fbpx

สอนลูกวัยเตาะแตะอย่างไรให้ปลอยภัยจากการจมน้ำ

Writer : OttChan
: 23 กุมภาพันธ์ 2565

ทุกวันนี้อีกหนึ่งอุบัติเหตุที่คนเป็นพ่อแม่มักได้รับข่าวที่มาพร้อมกับความสูญเสียเสมอก็คือเรื่องของการจมน้ำ ที่มักเกิดขึ้นในเด็กเล็กหรือเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 3 ขวบโดยที่บางครั้ง ก็มักจะเกิดขึ้นในตอนที่เราไม่ได้ระวังตัว หรือเกิดขึ้นอย่างฉับพลันจนไม่สามารถยื่นความช่วยเหลือเข้าไปได้ทันท่วงทีจนทำให้เกิดเรื่องขึ้น ซึ่งส่วนหนึ่งนั้นก็มักจะเกิดจากการที่เราคลาดสายตาจากลูก หรือลูกอยู่ในจุดอับสายตา

ดังนั้นสำหรับบทความนี้ ทาง Parents one จะมาแนะนำวิธีดูแลลูกในแบบฉบับที่เริ่มจากการระวังของตัวเราเองว่าจะสามารถป้องกันอย่างไรได้บ้าง ซึ่งทุกบ้านสามารถนำไปปรับใช้ได้ตั้งแต่เด็กวัยเล็กเริ่มเดินไปจนถึงวัย 3-4 ขวบเลยนะคะ

หลัก 3 อย่าที่ต้องท่องให้ขึ้นใจ

อย่าใกล้

ทุกครั้งที่เห็นว่ามีแหล่งน้ำ ต้องบอกลูกเสมอว่า อย่าใกล้ หรือเข้าไปใกล้โดยเด็ดขาด รวมถึงตัวผู้ปกครองเองเมื่อเห็นว่ามีแหล่งน้ำอยู่ใกล้ๆ ต้องพาลูกออกจากบริเวณนั้นทันที

อย่าเก็บ

เมื่อมีสิ่งของตกลงไปในน้ำ ต้องสอนลูกเสมอว่าอย่าเก็บ มีอะไรให้เรียกพ่อแม่เสมอเมื่อทำของตกลงไปในน้ำ อย่าเก็บเอง หรือหากเห็นเองเลยว่ามีของตก ต้องรีบเข้าไปเก็บแทนลูก อย่าบอกให้ลูกเก็บเอง

อย่าก้ม

เวลาเราทำความสะอาดบ้าน หรือซักผ้าก็มักจะต้องใช้ถังน้ำ หรือกะลามังในการรองน้ำไว้ซึ่งปริมาณน้ำเพียงเท่านั้นก้สามารถทำให้เด็กจมน้ำได้แล้ว ดังนั้นต้องบอกเด็กๆ ไว้เสมอว่า อย่าก้ม ลงไปมองในน้ำเด็ดขาด และตัวเราเองเมื่อมีถังน้ำสูงๆ ในบ้าน ก็ควรนำลูกไปไว้ให้ห่าง หรือแม้แต่บ่อน้ำละแวกบ้านเองก้ต้องระวังไม่ให้ลูกเราเข้าไปเล่นใกล้ๆ

หากเราจำหลัก 3 อย่าได้ขึ้นใจแล้ว ก็จะทำให้คุณพ่อคุณแม่หลายบ้าน สามารถช่วยป้องกันไม่ให้เหตุไม่คาดฝันเกิดขึ้นได้มากเลยล่ะค่ะ แต่อย่าลืมว่าสิ่งสำคัญที่สุด คือตัวคุณพ่อคุณแม่เอง ต้องหูตาไวอยู่เสมอ ไม่ปล่อยให้ลูกน้อยวัยกำลังซนเดินไปไหนมาไหนคนเดียวโดยที่เราไม่ได้อยู่ใกล้ๆ ค่ะ ซึ่งระยะที่ปลอดภัยในกรณีที่เราจะพาจอมซนวัยเตาะแตะไปลงเล่นน้ำเองก็มีหลักให้สังเกต และคาดคะเนความอันตรายหรือความเสี่ยงที่จะเกิดได้ดังนี้

