fbpx

การระบาดของไวรัสโควิด-19 กับการศึกษาที่เปลี่ยนไป

Writer : Jicko
: 26 พฤษภาคม 2563

การระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้หลายสิ่งในชีวิตประจำวันเปลี่ยนไป เช่นเดียวกับการศึกษาที่มีผลกระทบอย่างมากทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทำให้หลายประเทศได้มีการเตรียมความพร้อมในเรื่องการศึกษามากขึ้น เพื่อการเรียนการสอนในรูปแบบใหม่ที่สอดคล้องกับการระบาดของไวรัสโควิด-19 นี้

วันนี้ทาง Parents One จึงถือโอกาสนี้รวบรวมเรื่องราวเกี่ยวกับรูปแบบการศึกษาที่เปลี่ยนไปในช่วงการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ผ่านมา จะมีอะไรบ้างไปดูกันเลย

Active Learning บนแพลตฟอร์มออนไลน์

การสอนแบบออนไลน์แตกต่างกับการสอนแบบที่โรงเรียนตัวต่อตัวอย่างสิ้นเชิง คุณครูเองก็ต้องใช้โอกาสนี้ในการพัฒนาและเอาศักยภาพของตัวเองมาเปลี่ยนแปลงและประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอนในรูปแบบใหม่ ซึ่งไม่ใช่การสอนแบบท่องจำหรือเปิดสไลด์ให้เด็กฟังเฉยๆ อย่างแน่นอน เพราะการที่เด็กนั่งเรียนอยู่หน้าจอก็ไม่เกิดสมาธิและแรงจูงใจอยู่แล้ว ทำให้คุณครูต้องเปลี่ยนการเรียนการสอนแบบ Active Learning บนออนไลน์ ให้เป็น High Functioning Classroom หรือห้องเรียนที่มีประสิทธิภาพสูงทั้งกระบวนการและผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนของเด็กๆ นั้นเอง

โดยวิชาที่สอนนั้นอาจจะไม่ใช่วิชาสามัญ แต่จะเปลี่ยนเป็นวิชาที่มีความสอดคล้องกับชีวิตจริง ที่ให้เด็กๆ ได้ลงมือทำและเกิดการเรียนรู้เองได้จริงๆ เป็นการควบรวมรายวิชาในลักษณะของการบูรณาการให้น้ำหนักไปกับวิชาสัมมนา วิชาค้นคว้าอิสระ อย่างเช่น ให้เด็กแต่ละคนศึกษาในหัวข้อ “My familly’s happiness” ในช่วงโควิด แล้วมาแชร์ไอเดียกันในห้องเรียนออนไลน์ เป็นต้น

โดย Tips ในการสร้างความ Active Learning บนโลกออนไลน์ คือ

  • เปิดเวทีให้เด็กแต่ละคน แชร์เรื่องราวของตัวเอง
  • เรียนออนไลน์แล้วไปต่อในชีวิตจริงได้ โดยอาจจะมีผู้ปกครองเป็นโค้ชช่วยดูแล
  • ติดตามผลงานไปพร้อมกัน อาจจะมีการนัด Video Call ให้เด็กๆ มาเล่าความกล้าวหน้า แลกเปลี่ยนไอเดีย จนถึงขั้นตอนสุดท้ายของผลงาน
  • รีวิวบทเรียนที่ผ่านมา เพื่อเป็นแนวทางในการออกแบบวิธีให้คะแนนที่สอดค้องกับบทเรียน แล้วมา Video Call รีวิวงานกันอีกครั้ง โดยสิ่งที่รีวิวจะเป็นเรื่องของการเรียนรู้ที่ผ่านมา อุปสรรคปัญหา วิธีการแก้ไข และสิ่งที่ต้องพัฒนาของเด็กๆ

 

หน้าตาโรงเรียนที่เปลี่ยนไปของนักเรียนในต่างประเทศ

เนื่องด้วยสถานการณ์โรคระบาดไวรัสโควิด-19 ทำให้โรงเรียนต่างๆ เริ่มมีการปรับตัวมากขึ้น โดยเฉพาะต่างประเทศ เพื่อป้องกันโรคระบาดที่จะเกิดขึ้นกับเด็กๆ ที่โรงเรียน ซึ่งได้แก่

