Parents One

7 วิธี ช่วยให้ลูกหงุดหงิดน้อยลงและรู้เท่าทันอารมณ์ของตัวเอง

เคยไหมที่เวลาลูกร้องไห้ หงุดหงิด ไม่มีเหตุผล เราที่เป็นแม่ก็พลอยจะหงุดหงิดตามไปด้วยเพราะก็ไม่รู้จะทำให้ลูกหงุดหงิดน้อยลงยังไง หลังจากที่ตุ๊กไปเรียนกับอาจารย์เกียรติยง ประวีณวรกุล ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการเด็ก ตุ๊กก็ได้ค้นพบว่าการพูดสะท้อนอารมณ์ลูกนั้นสำคัญมากเพราะสามารถช่วยให้เราเข้าใจลูกมากขึ้นและยังทำให้ลูกหงุดหงิดน้อยลงด้วยค่ะ วันนี้ตุ๊กเลยอยากจะขออธิบายเรื่องวิธีการพูดสะท้อนอารมณ์ของลูกและวิธีที่ช่วยให้ลูกหงุดหงิดน้อยลงค่ะ

ให้เราเดินไปหาลูกและนั่งในระดับสายตาของเขา


ให้สบตาเขา พร้อมพูดเพื่อช่วยให้ลูกเข้าใจและบอกอารมณ์ของตัวเองได้ เช่น ตอนนี้ลูกกำลังรู้สึกโกรธอยู่ และบอกให้เขาเข้าใจว่าความรู้สึกโกรธเป็นเรื่องธรรมชาติ เดี๋ยวสักพักลูกจะรู้สึกดีขึ้นเอง

ให้เราเพิ่มคำศัพท์ต่างๆ เข้าไป ว่าอารมณ์แบบนี้คืออะไร เรียกว่าอะไร และเมื่อลูกรับรู้ได้ถึงอารมณ์ของตัวเองที่เกิดขึ้น ลูกจะสามารถจดจำได้ว่าความรู้สึกที่รู้สึกอยู่นั้นคือความโกรธนะ และในครั้งต่อไปที่เขารู้สึกโกรธ เขาจะสามารถบอกเราได้ว่าเขารู้สึกโกรธ และจะเป็นการง่ายขึ้นสำหรับเราในการช่วยให้ลูกรู้เท่าทันอารมณ์ของตัวเอง


เมื่อเราเข้าใจในมุมของลูกแล้ว ให้เราพูดกับลูกไปตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ขณะนั้น ยกตัวอย่างเช่น ลูกกำลังรู้สึกโกรธที่น้องมาแย่งของเล่นของหนูไปใช่ไหม แม่เข้าใจเพราะนั่นคือของๆ หนู เป็นแม่ก็คงรู้สึกไม่พอใจเหมือนกัน ในส่วนนี้นั้นคือการพูดสะท้อนอารมณ์ของลูก

แต่แม่เข้าใจเขา เราสามารถช่วยลูกเพิ่มได้โดยหาวิธีที่ทำให้อารมณ์โกรธของลูกนั้นเบาบางลง เช่น การให้ลูกออกจากสถานการณ์นั้นๆ นับ 1-10 หรือหาสิ่งอื่นทำ


เราสามารถช่วยลูกต่อไปได้โดยหาสาเหตุที่ทำให้ลูกรู้สึกโกรธ โดยพูดคุยว่าลูกโกรธเพราะอะไร ไหนเล่าให้แม่ฟังหน่อยได้ไหม และตั้งใจฟังสิ่งที่ลูกพูด เพื่อให้ลูกได้มีโอกาสปลดปล่อยและระบายความรู้สึกนั้นออกมา


เราควรจับมือลูกให้หยุดตีและบอกกับลูกอย่างชัดเจนว่า ลูกรู้สึกโกรธได้เป็นเรื่องปกติไม่ผิด แต่การที่ลูกไปตีคนอื่นนั้นเป็นสิ่งที่ผิด ไม่ควรทำ

เมื่อลูกสามารถบอกได้บ้างว่าเขารู้สึกยังไง อารมณ์หงุดหงิดหรือโกรธก็จะแสดงออกมาน้อยลง แต่ก่อนที่เราจะสามารถพูดสะท้อนอารมณ์ของลูกได้ หรือพูดเพื่อให้ลูกเข้าใจในความรู้สึกของตัวเองได้นั้น จะต้องอาศัยการควบคุมอารมณ์ของคนเป็นพ่อและแม่ให้ได้ก่อน เราไม่ควรติ ตัดสิน หรือใช้อารมณ์ในการช่วยลูก เพื่อที่เราจะได้ช่วยลูกได้อย่างแท้จริงค่ะ