เมื่อพาลูกไปเล่นน้ำ

อายุต่ำกว่า 3 ขวบ
  • ต้องอยู่ในระยะวงแขนคว้าทัน
  • ไม่ปล่อยให้คลาดสายตา ต้องคอยมองตลอด
อายุ 3-6 ขวบ
  • อยู่ในระยะเกินวงแขนได้ แต่ต้องสามารถเข้าถึงได้อย่างรวดเร็ว
  • ต้องไม่คลาดสายตาเช่นกัน

และเหตุที่ต้องให้เด็กอายุต่ำกว่า 3 ขวบ อยู่ในสายตาตลอดนั่นก็เพราะเมื่อเด็กทำการลอยตัวขึ้น จนเท้าไม่แตะพื้น การที่เขาจะกลับมายืนได้เหมือนเดิม นับว่าเป็นเรื่องที่ยากมากเพราะเด็กเล็กจะยังไม่สามารถทรงตัวหรือควบคุมร่างกายได้ดีพอ เราถึงได้เห็นเด็กหลายคนที่ยังจมน้ำ หรือสำลักน้ำแม้ว่าจะว่ายน้ำเป็นแล้วก็ตามค่ะ ฉะนั้นผู้ใหญ่จะคลาดสายตาไม่ได้เลยแม้แต่นิดเดียว

เมื่อมีเด็กคนอื่นจมน้ำจะสอนลูกอย่างไร

นอกจากที่เราจะต้องระวังลูกเราแล้ว การไปกับเที่ยวเล่นกับเพื่อนเองนั้น ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ ซึ่งอาจจะเกิดจากการมีคนใดคนหนึ่งจม และอีกคนพยายามเข้าไปช่วย จนทำให้เกิดเรื่องขึ้น ดังนั้นนอกจากวิธีป้องกันตัวที่เราสอนให้กับเขาและเราแล้ว ยังต้องสอนอีกหนึ่งเรื่องสำคัญคือเมื่อพบว่าเพื่อนหรือใครจมน้ำอยู่ ต้องยึดหลัก 3 อย่าง

  • ตะโกน เมื่อพบเห็นคนจมน้ำ ให้ตะโกน หรือรีบบอกคนอื่นให้มาช่วย อย่าลงไปในน้ำเอง
  • โยน มองหาสิ่งของที่น้ำหนักเบา สามารถใช้เกาะได้ลงไปอย่าง ห่วงยาง, โฟม
  • ยื่น หาไม้ หรือ เชือกยื่นมาไปให้โดยที่ตัวเรายังคงอยู่บนฝั่ง ระวังตัวอยู่เสมอ ไม่ให่ตัวไถล หรือเข้าใกล้ขอบฝั่งมากเกินไป

ต้องย้ำเตือนลูกของเราให้ขึ้นใจ ว่าเมื่อพบใครก้ตามจมน้ำ อย่าลงไปช่วยเหลือเอง ต้องบอกผู้ใหญ่เสมอ จนกว่าเขาจะโตพอดูแลตัวเองได้ และมีร่างกายที่แข็งแรงมากพอที่จะดูแลตัวเองได้เมื่ออยู่ในน้ำ

 