  • เมื่อวันที่ 29 เม.ย. 63 ในโรงเรียนประถมในไทเป มีการปรับโต๊ะที่นั่งเรียนและโต๊ะทานอาหาร โดยมีการกั้นฉากพลาสติกกั้น เพื่อป้องกันโรค
  • นักเรียนชั้นปีที่ 3 ของโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายแห่งหนึ่งในนครอู่ฮั่น มีการนั่งเรียนในห้องเรียนโดยมีพลาสติกกั้นรอบโต๊ะ เพื่อป้องกันละอองฝอยที่อาจจะเกิดจากการพูดคุยหรือรับประทานอาหาร
  • เดนมาร์ก มีการเปลี่ยนหน้าตาห้องเรียนในเด็กชั้นประถม มีการนั่งเรียนโดยมีการจัดโต๊ะให้ห่างกันอย่างน้อย 2 เมตร และอนุญาตให้เด็กในห้องเรียนอยู่ได้จำนวนสูงสุด 10 คนในแต่ละชั้นเรียน และไม่อนุญาตให้ทานอาหารกลางวันร่วมกัน
  • โรงเรียนมัธยมต้นกว่างโจวหนานอู่ เมืองกว่างโจ มณฑลกว่างตง ทางตอนใต้ของจีน ได้เชิญผู้ปกตรองมาที่โรงเรียน เพื่อชี้แจงเกี่ยวกับมาตรการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อไวรัสโควิด-19  และผู้ปกครองยังต้องสแกนรหัสสุขภาพแบบคิวอาร์โค้ด ก่อนเข้าบริเวณโรงเรียนด้วย

 

ปฏิสัมพันธ์ในห้องเรียนที่เปลี่ยนไป

เพราะการเรียนออนไลน์กับการเรียนแบบปกติมันค่อนข้างต่างกัน ทำให้เกิดปฏิสัมพันธ์ในห้องเรียนเปลี่ยนไป ทำให้เด็กบางคนจะไม่ค่อยพูดหรือตอบคำถามใดๆ เวลาเรียนออนไลน์ ครูและนักเรียนต้องสร้างความสัมพันธ์ ต้องมีเทคนิคหรือวิธีการที่ทำให้รู้สึกว่ามีเพื่อนและครูอยู่ตรงนี้กับเขา อีกทั้งคุณครูยังต้องสร้างแรงบันดาลใจให้กับเด็ก เพื่อให้เขาได้ลองคิดและเรียนรู้ด้วยตนเองนั่นเองค่ะ

 

เทคโนโลยีด้านการศึกษาพัฒนามากขึ้น

การระบาดของโควิด-19 ทำให้การศึกษาทั่วโลกต้องปรับตัวในการใช้เครื่องมือเทคโนโลยีอย่างไม่ทันได้ตั้งตัว ทำให้มีแนวการเรียนการสอนแบบออนไลน์ในสถานการณ์การแพร่ระบาดในยุคนี้เกิดขึ้น เช่น

  • Microsoft Teams
  • Google Classroom
  • LOOM
  • Zoom
  • OBS Studio
  • เรียนผ่านดาวเทียม DLTV

ซึ่งข้อดีของการเรียนออนไลน์ก็คือ

  • ช่วยลดเวลาการเดินทาง ทั้งครูและนักเรียนได้
  • มีโปรแกรมเหล่านี้ในการช่วยจัดการ เช็กชื่อนักเรียน และรับเอกสารต่างๆ เพื่อใช้ในการประเมินนักเรียนได้สะดวกมากขึ้น
  • มีช่องทางการสื่อสารระหว่างครูผู้สอน และผู้เรียนได้สะดวกขึ้น
  • ใช้เครื่องมือออนไลน์ค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมได้มากขึ้น

 

การเรียนรู้จากบ้านที่เกิดจากการเล่น

การเกิดวิกฤตโควิด-19 ทำให้การศึกษาของเด็กๆ เปลี่ยนไป ทำให้โรงเรียนปิด แถมผู้ปกครองก็ยังต้องกลับมาทำงานที่บ้านกันอีก ถึงแม้จะมีเรื่องเลวร้ายเกิดขึ้นแต่เรื่องนี้ก็มีเรื่องดีอยู่ไม่ใช่น้อย นั้นก็คือ การได้ให้เด็กๆ ได้เรียนรู้ที่บ้านโดยมีพ่อแม่เนี่ยแหละเป็นคนจัดการ โดยบางครั้งไม่ต้องพึ่งตำราเรียนเลยด้วยซ้ำ เรียกได้ว่าเด็กๆ จะได้มีการเรียนรู้อย่างแท้จริง ทำให้เด็กๆ ได้มีโอกาสได้ทดลอง ลงมือทำ ค้นคว้าข้อมูลได้ด้วยตนเองอย่างลึกซึ้ง แต่ทั้งนี้คุณพ่อคุณแม่เองก็ต้องมีความยืดหยุ่นพอที่จะสนใจว่าเขาอยากที่จะเรียนรู้หรือศึกษาอะไร และหนังสือเล่มไหนที่จะนำพาให้เขาต่อยอดไปสู่เรื่องที่สนใจได้บ้าง เรียกได้ว่าเด็กๆ จะได้เรียนที่บ้านแบบตัวต่อตัวกับคุณพ่อคุณแม่อย่างแน่นอน ซึ่งการเรียนรู้แบบนี้เด็กๆ ไม่สามารถมีได้ในห้องเรียนที่มีเด็กๆ ทั้งห้อง 20-30 คน อย่างแน่นอนค่ะ

