Parents One

อธิบายพฤติกรรมชวนปวดหัวของเด็กๆ พวกเขาคิดอะไรกันอยู่ เเล้วทำไมถึงเเสดงออกแบบน้ีกันนะ

พฤติกรรมของเด็กวัยหัดเดินมีความคิดที่เเตกต่างจากเด็กโตเเละผู้ใหญ่ในฐานะพ่อแม่ของเด็กวัยหัดเดิน (ช่วงอายุประมาณ 1-3 ปี) คุณมักพยายามทำความเข้าใจกับสิ่งที่เด็กเล็กทำ พ่อเเม่หลายคนก็คงปวดหัวเพราะไม่เข้าใจว่าลูกคิดอะไรอยู่ เราอยากบอกว่าโลกของเด็กน้อย เเละสมองของเด็กในวัยหัดเดินนั้นเเตกต่างจากทั้งของเด็กโต เเละของผู้ใหญ่ เรามาดูกันว่าพวกเขาคิดไรอยู่กันนะ

เด็กก็เหมือน Dory จากเรื่อง Finding Nemo

ดร. เบอร์เน็ท นักประสาทวิทยากล่าวไว้วว่าเด็กๆ ก็เหมือนเจ้าปลา Dory เจ้าปลาน้อยขี้ลืมจากการ์ตูนเรื่อง Finding Nemo นั่นเเหละ เเตกต่างจากผู้ใหญ่ใช้ชีวิตที่อ้างอิงประสบการณ์ และความทรงจำจากสิ่งต่างๆ จนกลายเป็นสัญชาติญาณ เเต่เด็กเล็กต่างออกไป ทุกอย่างสำหรับเด็กวัยหัดเดินดูใหม่และตื่นเต้นสุดๆ เพราะไม่ได้มีประสบการณ์มากมายที่เอามาใช้ตัดสินสิ่งต่างๆ เเละสมองของเด็กที่อายุน้อยกว่า 7 ขวบ ก็มีความต้องการที่จะเก็บความทรงจำอยู่มากมาย

เด็กๆ ไม่เข้าใจเรื่องเวลา

ถ้าลูกคุณได้รับเชิญให้เข้าร่วมงานเลี้ยงวันเกิดที่จัดขึ้นวันอาทิตย์เวลา 12.00 น. เเต่ถ้าคุณเกิดพลาดไปบอกตั้งแต่วันพฤหัสบดี เด็กๆ ก็จะรู้สึกมีความสุขทันทีพวกเขาจะคิดว่าพ่อเเม่จะพาไปเดี๋ยวนี้  เเล้วคุณก็ต้องอธิบายว่างานปาร์ตี้ไม่ได้เริ่มในอีกไม่กี่ชั่วโมงข้างหน้า เเต่สายไปเเล้วเพราะเด็กจะถามทุกห้านาทีว่า “เมื่อไหร่จะพาไปงานวันเกิด”

เเละถ้ายิ่งพยายามอธิบายก็จะทำให้เด็กคิดว่า “แม่จะไม่พาไปงานเลี้ยงแน่ๆ” เพราะในโลกของเด็กวัยหัดเดินมีอเเค่ช่วงปัจจุบันเท่านั้น เหมือนเป็น โลกไร้กาลเวลา หมายความว่าเด็กรู้สึกไม่สบายใจที่จะรอ เพราะพวกเขาไม่เข้าใจเรื่องช่วงเวลา วันนี้ พรุ่งนี้ มะรืนนี้คืออะไร?? เพื่อช่วยลดความหงุดหงิดของทั้งตัวคุณเเละของเด็กๆ ก็ควรแจ้งล่วงหน้าถ้ามีเหตุการณ์ที่ต้องรอ เช่น  “หลังอาหารกลางวัน หรือเมื่อหนูตื่นขึ้นมาตอนเช้า” แบบนี้ก็ถือเป็นเวลาที่เข้าใจได้ง่ายสำหรับเด็ก

