fbpx

เทคนิคการเล่นนิทาน พิชิตใจลูกน้อย

Writer : Jicko
: 1 เมษายน 2562

การเล่านิทานถือว่าเป็นกิจกรรมที่คุณพ่อคุณแม่มักจะทำกับลูกยามว่าง โดยเฉพาะก่อนนอน ถือว่าเป็นกิจกรรมที่มีประโยชน์ต่อตัวเด็กเองแถมยังเป็นการใช้เวลาด้วยกันกับครอบครัว อีกทั้งยังสร้างความทรงจำดีๆ กับตัวเด็กๆ ในวัยยังซน และตัวคุณพ่อคุณแม่เองก็ผ่านการฟังนิทานตอนเด็กๆ กันมาอยู่แล้ว และสิ่งสำคัญที่ทำให้นิทานที่ฟังดูสนุก และทำให้เด็กๆ ชอบก็มีอยู่มากมายหลายวิธี จะมีเทคนิคอะไรบ้าง ตามมาดูกันเลยค่ะ

วิธีเพิ่มความสนุกให้กับนิทาน

  • เล่าอย่างมีลีลา : นั้นก็คือการใช้น้ำเสียงสูงๆ ต่ำๆ ที่ฟังแล้วให้เด็กๆ ได้มีอารมณ์เข้าร่วมกับตัวละครนั้นๆ ทำให้นิทานดูมีชีวิตชีวามากขึ้นยังไงละคะ
  • ให้ลูกคุ้นเคยกับหนังสือ : ให้ลูกได้หยิบจับตั้งแต่เด็กๆ ยังเป็นทารก ให้เขารู้สึกดีกับการอ่านหนังสือ แต่ยังไงก็ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของตัวหนังสือด้วยนะคะ
  • ให้ลูกเลือกหนังสือที่ชอบ : ให้เด็กๆ ได้เลือกหนังสือเอง เป็นเรื่องสั้นๆ มีสีสันสดใส มีรูปน่ารักๆ พร้อมกับประโยคง่ายๆ
  • สร้างบรรยากาศ : คงต้องเป็นสถานที่สบายๆ ไม่วุ่นวายเกินไป เพื่อให้เด็กๆ ได้มีจินตนาการตามเนื้อเรื่อง หรืออาจจัดสถานที่ให้ดูเหมือนว่าอยู่กับนิทานไปด้วยก็ได้นะคะคุณแม่ๆ
  • ใกล้ชิดกับลูก : การอ่านนิทานคุณพ่อคุณแม่สามารถโอบกอดลูกไปด้วยพร้อมกับการเปิดหนังสือให้ลูกดูไปด้วย เด็กๆ จะได้มองตามนิ้วที่เราชี้ ทำให้เด็กๆ ได้มีปฏิสัมพันธ์กับหนังสือเป็นอย่างดีอีกด้วย
  • มีอุปกรณ์ประกอบ : เพื่อให้การเล่นสนุกยิ่งขึ้นอาจจะมีอุปกรณ์ตัวช่วย เช่น หุ่นมือรูปสัตว์ต่างๆ ให้สอดคล้องกับนิทานที่คุณแม่เล่าให้เด็กๆ ฟัง จะทำให้นิทานดูสนุกยิ่งขึ้นเลยค่ะ

ลูกอายุเท่าไหร่ ควรจะเล่าแบบไหนดี

  • เด็กอายุ 4-6 เดือน

คุณพ่อคุณแม่ควรให้เด็กๆ ได้จับได้สัมผัสนิทานบ่อยๆ ควรเป็นกระดาษหนาและทนต่อการขยำของเจ้าเด็กน้อย อาจช่วยลูกถือหรือพลิกหนังสือทีละหน้า โดยออกเสียงสูงๆ ต่ำๆ เพื่อดึงความสนใจ เนื่องจากเด็กๆ ยังไม่เข้าใจเรื่องที่เราเล่าให้ฟัง อ่านบ่อยๆ และสร้างความคุ้นเคยและเคยชินในการจับหนังสือ และทำให้เด็กๆ รักการอ่านมากยิ่งขึ้นอีกด้วยค่ะ

  • เด็กอายุ 6-8 เดือน

อายุประมาณนี้เด็กๆ เริ่มทรงตัวได้แล้ว คุณหมอแนะนำว่าให้ลองนั่งตรงข้ามกัน เพื่อที่คุณพ่อคุณแม่จะได้สบตาลูก และจะได้สังเกตสายตาว่าลูกมองรูปอะไรอยู่ เพื่อให้การอ่านของเราจะได้ตอบสนองสิ่งที่ลูกเห็นได้นั้นเองค่ะ เน้นการโต้ตอบอย่างมีปฏิสัมพันธ์ คุณพ่อคุณแม่อ่านด้วยน้ำเสียงที่น่าสนใจ สูงๆ ต่ำๆ เช่นเดิม แต่สามารถเน้นคำสั้นๆ ที่เห็นชัดเจนได้ เช่น “ลูกหมูกำลังไปหาเพื่อน” เราก็ย้ำว่า “ลูกหมู” พร้อมกับชี้ไปที่ตัวหมู ซ้ำๆ 2-3 รอบ เน้นเสียงสูงต่ำด้วย เป็นการเล่นที่น่าสนุกสำหรับลูกยิ่งขึ้นนะคะ