อิตาลี พลิกโฉมการเรียนชั่วข้ามคืน

เชื่อได้เลยว่าทั่วโลกก็มีการระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้เรื่องการศึกษานั้นก็ต้องมีการเลื่อนเปิดและปิดภาคเรียนกันออกไป และมีการสอนแบบออนไลน์กันมากขึ้น ทำให้จากกรณีศึกษาในโรงเรียนนานาชาติมอนซา แคว้น Lombardy ประเทศอิตาลี ซึ่งมีการระบาดของโรคโควิด-19 เป็นอันดับ 2 ของโลก ได้นำระบบการเรียนออนไลน์มาใช้อย่างรวดเร็วภายในระยะเวลาเพียงชั่วข้ามคืน หลังจากรัฐบาลท้องถิ่นประกาศมาตรการล็อคดาวน์ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสนั่นเอง

ซึ่ง Lain Sachdev ครูใหญ่ของโรงเรียนนานาชาติมอนซา ได้มีการสั่งเรียกระดมพลคุณครูแทบจะในทันทีที่ทราบประกาศการล็อคดาวน์ เพื่อจัดทำคลิปวีดีโอสั้นๆ สำหรับนักเรียนและผู้ปกครอง โดยคุณครูมีเวลาเพียงแค่ 1 วัน ในการจัดทำเพื่อให้สามารถเปิดชั้นเรียนออนไลน์ให้ได้ภายในวันถัดไป โดยนักเรีนยทุกคนจะได้รับหนังสือเรียนเหมือนเดิม แต่วิธีการเรียนการสอนจะแตกต่างจากเดิมออกไป เช่น การที่คุณครูสอนผ่านระบบประชุมวีดีโอทางไกลในทุกวัน เด็กๆ เข้าร่วมเรียนผ่าน Padlet ระบบโพสอิทโน้ต ใช้โปรแกรม Flipgrid ที่ช่วยให้ครูและนักเรียนร่วมสร้างวีดีโอสั้นๆ มาแบ่งปัน และใช้เครื่องมือออนไลน์ เป็นต้น

เรียกได้ว่าเพียงชั่วข้ามคืน ก็ทำให้พลิกระบบการศึกษาโลกสู่การเรียนการสอนแบบแพลตฟอร์มออนไลน์กันเลยทีเดียวค่ะ

ความไม่เท่าเทียมของการศึกษา

ซึ่งเรื่องนี้ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญเรื่องหนึ่ง เราจะเห็นได้ชัดเจนในช่วงที่เด็กๆ เริ่มมีการปรับตัวมาเรียนแบบออนไลน์ ทำให้เห็นถึงปัญหาความไม่เท่าเทียมกันในด้านการศึกษามาก เนื่องจากมีเด็กจำนวนไม่น้อยที่ไม่สามารถเข้าถึงการศึกษา เนื่องจากขาดหลายๆ สิ่ง ทั้งอินเทอร์เน็ต อุปกรณ์สำหรับการเรียนออนไลน์ อีกทั้งสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยก็เป็นสิ่งที่เด็กๆ บางคนก็ขาดเช่นกัน

ในอีกแง่หนึ่ง ส่วนของนักเรียนที่ทางบ้านค่อนข้างมีพื้นฐานที่ดีกว่า ย่อมมีความพร้อมในการเข้าถึงการเรียนการสอนแบบออนไลน์มากกว่า ทั้งอุปกรณ์การเรียน สถานที่ หรือแม้แต่การหาคุณครูเรียนแบบออนไลน์ก็ย่อมหาได้ดีกว่า ส่วนนี้ทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมของการศึกษาเกิดขึ้น แต่หากไม่มีการเรียนการสอนแบบออนไลน์เกิดขึ้นในช่วงโควิด-19 ระบาดอยู่นี้ ก็ทำให้เด็กๆ ต้องหยุดเรียนเป็นเวลาหลายเดือนเช่นกัน

