fbpx

flu vaccine

เลือกหมวดหมู่


ข่าว ข่าว

จากการพยากรณ์โรคและภัยสุขภาพประจำสัปดาห์นี้ คาดว่าในช่วงนี้จะมีโอกาสพบผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่เพิ่มขึ้น เนื่องจากช่วงนี้มีฝนตกในหลายพื้นที่ของประเทศ ทำให้อากาศเริ่มเย็นลงและมีความชื้นสูงขึ้น อาจส่งผลให้โรคแพร่ระบาดได้ง่ายและรวดเร็ว โดยสถานการณ์ของโรคไข้หวัดใหญ่ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 19 กันยายน 2564 พบผู้ป่วย 8,941 ราย ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต กลุ่มอายุที่พบมากที่สุด คือ เด็กเล็กอายุแรกเกิด - 4 ปี รองลงมา คือ 25-34 ปี และอายุ 15-24 ปี ดังนั้นกรมควบคุมโรคจึงขอแนะนำให้คุณพ่อคุณแม่ดูแลสุขอนามัยตนเองและลูกเพื่อป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ทุกสายพันธุ์และโรคโควิด-19 ด้วยการสวมหน้ากากตลอดเวลาที่อยู่นอกบ้าน ล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่หรือแอลกอฮอล์ หลีกเลี่ยงการเอามือเข้าปาก หรือ ขยี้ตา ไม่ใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น หลีกเลี่ยงคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ป่วย หากมีอาการป่วยควรหยุดเรียน หยุดงาน หยุดกิจกรรม  นอกจากนี้ควรเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ ซึ่งวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่จะช่วยป้องกันการเกิดโรคปอดบวม ทั้งยังช่วยลดความรุนแรงของโรค และลดความเสี่ยงการเสียชีวิตจากภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยลงได้  โดยหญิงตั้งครรภ์ อายุครรภ์ 4 เดือนขึ้นไป และเด็กอายุ 6 เดือน สามารถรับวัคซีนได้ฟรี! ที่สถานบริการสาธารณสุขของรัฐใกล้บ้านและที่สถานพยาบาลเอกชน ที่เข้าร่วมโครงการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 อ้างอิงจาก https://ddc.moph.go.th/brc/news.php?news=20807&deptcode=brc&news_views=691  

ข่าว ข่าว
ในช่วงนี้อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย จึงส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้ง่าย โดยเฉพาะในเด็กเล็กที่คุณพ่อคุณแม่ต้องระวังเป็นพิเศษเพื่อไม่ให้ป่วยเป็นโรคไข้หวัดใหญ่ จากสถานการณ์โรคไข้หวัดใหญ่ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม-15 มีนาคม 2564 พบผู้ป่วย 3,981 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต โดยพบมากที่สุดในเด็กแรกเกิด-4 ปี รองลงมาคือ อายุ 25-34 ปี และ 15-24 ปี ตามลำดับ โรคไข้หวัดใหญ่สามารถติดต่อจากการไอ จามรดกัน หรือจากการสัมผัสสิ่งของที่มีเชื้อโรค เช่น ของเล่น ลูกบิดประตู เป็นต้น สำหรับอาการของโรคจะคล้ายไข้หวัด แต่จะมีอาการปวดกล้ามเนื้อและปวดหัว อ่อนเพลีย แต่สามารถหายเองได้ใน 5-7 วัน ดังนั้นหากอาการไม่ดีขึ้นภายใน 48 ชั่วโมงหรือผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง ควรรีบพบแพทย์ทันที สำหรับวิธีในการป้องกันน้องจากที่เราจะใส่หน้ากากอนามัยเป็นประจำในช่วงนี้แล้ว ก็ควรใช้มาตรการ ““ปิด ล้าง เลี่ยง หยุด” ได้แก่  ปิด คือ ปิดปาก ปิดจมูก เมื่อไอ จาม โดยใช้ผ้าหรือกระดาษทิชชูทุกครั้ง ล้าง คือ ล้างมือบ่อยๆ เมื่อสัมผัสสิ่งของ เช่น ของเล่น ลูกบิดประตู เลี่ยง คือ หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับผู้ป่วย หรือในสถานที่ที่มีคนอยู่หนาแน่น  หยุด คือ หยุดเรียนเมื่อป่วย แม้ใีอาการเล็กน้อยก็ตาม ให้พักรักษาตัวอยู่บ้านจนกว่าจะหายเป็นปกติ อ้างอิงจาก https://ddc.moph.go.th/brc/news.php?news=17687&deptcode=brc&news_views=2425  
25 มีนาคม 2564

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save