เด็กไม่เข้าใจเรื่อง “เหตุผล”

หากคุณเคยลองใช้เหตุผลกับเด็กวัย 2 ขวบ คุณก็จะรู้ว่ามันไร้ประโยชน์ เพราะในเด็กวัยหัดเดินพวกเขายังไม่เข้าใจเรื่องเหตุผล เเละยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง แต่คุณไม่สามารถตำหนิพวกเขาได้  เนื่องจากเพราะสมองของพวกเขาเชื่อมโยงกัน นอกจากนั้นเด็กวัยนี้ก็ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการพัฒนาความรู้ความเข้าใจ เด็กวัยหัดเดินคิดในรูปแบบที่แตกต่างกันพื้นฐานจากเด็กโตและผู้ใหญ่ แต่ถ้าเราเข้าใจในการทำงานของเด็กวัยหัดเดินจะช่วยให้อดทนกับพฤติกรรมอย่างเข้าใจ

เด็กรักความเท่าเทียม

ถ้าคุณกำลังตักไอศกรีมให้เด็กวัยเหัดเดินแล้วใส่ไอศกรีมสองก้อนลงในชามพลาสติกขนาดเล็กให้เขา จากนั้นให้ใส่สองก้อนเหมือนกันในชามขนาดใหญ่กว่าให้เด็กอีกคน เขาก็จะร้องออกมาว่า “ทำไมหนูได้ไม่เท่ากัน” ในเด็กวัยหัดเดินนั้นไม่สามารถเข้าใจได้ว่าภาชนะบรรจุที่มีรูปร่างและขนาดต่างกันสามารถบรรจุสิ่งของได้เท่ากัน

เด็กจะรู้สึกว่าถ้าใส่ในภาชนะขนาดใหญ่กว่าก็คือมีปริมาณมากกว่า เเละจะค่อยๆ เรียนรู้เข้าใจเรื่องนี้ประาณช่วงอายุ 6 หรือ 7 ขวบ ดังนั้นคุณพ่อคุณเเม่ควรพยามแบ่งทุกอย่างให้เท่ากันไว้ เพื่อหลีกเลี่ยงเสียงโวยวาย เเละน้ำตาของลูกน้อยจากความรู้สึกว่าไม่ยุติธรรม

เด็กต้องการอิสรภาพ

สมมุติว่ามีเวลา 30 นาทีในการแต่งตัวเเละทานอาหาร  คุณเเม่เลยเริ่มถอดชุดนอนของลูกออก แต่เด็กๆ กลับยืนยันว่า “เดี๋ยวหนูทำเอง!!” ทำให้คุณต้องนั่งดูลูกต่อสู้กับกางเกงที่ติดอยู่บนหัว เเละลูกก็ยืนยันจะทำเองแบบระต่ายขาเดียว เป็นเพราะเด็กคิดจริงๆ ว่าพวกเข้าสามารถทำได้เเน่ เพราะในเด็กวัยนี้ค่อนข้างที่จะกระตือรือล้นที่จะทดสอบความสามารถของตัวเอง ซึ่งผู้เชี่ยวชาญเเนะนำว่าควรปล่อยให้พวกเขาทำไป พร้อมทั้งนั่งดูอย่างอดทน เเละช่วยเหลือในบางจุดเล็กๆ การทำเเบบนี้จะทำให้เด็กรู้สึกว่าเขาสามารถพึ่งพาตัวเองได้

ถ้าพ่อเเม่เข้าใจว่าทำไมลูกถึงมีพฤติกรรมเเบบนี้ก็จะทำให้เครียดน้อยลง เเละเเน่นอนว่าเด็กๆ ก็ไม่ได้ตั้งใจที่จะทำพฤติกรรมที่จะทำให้ชีวิตพ่อเเม่ปั่นป่วน ยุ่งเหยิงขึ้นไปหรอก มันเเค่เป็นพฤติกรรมตามธรมชาติที่เเสดงออกมาเพียงเเค่นั้นเอง