 

ปรับปรุงห้องเรียนให้ปลอดภัย ห่างไกลโควิด-19

เพราะโรงเรียนเป็นสถานที่ที่มีเด็กอยู่เป็นจำนวนมาก และยังมีผู้ที่ปฏิบัติงานไม่ว่าจะเป็นคุณครู เจ้าหน้าที่ แม่ครัว รวมไปถึงผู้ปกครอง ทำให้เกิดการแพร่กระจายของโรคได้ง่าย

ซึ่งในการเปิดเทอมหรือการปรับปรุงห้องเรียนของโรงเรียนให้เข้ากับยุคโควิดแบบนี้ ก็ต้องได้ความร่วมมือจากทุกๆ คนเพื่อหยุดการแพร่กระจายซึ่งมีดังนี้

ก่อนเปิดเรียน

  • ตรวจสอบสถานที่ ซ่อมแซม ปรับปรุง ทำความสะอาดทั้งอุปกรณ์การเรียนต่างๆ ห้องน้ำ ห้องครัว โรงอาหาร
  • จัดสถานที่เพื่อเว้นระยะห่างระหว่างบุคคล เช่น การเข้าแถว เข้าคิว ที่นั่งเรียน ที่นั่งทานอาหาร ตามมาตรการเว้นระยะห่างทางกายภาพ (อย่างน้อย 1 เมตร)
  • ทำสัญลักษณ์เพื่อเว้นระยะห่างระหว่างบุคคล
  • เหลี่ยมเวลาพักรับประทานอาหารกลางวัน
  • สำหรับเด็กเล็กที่ต้องนอนกลางวัน ควรจัดที่นอนให้รักษาระยะห่างกันอย่างน้อย 1 เมตร โดยไม่เอาศีรษะชนกันและแยกอุปกรณ์เครื่องใช้ส่วนตัวไม่ให้ใช้ร่วมกัน
  • แจ้งผู้ปกครองที่มีบุตรหลานที่มีอาการเจ็บป่วย หรือกลับจากพื้นที่เสี่ยงและอยู่ในช่วงกักกัน ให้หยุดเรียน และปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอย่างเคร่งครัด

วันเปิดภาคเรียน

  • จัดทำประวัตินักเรียนและครอบครัวเกี่ยวกับสุขภาพ
  • คัดกรองเด็กนักเรียนบริเวณทางเข้าโรงเรียน พร้อมทำสัญลักษณ์ผ่านการคัดกรอง เช่น ติดสติกเกอร์
  • หากพบเด็กป่วย หรือมีไข้ ไอ จาม มีน้ำมูก หายใจเหนื่อย หอบ ให้ผู้ปกครองพาไปพบแพทย์
  • จัดเตรียมอุปกรณ์ล้างมือ เช่น เจลแอลกอฮอล์ไว้บริเวณทางเข้าสถานที่ล้างมือด้วยสบู่และน้ำ ให้อยู่ในสภาพใช้งานได้ดี
  • ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อพื้นผิวโรงเรียนทุกวัน อย่างน้อยวันละครั้ง
  • กำจัดขยะอย่างถูกวิธีทุกวัน
  • จัดพื้นที่ เว้นระยะห่างระหว่างบุคคลอย่างน้อย 1 เมตร เช่น การเข้าแถวหน้าเสาธง การนั่งเรียนในห้องเรียน ห้องประชุม โรงอาหาร เป็นต้น
  • ลดความแออัดของเด็กนักเรียน เช่น เหลี่ยมเวลาช่วงรับประทานอาหารกลางวัน ยกเลิกกิจกรรมที่มีการสัมผัสและใกล้ชิดกัน
  • สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้ง

 

อ้างอิงจาก : https://www.the101.world/future-of-thai-education-after-covid19/https://tdri.or.th/2020/05/examples-of-teaching-and-learning-in-covid-19-pandemic/, https://www.eef.or.th/30577/https://www.eef.or.th/7511/https://www.isranews.org/article/thaireform/thaireform-documentary/88127-COV-3.html

 

 

 

 

 