ที่มา youtubethaincdthaihealth

Writer Profile : OttChan

  • Blog :
  • Social Media :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



กำลังใจที่ไม่เคยสังเกต
ชีวิตครอบครัว
เพราะแม่จะเป็นใครก็ได้
ชีวิตครอบครัว
Update
Banner Banner
Live Action เรื่องล่าสุดจาก Disney ที่หลายๆคนรอคอยไม่ว่าจะเป็นคุณพ่อคุณแม่ที่เคยรับชมการ์ตูนในวัยหวานหรือแม้แต่คุณน้องคุณหนูที่หลงรักโลกใต้ท้องทะเลก็ตาม ใช่แล้วล่ะค่ะ เรากำลังพูดถึง “The Little Mermaid” หรือ “เงือกน้อยผจญภัย” ที่หยิบยกกลับมาทำใหม่ในเวอร์ชันคนแสดงในปีนี้ โดยมีนักร้องสาว “ฮัลลี เบลลีย์” รับบทนางเงือกน้อย “แอเรียล” พร้อมเป็นตัวแทนส่งเสียงบอกกับเด็กหญิงชายทั่วโลกว่า “ใครก็เป็นเจ้าหญิงได้”  หยิบกลับมาทำใหม่ ตีความใหม่ในรูปแบบที่ไม่เคยมีมาก่อนแบบนี้ ใครๆ ก็ต้องตื่นเต้นอยู่แล้ว ซึ่งเรื่องราวจะเป็นอย่างไร มีจุดเด่นจุดด้อย ข้อดีข้อเสียอย่างไร เหมาะสำหรับเด็กๆ หรือไม่ ลองไปดูกันเลย! เรื่องราวของนางเงือกน้อยแสนซน “แอเรียล” ธิดาคนสุดท้องของราชาไตรตันเจ้าแห่งโลกใต้สมุทรเธอมีความหลงใหลในโลกมนุษย์และใฝ่ฝันว่าอยากจะเดินเหินอย่างผู้คนบนดินแม้พ่อจะพยายามกีดกันเธอเท่าไรก็ตาม วันหนึ่งเธอบังเอิญได้พบกับ “เจ้าชายอีริค” และตกหลุมรักเขาเข้าอย่างจัง เธอจึงได้ทำข้อตกลงกับแม่มดทะเล “เออซูลาร์” เพื่อแลกเสียงอันไพเราะกับขาอย่างมนุษย์โดยมีข้อแม้ว่าเธอจะต้องได้รับจุมพิตจากเจ้าชายไม่เช่นนั้นเธอจะกลับมาเป็นเงือกและกลายเป็นทาสของเออซูลาร์ตลอดไปการออกเดินทางทำตามเสียงเรียกร้องของหัวใจเพื่อใช้ชีวิตอย่างที่ฝันจึงได้เริ่มต้นขึ้น เติมเต็มหัวใจที่ยังเปี่ยมไปด้วยความทรงจำของวัยเยาว์ ส่งต่อความกล้าหาญให้หนูน้อยเชื่อมั่นในตัวเอง และสิ่งที่ฝัน จูงมือลูกรักไปดู “The Little Mermaid” ได้แล้ววันนี้ ในโรงภาพยนตร์! ชมตัวอย่าง : https://www.youtube.com/watch?v=AS0vop2rgFo การ์ตูนเรื่องนี้เหมาะกับเด็กอายุ 8 ขวบขึ้นไป แม้จะมีเค้าโครงเรื่องหลักๆ มาจากการ์ตูนเงือกน้อยแอเรียลแบบต้นฉบับทั้งหมด แต่พอมาอยู่ในโลกแห่งความเป็นจริงก็ทวีคูณความจริงจังให้มากยิ่งขึ้นไปกว่าเดิม นอกจากนี้ยังมีการเพิ่มเติมพื้นเพตัวละคร เสริมเนื้อเรื่องเพิ่มประเด็นให้มีความซับซ้อนยิ่งกว่าเดิม จึงบอกได้ว่าเป็นเวอร์ชันที่ไม่ค่อยเหมาะกับเด็กเล็กๆ เท่าไร ถึงอย่างนั้นเด็กๆก็ยังสามารถสนุกสนานกับกลิ่นอายของเทพนิยายชวนฝันเพลิดเพลินกับภาพบรรยากาศโลกใต้ท้องทะเลที่สวยงามสุดแสนจะแฟนตาซี รับประกันว่ากระตุ้นจินตนาการเรียกความตื่นตาตื่นใจจากเจ้าตัวน้อยแน่นอน เรื่องที่ต้องระวัง มีความรุนแรงและฉากน่ากลัว อย่างที่บอกไปว่า Live Action เวอร์ชันนี้ มีความดาร์ก ความสมจริงเพิ่มเข้ามา เรื่องความรุนแรงต่างๆ ฉากต่อสู้ ฉากปะทะ หรือหน้าตาของเหล่าสัตว์ร้ายใต้ทะเล อาจทำให้เด็กๆ ไม่สบายใจ หรือตื่นกลัวได้ แถมยังมีจังหวะตกใจ (Jump…
25 พฤษภาคม 2566

anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save