fbpx

เข้าใจธรรมชาติของลูกด้วยทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาตามช่วงวัยของเพียเจต์

Writer : Lalimay
: 1 เมษายน 2563

ทำไมเราจึงไม่ควรเร่งรัดลูกให้เร็วกว่าพัฒนาการที่ควรจะเป็น? นั่นเป็นเพราะว่าพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก มีการพัฒนาตามวัยเป็นลำดับขั้น และเป็นไปตามธรรมชาติ ซึ่งการเร่งรัดจะทำให้เกิดผลเสียแก่ตัวของเด็กมากกว่า แต่เราสามารถพัฒนาสติปัญญาของลูกให้เหมาะสมตามแต่ละวัยได้ หากเข้าใจธรรมชาติและพัฒนาการตามวัย ด้วยทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ค่ะ

เพียเจต์ (Jean Piaget) เป็นนักจิตวิทยาชาวสวิสเซอร์แลนด์ เป็นผู้เชี่ยวชาญในทฤษฎีพัฒนาการทางด้านสติปัญญา เขากล่าวว่าเด็กจะสร้างความรู้หรือพัฒนาสติปัญญาผ่านการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม และมีพัฒนาการทางสติปัญญาตามช่วงวัยด้วยกันทั้งหมด 4 ขั้น

โดยกระบวนการทางสติปัญญาของเด็กจะเกิดขึ้นจากการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมอยู่ 2 แบบ คือ การซึมซับประสบการณ์ (Assimilation) และการปรับโครงสร้างสติปัญญา (Accommodation) ตามสภาพแวดล้อมเพื่อให้เกิดความสมดุลในความคิดความเข้าใจ (Equilibration) อธิบายง่ายๆ คือ เด็กๆ จะซึมซับประสบการณ์ที่เขาได้รับ แล้วมารวมเข้าด้วยกันเพื่อทำให้เกิดกระบวนการคิดเกิดขึ้น มีการเชื่อมโยงระหว่างเรื่องเก่าที่เคยเรียนรู้มา ผสมกับเรื่องใหม่เข้าด้วยกัน ซึ่งเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องจนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในความคิดและความเข้าใจของเด็กนั่นเองค่ะ

เช่น แรกเริ่มที่เด็กได้รับของเล่นที่เป็นแท่งแม่เหล็กมา สิ่งแรกที่เขาจะทำกับแท่งแม่เหล็กนั้น คือ การกัดหรือเขย่า เพราะของเล่นที่เขาเคยได้รับมักจะเล่นในลักษณะนี้ แบบนี้เรียกว่าการซึมซับประสบการณ์ พอเห็นว่าการเล่นแบบนี้ไม่ถูก เขาก็จะค่อยๆ ทดลองหาวิธีเล่นที่ถูกต้องไปเรื่อยๆ จนพบว่าแท่งแม่เหล็กสามารถดูดของบางอย่างได้ เด็กก็จะค่อยๆ ปรับความคิดว่าของเล่นอันนั้นไม่ได้มีไว้กัดหรือเคาะ แต่มีไว้ดูดสิ่งต่างๆ นั่นคือการปรับโครงสร้างสติปัญญาให้เหมาะสมจากการใช้ประสบการณ์เดิมมาเข้าร่วม

สำหรับพัฒนาการทางสติปัญญาแบ่งออกเป็น 4 ขั้น ได้แก่

ขั้นของการใช้ประสาทสัมผัสและกล้ามเนื้อ (Sensorimotor Stage)

ช่วงอายุแรกเกิด – 2 ขวบ คือ ระยะที่ 1 เรียกว่า ขั้นของการใช้ประสาทสัมผัสและกล้ามเนื้อ (Sensorimotor Stage) พฤติกรรมของเด็กในวัยนี้ขึ้นอยู่กับการเคลื่อนไหวเป็นส่วนใหญ่ เช่น การไขว่คว้า การเคลื่อนไหว การมอง การดู เด็กจะพัฒนาการแก้ปัญหาโดยไม่ต้องใช้ภาษาเป็นสื่อ เพราะจะแสดงออกในรูปของการการกระทำแทน เป็นช่วงเริ่มต้นที่จะเรียนรู้ในการปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม  เด็กมักจะทำอะไรซ้ำบ่อยๆ ซึ่งเกิดจากการเลียนแบบ และจะพยายามแก้ปัญหาแบบลองผิดลองถูกด้วยตัวเอง ดังนั้น การให้ลูกได้ลองทำอะไรด้วยตัวเองจะเป็นการพัฒนาสติปัญญาของเด็กวัยนี้

ขั้นเตรียมความคิดที่มีเหตุผล (Preoperational Stage)