Writer Profile : Jicko

  • Social Media :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



Update
Banner Banner
Live Action เรื่องล่าสุดจาก Disney ที่หลายๆคนรอคอยไม่ว่าจะเป็นคุณพ่อคุณแม่ที่เคยรับชมการ์ตูนในวัยหวานหรือแม้แต่คุณน้องคุณหนูที่หลงรักโลกใต้ท้องทะเลก็ตาม ใช่แล้วล่ะค่ะ เรากำลังพูดถึง “The Little Mermaid” หรือ “เงือกน้อยผจญภัย” ที่หยิบยกกลับมาทำใหม่ในเวอร์ชันคนแสดงในปีนี้ โดยมีนักร้องสาว “ฮัลลี เบลลีย์” รับบทนางเงือกน้อย “แอเรียล” พร้อมเป็นตัวแทนส่งเสียงบอกกับเด็กหญิงชายทั่วโลกว่า “ใครก็เป็นเจ้าหญิงได้”  หยิบกลับมาทำใหม่ ตีความใหม่ในรูปแบบที่ไม่เคยมีมาก่อนแบบนี้ ใครๆ ก็ต้องตื่นเต้นอยู่แล้ว ซึ่งเรื่องราวจะเป็นอย่างไร มีจุดเด่นจุดด้อย ข้อดีข้อเสียอย่างไร เหมาะสำหรับเด็กๆ หรือไม่ ลองไปดูกันเลย! เรื่องราวของนางเงือกน้อยแสนซน “แอเรียล” ธิดาคนสุดท้องของราชาไตรตันเจ้าแห่งโลกใต้สมุทรเธอมีความหลงใหลในโลกมนุษย์และใฝ่ฝันว่าอยากจะเดินเหินอย่างผู้คนบนดินแม้พ่อจะพยายามกีดกันเธอเท่าไรก็ตาม วันหนึ่งเธอบังเอิญได้พบกับ “เจ้าชายอีริค” และตกหลุมรักเขาเข้าอย่างจัง เธอจึงได้ทำข้อตกลงกับแม่มดทะเล “เออซูลาร์” เพื่อแลกเสียงอันไพเราะกับขาอย่างมนุษย์โดยมีข้อแม้ว่าเธอจะต้องได้รับจุมพิตจากเจ้าชายไม่เช่นนั้นเธอจะกลับมาเป็นเงือกและกลายเป็นทาสของเออซูลาร์ตลอดไปการออกเดินทางทำตามเสียงเรียกร้องของหัวใจเพื่อใช้ชีวิตอย่างที่ฝันจึงได้เริ่มต้นขึ้น เติมเต็มหัวใจที่ยังเปี่ยมไปด้วยความทรงจำของวัยเยาว์ ส่งต่อความกล้าหาญให้หนูน้อยเชื่อมั่นในตัวเอง และสิ่งที่ฝัน จูงมือลูกรักไปดู “The Little Mermaid” ได้แล้ววันนี้ ในโรงภาพยนตร์! ชมตัวอย่าง : https://www.youtube.com/watch?v=AS0vop2rgFo การ์ตูนเรื่องนี้เหมาะกับเด็กอายุ 8 ขวบขึ้นไป แม้จะมีเค้าโครงเรื่องหลักๆ มาจากการ์ตูนเงือกน้อยแอเรียลแบบต้นฉบับทั้งหมด แต่พอมาอยู่ในโลกแห่งความเป็นจริงก็ทวีคูณความจริงจังให้มากยิ่งขึ้นไปกว่าเดิม นอกจากนี้ยังมีการเพิ่มเติมพื้นเพตัวละคร เสริมเนื้อเรื่องเพิ่มประเด็นให้มีความซับซ้อนยิ่งกว่าเดิม จึงบอกได้ว่าเป็นเวอร์ชันที่ไม่ค่อยเหมาะกับเด็กเล็กๆ เท่าไร ถึงอย่างนั้นเด็กๆก็ยังสามารถสนุกสนานกับกลิ่นอายของเทพนิยายชวนฝันเพลิดเพลินกับภาพบรรยากาศโลกใต้ท้องทะเลที่สวยงามสุดแสนจะแฟนตาซี รับประกันว่ากระตุ้นจินตนาการเรียกความตื่นตาตื่นใจจากเจ้าตัวน้อยแน่นอน เรื่องที่ต้องระวัง มีความรุนแรงและฉากน่ากลัว อย่างที่บอกไปว่า Live Action เวอร์ชันนี้ มีความดาร์ก ความสมจริงเพิ่มเข้ามา เรื่องความรุนแรงต่างๆ ฉากต่อสู้ ฉากปะทะ หรือหน้าตาของเหล่าสัตว์ร้ายใต้ทะเล อาจทำให้เด็กๆ ไม่สบายใจ หรือตื่นกลัวได้ แถมยังมีจังหวะตกใจ (Jump…
25 พฤษภาคม 2566

anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save