fbpx

NEWS: ติดโซเชียลถูกบรรจุเป็นโรคทางจิตเวช เสนอเพิ่มหลักสูตรให้เด็กมีภูมิคุ้มกัน

Writer : Lalimay
: 28 สิงหาคม 2561

การติดโซเชียลมีเดียส่งผลเสียมากกว่าที่คิด ไม่ว่าจะเป็นการวิตกกังวลง่าย ภาวะอารมณ์แปรปรวนหรือเกิดภาวะซึมเศร้า ซึ่งส่งผลเสียต่อทุกช่วงวัยในแง่ที่แตกต่างกัน ปัจจุบันการติดโซเชียลได้รับการบรรจุให้เป็นโรคทางจิตเวชแล้ว ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันปัญหาแต่เนิ่นๆ จึงต้องเริ่มต้นที่เด็ก โดยเสนอให้เพิ่มการศึกษาพื้นฐาน ให้เด็กมีภูมิคุ้มกันในเรื่องนี้มากขึ้น

นาวาอากาศตรีนายแพทย์บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าาว่า ปัจจุบันในไทยมีผู้ใช้งานเฟซบุ๊กกว่า 10 ล้านคน จากสถิติการใช้งานในทุกๆ 20 นาที จะมีการอัปโหลดรูปถ่ายมากกว่า 3.7 ล้านรูป แชร์ ลิงก์ และอัปเดตสเตตัส มากกว่าล้านข้อความ 

แนวโน้มสำคัญที่คนส่วนใหญ่ติดโซเชียลมาจากการไม่อยากอยู่อย่างโดดเดี่ยว, ต้องการการมีตัวตนมากกว่าที่เป็นอยู่, มีความอยากรู้อยากเห็นเรื่องคนอื่น พอๆ กับต้องการให้คนอื่นรู้เรื่องของตน และการโหยหาแรงสนับสนุนและการยอมรับจากสังคม

สำหรับผลกระทบการการติดโซเชียลมีรายงานการศึกษาดังนี้ 29.5% เสพติดอาหารและช้อปปิ้ง 27.7% ทำให้มีปัญหาภาวะซึมเศร้า และ 21.1% ทำให้เกิดอาการวิตกกังวล และภาวะอารมณ์แปรปรวน นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดผลกระทบต่อตัวเองและสังคมในแต่ละช่วงวัยที่แตกต่างกันด้วย เช่น

>> กลุ่มวัยก่อนเรียน : พบปัญหาสมาธิสั้น สูญเสียทักษะสังคม และการเสียการเรียนรู้จากประสบการณ์ และการลงมือทำ 

>> กลุ่มวัยเรียน : ก่อให้เกิดปัญหาด้านความรุนแรง อ้วน,สายตาเสีย, เสียวินัย, และผลการเรียนลดลง 

>> กลุ่มวัยรุ่น : ทำให้เกิดค่านิยมการบริโภคติดอินเทอร์เน็ต การรังแกกันทางโซเชียล, การล่อลวงค่านิยม และพฤติกรรมทางเพศผิดปกติ เป็นต้น 

ดังนั้นเพื่อเป็นการหาทางออกในเรื่องนี้อย่างจริงจัง นักวิชาการจึงได้ปรึกษาหารือกันในเวทีการประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติที่ผ่านมา ผลมีการเสนอให้เพิ่มหลักสูตรการศึกษาพื้นฐาน ให้เด็กรุ่นใหม่มีภูมิคุ้มกันในการใช้การใช้งานอินเตอร์เน็ต เพื่อให้เด็กรู้เท่าทัน ตระหนักถึงผลเสียจากการใช้โซเชียลที่ไม่ถูกต้อง รวมทั้งเรียนรู้วิธีการใช้อย่างเหมาะสม

นพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ ที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต ได้แนะนำวิธีการควบคุมการใช้งานอินเทอร์เน็ตในครอบครัวด้วยหลัก 3 ต้อง 3 ไม่ คือ ต้องกำหนดเวลา, ต้องกำหนดรายการ ต้องเล่นกับลูก และไม่ใช้อินเทอร์เน็ตในห้องนอน, ไม่ใช้เวลาของครอบครัว และพ่อแม่ต้องไม่เป็นแบบอย่างที่ผิด 

อีกทั้งยังให้คำแนะนำในการใช้อินเทอร์เน็ต คือ ต้องเล่นอินเทอร์เน็ตแบบรู้เป้าหมาย อย่าใช้ความรู้สึก เช่น เล่นเพราะเบื่อ เหงาหรือเล่นไปเรื่อยๆ ควรควบคุมเวลาใช้งาน ใช้วิจารณญาณกับเนื้อหาและใช้เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์กับชีวิต

อ้างอิงจาก

Writer Profile : Lalimay

  • Blog :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



Update
ไลฟ์สไตล์ ไลฟ์สไตล์
เคยกลับบ้านมาแล้วกรี๊ดลั่นบ้านเพราะเจ้าตัวแสบไปวิ่งเล่นเลอะเทอะกันไหมคะ ? หรือแต่งตัวลูกอย่างดีไปทานข้าวนอกบ้าน แต่คุณลูกก็ทำซอสหกใส่ ไอติมหล่นไปเป็นก้อน เละทั้งตัว วันนี้ ParentsOne มีเสื้อเด็กที่เจ๋งมากๆ จาก GQ : the good day lab™ มาลองรีวิวให้ได้ชมกันค่ะ 🛒 ช้อปเลยที่ -> https://gqsize.link/bZT7Sx แกะกล่อง GQ : the good day lab™ เสื้อเด็ก ฟีเจอร์เพียบ คุณภาพ GQ ขึ้นชื่อว่า GQ ก็มั่นใจได้เรื่องคุณภาพค่ะ ผ้านุ่ม เบาบาง เหมาะกับอากาศเมืองไทย ใส่วิ่งสบายๆ ที่แปลกตาคือเป็นเสื้อที่ไม่มีป้ายแท็กค่ะ ทั้งด้านหลังคอเสื้อ หรือข้างใน ไม่ต้องห่วงว่าจะเคืองหรือคันเลย กระดุมแข็งแรงเอามากๆ ใช้แรงผู้ใหญ่ดึงแรงๆ ก็ไม่มีปัญหาเลย ไฮไลท์สำคัญที่คุณแม่แทบกรี๊ด คือเป็นไม่เปื้อนค่าาาา เทน้ำ เทนมใส่เสื้อ ไม่เปียกเลย สะบัดสองที หายปกติ ซึ่งถ้าใครเคยเห็นโฆษณา GQ ที่เสื้อเชิ้ตขาวไปทำงานคุณพ่อ โดนกาแฟหกใส่ แต่ผ้าไม่เปื้อนเลย เทคโนโลยีผ้าสะท้อนน้ำ ตอนนี้มาอยู่ในเสื้อเด็กแล้ววววว ทีมงานทดสอบเทน้ำสีผสมอาหาร นม หรือแม้แต่ซอสมะเขือเทศลงบนเสื้อ ก็ไม่เปื้อนค่ะ ไม่น่าเชื่อมากๆ ข้อดีที่สุดของผ้าแบบนี้ คือทำให้ชีวิตคุณแม่สบายขึ้นมาก พาลูกไปเที่ยว วิ่งเล่นสนามหญ้า พาไปทานก๋วยเตี๋ยว หรือให้ทานอะไร ก็ไม่ต้องกลัวเสื้อสวยๆ เลอะ แถมประหยัดเวลาซักผ้าด้วย ไม่ต้องมาคอยแช่ผ้าให้คราบมันออกแบบสมัยก่อน สำหรับเสื้อเด็ก the good day lab™…
8 ธันวาคม 2566

anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save