fbpx

ระหว่างตั้งครรภ์

เลือกหมวดหมู่


ข่าว ข่าว

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ผ่านมา พบว่ากลุ่มหญิงตั้งครรภ์เป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบไม่น้อย โดยในช่วง 1 ปีที่ผ่านมาพบว่าหญิงตั้งครรภ์จากทั่วโลกติดเชื้อเพิ่มขึ้นประมาณ 50-60% จากภาวะปกติ และการเสียชีวิตส่วนหนึ่งเกิดจากโควิด-19 นพ.เอกชัย เพียรศรีวัชรา ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมสุขภาพและโฆษกกรมอนามัย กล่าวว่า สถานการณ์ในประเทศไทยเมื่อ 6 เดือนที่ผ่านมา เม.ย.-ก.ย. พบว่ามีหญิงตั้งครรภ์ติดเชื้อ 4,778 ราย มีทารกติดเชื้อ 226 ราย และในจำนวนนี้มารดาเสียชีวิต 95 ราย และทารกเสียชีวิต 46 ราย ซึ่งส่วนหญิงติดเชื้อมากที่สุดในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล และชายแดนภาคใต้ สำหรับการได้รับวัคซีนของหญิงตั้งครรภ์ พบว่าหญิงตั้งครรภ์ ฉีดวัคซีนเข็มแรกเพียง 74,625 คน เข็มสอง 51,989 คน เข็มสาม 526 คน นอกจากนี้ยังมีการสำรวจในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ ว่ามีทัศคติอย่างไรต่อการฉีดวัคซีนโควิด จาก 1,500 คนพบว่า หญิงตั้งครรภ์ที่ตอบแบบสอบถามกว่าครึ่งหนึ่งยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีน โดยมี 60% ตั้งใจจะฉีดวัคซีน ส่วนที่เหลือยังคงโลเลอยู่ เนื่องจากกังวลในเรื่องความปลอดภัย และประสิทธิภาพของวัคซีน อ้างอิงจาก https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=31185  

ข่าว ข่าว
เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ โดยเฉพาะใน 3 เดือนแรกเป็นช่วงที่ควรต้องระวังในเรื่องของการใช้ผลิตภัณฑ์ต่างๆ คุณแม่ควรเลือกครีมหรือยาที่ไม่มีสารต้องห้ามที่อาจส่งผลต่อลูกน้อยในครรภ์ได้ นายแพทย์มานัส โพธาภรณ์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ และโฆษกกรมการแพทย์ กล่าวว่า ยาที่หญิงตั้งครรภ์ควรหลีกเลี่ยง คือ ยารักษาสิวควรหลีกเลี่ยงยาในกลุ่มของกรดวิตามินเอ รวมไปถึงสารอนุพันธ์ ทั้งในรูปแบบยารับประทานและยาทา ซึ่งสามารถดูดซึมเข้ากระแสเลือด และผ่านรกไปยังทารกในครรภ์ ทำให้ทารกพิการแต่กำเนิดได้  ยาสิวในกลุ่ม Benzoyl peroxide และ Salicylic acid (BHA,BHT) ยารักษาฝ้า หรือยารักษาจุดด่างดำที่ใบหน้า ควรหลีกเลี่ยงยาหรือครีมที่มีส่วนประกอบของสารไฮโดรควิโนน ซึ่งสามารถซึมเข้าสู่กระแสเลือด และมีผลต่อทารกในครรภ์ได้เช่นกัน  ยาลดเม็ดสีที่มีส่วนผสมของปรอท ปนเปื้อนในครีมบางยี่ห้อในท้องตลาด เป็นอันตรายทั้งต่อมารดาและทารกในครรภ์ได้  ครีมกันแดดในกลุ่มของ chemical sunscreen โดยเฉพาะ Oxybenzone, Octyl methoxycinnamate, Avobenzone, Dioxybenzone, Octocrylene และ para-aminobenzoic acid (PABA) เนื่องจากมีรายงานว่าอาจเกิดอันตรายต่อทารกในครรภ์ได้ โดยแพทย์หญิงมิ่งขวัญ วิชัยดิษฐ ผู้อำนวยการสถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์ แนะนำให้ใช้ครีมกันแดดในกลุ่ม Physical sunscreen โดยเฉพาะกลุ่มที่เป็น Non-nanoparticle formulation ส่วนครีมบำรุงผิว รักษารอยแตกลาย แนะนำให้ใช้ครีมที่ให้ความชุ่มชื้น ที่ไม่มีส่วนผสมของน้ำหอม หรือสารที่มีวิตามินเอ กรดวิตามินเอเป็นส่วนประกอบ  อ้างอิงจาก https://www.dms.go.th/Content/Select_Landding_page?contentId=27263  
28 มิถุนายน 2564

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save