ช่วงอายุ 2-7 ปี คือ ระยะที่ 2 เรียกว่า ขั้นเตรียมความคิดที่มีเหตุผล หรือการคิดก่อนปฏิบัติการ (Preoperational Stage) พัฒนาการเชาว์ปัญญาของเด็กวัยนี้เน้นไปที่การเรียนรู้ และเริ่มมีพัฒนาการทางภาษาดีขึ้นด้วย โดยสามารถพูดได้เป็นประโยค มีการสร้างคำได้มากขึ้น แต่เด็กยังไม่สามารถใช้สติปัญญาคิดได้อย่างเต็มที่ แบ่งได้เป็น 2 ช่วง คือ

  • ขั้นก่อนเกิดสังกัป (Preconceptual Thought) สังกัปคือการนึกคิด เป็นขั้นพัฒนาการของเด็กอายุ 2-4 ปี ซึ่งเขาจะยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง ความคิดของเขาคือ จะโยงความสัมพันธ์ของแต่ละเหตุการณ์มาเกี่ยวโยงกัน ซึ่งอาจจะไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้อง จะมีความเข้าใจต่อสิ่งต่างๆ ในเบื้องต้น เช่น จะเรียกสัตว์ที่มี 4 ขาทั้งหมดว่า หมา ซึ่งนั่นเป็นเพราะเขามีขีดจำกัดในการเรียนรู้ และเข้าใจอะไรได้ในมิติเดียว สำหรับสิ่งที่จะทำให้เด็กในวัยนี้มีพัฒนาการทางสติปัญญาที่ดีก็คือ การเล่นบทบาทสมมติ
  • ขั้นการคิดแบบญาณหยั่งรู้ นึกออกเองโดยไม่ใช้เหตุผล (Intuitive Thought) เป็นขั้นพัฒนาการของเด็ก อายุ 4-7 ขวบ ขั้นนี้ ถือเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของการคิด รู้จักแยกประเภทและแยกชิ้นส่วนของ สามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ รู้จักนำความรู้ในสิ่งหนึ่งไปอธิบายหรือแก้ปัญหาอื่นและสามารถนำเหตุผลทั่วๆ ไปมาสรุปแก้ปัญหาแต่ไม่ได้วิเคราะห์อย่างถี่ถ้วน เด็กจะเกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ดีขึ้น แต่การคิดหาเหตุผลและการตัดสินใจของเด็กยังคงขึ้นอยู่กับสิ่งที่ตนรับรู้

การเล่นสำหรับเด็กวัยนี้คือ รูปแบบการเล่นที่มีกฎเกณฑ์และขั้นตอนเข้ามาเกี่ยวข้อง รวมไปถึงการเล่นบทบาทสมมติที่มีเรื่องราว ที่สอดคล้องกันอย่างมีเหตุมีผล

ขั้นคิดอย่างมีเหตุผลและเป็นรูปธรรม (Concrete Operation Stage)

ช่วงอายุ 7-11 ขวบ คือ ระยะที่ 3 เรียกว่า ขั้นคิดอย่างมีเหตุผลและเป็นรูปธรรม (Concrete Operation Stage) เด็กในวัยนี้จะสามารถใช้เหตุผลในการตัดสินใจปัญหาต่างๆ ได้ดีขึ้น มีพัฒนาการทางด้านสติปัญญาหลายด้าน คือ สามารถสร้างจินตนาการในความคิดของตนขึ้นมาได้ สามารถคิดเปรียบเทียบได้ เรียงลำดับสิ่งต่างๆ ได้ นอกจากนี้ยีงมีความสามารถในการคิดย้อนกลับ สามารถจัดกลุ่มหรือจัดการได้อย่างสมบูรณ์ เช่น การแบ่งแยกประเภทของสัตว์ สามารถสนทนากับบุคคลอื่นและเข้าใจความคิดของผู้อื่นได้ดี ที่สำคัญคือความสามารถในการจำของเด็กในช่วงนี้มีประสิทธิภาพขึ้น 

ขั้นของการคิดอย่างมีเหตุผลและอย่างเป็นนามธรรม (Formal Operation Stage)

ช่วงอายุตั้งแต่ 11 ขวบขึ้นไป คือ ระยะที่ 4 เรียกว่า ขั้นของการคิดอย่างมีเหตุผลและอย่างเป็นนามธรรม (Formal Operation Stage) ในวัยนี้เขาจะไม่คิดจากสิ่งที่เห็นหรือได้ยินเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่จะคิดถึงสิ่งที่เคยเกิดขึ้นในอดีตและคาดเดาถึงอนาคตที่จะเกิดขึ้นข้างหน้า เพื่อให้ได้สมมติฐานที่สมเหตุสมผลมาสนับสนุนความคิด ซึ่งนั่นหมายถึงเด็กจะเริ่มคิดแบบผู้ใหญ่ได้ เข้าใจในสิ่งที่เป็นนามธรรม เป็นตัวของตัวเอง ต้องการอิสระ ไม่ยึดตนเป็นศูนย์กลาง รู้จักการใช้เหตุผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ข้อมูลอ้างอิง

 

Writer Profile : Lalimay

  • Blog :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



Update
12 ตุลาคม 2567

12 ตุลาคม 2567
12 ตุลาคม 2567
anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save