  • เด็กอายุ 8-12 เดือน

ถือว่าเป็นช่วงที่เด็กๆ ใช้มือเก่งและซนมากขึ้น ทำให้เด็กๆ สามารถพลิกหนังสือได้อย่างคล่องเลยทีเดียว คุณพ่อคุณแม่สามารถดึงดูดลูกให้มีปฏิสัมพันธ์ตลอดการอ่านหนังสือได้ไม่ยากแล้วนะคะ ก็คล้ายๆ กับช่วงอายุที่กล่าวมาข้างต้น แต่มีสิ่งที่เพิ่มมานั้นก็คือ เราสามารถพูดประโยคยาวๆ และต่อได้ 2-3 ประโยค ขึ้นกับว่าพื้นฐานของเด็กแน่นแค่ไหน และที่สำคัญ เราสามารถชวนลูกตอบคำถามได้แล้ว โดยตั้งคำถามง่ายๆ และเฉลยให้กับเขา จับนิ้วชี้ลูกเป็นตัวช่วยในการตอบ เช่น “ลิงอยู่ไหนน้า…”  เว้นจังหวะ “ลิงอยู่นี่” พร้อมจับนิ้วลูกมาชี้แทน ทำซ้ำๆ บ่อยๆ ในระหว่างการเล่นนิทาน แต่อย่าลืมทำเสียงสูงๆ ต่ำๆ เพื่อความสนุกด้วยนะคะ คราวนี้เด็กๆ ก็จะใช้นิ้วชี้เพื่อการสื่อสารกับเรื่องอื่นๆ ที่เขาต้องการได้แล้วนะคะคุณแม่ๆ

  • เด็กอายุ 1 ปีขึ้นไป

หากคุณพ่อคุณแม่ปูพื้นฐานแน่นพอแล้ว พ่อแม่ก็สามารถเล่าเป็นเรื่องตามที่มาได้ แต่ต้อง 1-3 บรรทัดต่อหน้านะคะ เพราะเด็กๆ ชอบฟังสั้นๆ มากกว่า มีบ้างที่เด็กจะฟังยาวๆ แต่มักจะเป็นเรื่องเดิมที่รู้แล้ว พอมีเล่มใหม่จะไม่ค่อยชอบฟัง นั้นเป็นเพราะเรื่องเดิมเขาได้มีปฏิสัมพันธ์ด้วย เด็กๆ ก็จะชอบ หากมีเล่มใหม่แล้วลูกไม่สนใจ ให้สำรวจเลยว่าคุณพ่อคุณแม่เองที่ไม่ค่อยมีปฏิสัมพันธ์กับลูกตอนเล่าหรือเปล่า หรือนิทานอาจจะยาวเกินไปนั้นเองค่ะ

ขอบคุณข้อมูลจาก : หมอเสาวภา, planforkids, rakluke

Writer Profile : Jicko

  • Social Media :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



เมื่อผม…
ชีวิตครอบครัว
เมื่อผม…
31 มีนาคม 2563
ตัวตนของลูก คือทางของลูก
ชีวิตครอบครัว
Update
ไลฟ์สไตล์ ไลฟ์สไตล์
เคยกลับบ้านมาแล้วกรี๊ดลั่นบ้านเพราะเจ้าตัวแสบไปวิ่งเล่นเลอะเทอะกันไหมคะ ? หรือแต่งตัวลูกอย่างดีไปทานข้าวนอกบ้าน แต่คุณลูกก็ทำซอสหกใส่ ไอติมหล่นไปเป็นก้อน เละทั้งตัว วันนี้ ParentsOne มีเสื้อเด็กที่เจ๋งมากๆ จาก GQ : the good day lab™ มาลองรีวิวให้ได้ชมกันค่ะ 🛒 ช้อปเลยที่ -> https://gqsize.link/bZT7Sx แกะกล่อง GQ : the good day lab™ เสื้อเด็ก ฟีเจอร์เพียบ คุณภาพ GQ ขึ้นชื่อว่า GQ ก็มั่นใจได้เรื่องคุณภาพค่ะ ผ้านุ่ม เบาบาง เหมาะกับอากาศเมืองไทย ใส่วิ่งสบายๆ ที่แปลกตาคือเป็นเสื้อที่ไม่มีป้ายแท็กค่ะ ทั้งด้านหลังคอเสื้อ หรือข้างใน ไม่ต้องห่วงว่าจะเคืองหรือคันเลย กระดุมแข็งแรงเอามากๆ ใช้แรงผู้ใหญ่ดึงแรงๆ ก็ไม่มีปัญหาเลย ไฮไลท์สำคัญที่คุณแม่แทบกรี๊ด คือเป็นไม่เปื้อนค่าาาา เทน้ำ เทนมใส่เสื้อ ไม่เปียกเลย สะบัดสองที หายปกติ ซึ่งถ้าใครเคยเห็นโฆษณา GQ ที่เสื้อเชิ้ตขาวไปทำงานคุณพ่อ โดนกาแฟหกใส่ แต่ผ้าไม่เปื้อนเลย เทคโนโลยีผ้าสะท้อนน้ำ ตอนนี้มาอยู่ในเสื้อเด็กแล้ววววว ทีมงานทดสอบเทน้ำสีผสมอาหาร นม หรือแม้แต่ซอสมะเขือเทศลงบนเสื้อ ก็ไม่เปื้อนค่ะ ไม่น่าเชื่อมากๆ ข้อดีที่สุดของผ้าแบบนี้ คือทำให้ชีวิตคุณแม่สบายขึ้นมาก พาลูกไปเที่ยว วิ่งเล่นสนามหญ้า พาไปทานก๋วยเตี๋ยว หรือให้ทานอะไร ก็ไม่ต้องกลัวเสื้อสวยๆ เลอะ แถมประหยัดเวลาซักผ้าด้วย ไม่ต้องมาคอยแช่ผ้าให้คราบมันออกแบบสมัยก่อน สำหรับเสื้อเด็ก the good day lab™…
8 ธันวาคม 2566

anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save