนที่ดีขึ้นนั้นเองค่ะ

โดยคุณพ่อคุณแม่อาจจะจัดกิจวัตรประจำวันของลูก ให้เป็นเวลาโดยให้เขาทำอย่างสม่ำเสมอ และควรฝึกให้เขามีสมาธิจดจ่อกับสิ่งที่กำลังทำ ให้นานประมาณ 20-30 นาที โดยไม่ลุกเดินไปไหน โดยที่มีคุณพ่อคุณแม่ควบคุมอย่างใกล้ชิดนะคะ คอยให้กำลังใจและช่วยเหลือเด็กๆ ให้ทำสำเร็จค่ะ พอเขาทำได้แล้ว อาจจะให้รางวัลเล็กๆ น้อยๆ กับเขา กอดเขาให้กำลังใจกับลูกๆ และไม่ควรดุด่า เปรียบเทียบ เมื่อเขาทำไม่ได้ คุณพ่อคุณแม่ต้องมีความอดทนก่อนนะคะ

การสร้างสิ่งแวดล้อมหรือบรรยากาศ ควรสร้างทั้งที่บ้านและที่โรงเรียนโดยสิ่งแวดล้อมต่างๆ ต้องไม่กระตุ้นเด็กๆ จนมากเกินไป ควรจัดเก็บของต่างๆ ให้เข้าที่เพื่อไม่ให้รบกวนสายตาของเด็ก มีมุมสงบให้เด็กๆ เวลาทำการบ้าน และไม่ควรมีสิ่งมารบกวนในห้องเช่นทีวี หรือมือถือให้เด็กได้วอกแวกไปสนใจสิ่งอื่นค่ะ

ลองให้เขาได้ลองสิ่งที่ๆ ที่หลากหลาย เช่น ดนตรี กีฬา ศิลปะ หรือด้านการแสดงออก ให้เด็กๆ ได้มีโอกาสได้แสดงออกในสิ่งที่ดีๆ เช่น มีน้ำใจช่วยเหลือผู้อื่น ช่วยคุณครูแจกสมุด ลบกระดานบ้าง หรืองานที่ได้รับมอบหมายพิเศษอื่นๆ ก็ได้นะคะ เพื่อถ้าเด็กๆ ชอบเขาก็ได้มีสมาธิกับสิ่งๆ นั้น เป็นการฝึกสมาธิให้เด็กๆ อีกทางด้วยค่ะ

โรคสมาธิสั้นจำเป็นต้องทำการรักษา หากปล่อยไว้อาจจะส่งผลเสียต่อความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว การอยู่ร่วมกับคนอื่นที่โรงเรียนและด้านการเรียนของเด็กๆ อีกด้วย และยิ่งไปกว่านั้น ถ้าโตขึ้น ความซับซ้อนของอารมณ์ก็จะมากขึ้นไปด้วยค่ะ และก็จะกลายเป็นปมด้อยของเด็กๆ ในอนาคตต่อไปเลยนะคะ โดทยทางคุณหมอก็จะมีการสื่อสารและประสานงานกับคุณพ่อคุณแม่และคุณครูที่โรงเรียนอย่างใกล้ชิด หรือบางครั้งที่เป็นมาก หรือมีโรคร่วมด้วยก็ต้องมีการใช้ยาในการรักษาด้วยนั้นเองค่ะ

 

สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ช่วยได้

โดยหลีกเลี่ยงให้ลูกอายุต่ำกว่า 2 ขวบดูโทรทัศน์ เล่นคอมพิวเตอร์ หรือเล่นเกมเลยค่ะ แต่ถ้าเด็กๆ อายุได้มากกว่า 2 ขวบ ก็สามารถให้เล่นได้แต่ต้องไม่เกิน 1-2  ชั่วโมงนะคะ

โดยให้คุณพ่อคุณแม่สร้างกิจวัตรประจำวันอย่างเป็นเวลา ให้เด็กๆ รู้ว่าควรทำอะไรตอนไหน เผื่อเป็นการฝึกให้เขาได้รู้จักควบคุมตัวเอง ให้ทำสิ่งนั้นสิ่งนีอย่างจดจ่อ ให้เกิดสมาธินั้นเองค่ะ

โดยคุณพ่อคุณแม่ควรจะเข้าใจและนำข้อดีของโรคให้เป็นประโยชน์ เช่น เด็กๆ ไม่ชอบอยู่นิ่ง ชอบทำกิจกรรมต่างๆ คุณพ่อคุณแม่ก็พาเขาออกนอกบ้านไปเล่นกีฬาบ่อยๆ ช่วยให้เขาได้จับนั้นจับนี่ช่วยทำโน้นนี่บ่อยๆ ได้นะคะ

ที่มา : พญ.สุพาพรรณวดี ฟู่เจริญ แพทย์โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์, honestdocs