fbpx

พ่อแม่ต้องระวัง โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงในเด็ก ( SMA )

Writer : OttChan
: 12 มิถุนายน 2563

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง SMA (Spinal Muscular Atrophy) เป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงของเด็กซึ่งจะต่างจากการโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงของผู้ใหญ่ ALS ( Amyotrophic lateral sclerosis) เพราะอาการนั้นสามารถเกิดได้ตั้งแต่แรกเกิดและอาจส่งผลให้ระยะเวลาของลมหายใจลูกน้อยสั้นกว่าคนทั่วไปจนน่าใจหาย เช่นนั้นแล้วคุณพ่อคุณแม่จะต้องทำความเข้าใจและหมั่นสังเกตลูกน้อยตั้งแต่แรกเกิดไว้ว่าเข้าข่ายหรือหากเป็นแล้วจะต้องช่วยเหลืออย่างไรบ้าง

เรามาดูกันดีกว่าเพื่อหาวิธีช่วยดูแลและทำความเข้าใจกับโรคนี้ให้มากขึ้นค่ะ

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง SMA ของเด็กเป็นอย่างไร

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง (SMA) เป็นโรคที่พบได้ในวัยเด็กนั้นมากเป็นอันดับ 2 รองลงมาเลยจากโรคธาลัสซีเมียหรือภาวะโลหิตจางโดยอัตราส่วนสามารถพบได้ถึง 1 ใน 30 คนเลยที่จะเป็นโรคนี้ และที่มาของโรคก็มักเกิดจากความผิดปกติของกรรมพันธุ์ในยีนด้อย ซึ่งอาการของโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงนั้นจะส่งผลให้สูญเสียการควบคุมกล้ามเนื้อต่างๆ ของร่างกาย มีความผิดปกติต่อการส่งคำสั่งจากไขสันหลังไปยังกล้ามเนื้อซึ่งอาการของเด็กๆ ที่เป็นโรคนี้ที่เห็นปัญหาได้ชัดคือ

  • ไม่สามารถกลืนอาหารเองได้
  • กล้ามเนื้อลีบแบน
  • มีปัญหาเกี่ยวกับข้อกระดูก
  • เกิดอาการแทรกซ้อนในระบบหายใจ
  • เสียการควบคุมศีรษะและคอ
  • พัฒนาการช้า

 

ประเภทของโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงมีอะไรบ้าง

  1. แบบที่ 1 เป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงที่มีอาการรุนแรงที่สุด สามารถเสียชีวิตได้ตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 3 เดือนแรกเพราะระบบทางเดินหายใจล้มเหลว, ต้องพึ่งพาเครื่องช่วยหายใจอยู่ตลอดเวลา สามารถมีชีวิตอยู่ได้ประมาณ 1 ปี
  2. แบบที่ 2 มีอาการรุนแรงน้อยกว่า เกิดขึ้นได้ในช่วงอายุ 6-12 เดือน สามารถเติบโตต่อไปได้อีกสักระยะ แต่ทว่า ร่างกายนั้นอาจไม่สามารถใช้งานได้ดีสุด ต้องพึ่งพาตัวช่วยอย่างรกเข็นหรือเป็นผู้ป่วยติดเตียงไปตลอดและอาจมีความเสี่ยงทั้งภาวะทางเดินหายใจล้มเหลวหรือกระดูกสันหลังคด
  3. แบบที่ 3 จะแสดงอาการหลังช่วงอายุ 1 ปีครึ่งเป็นต้นไป มีความอ่อนแอของร่างกายสูง เหนื่อยหอบง่าย สามารถเดินเหินไปไหนมาไหนได้แต่ทว่าไม่นานและอาจต้องพึ่งพาอุปกรณ์อยู่ดีเมื่อเข้าสู่ช่วงอายุที่โตขึ้น
  4. แบบที่ 4 ทุกอย่างจะเป็นปกติจนอายุเกิน 18 ปี อาการจะเริ่มแสดงออก ทั้งอาการล้าของกล้ามเนื้อและระบบหายใจของร่างกายที่อ่อนแอลง

 

สาเหตุที่ทำให้เป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง



  • กรรมพันธุ์ เป็นปัจจัยแรกๆ หรือสามารถเกิดขึ้นได้จากสาเหตุนี้มากที่สุดแล้วในบรรดาสาเหตุทั้งหมด โดยการติดต่อนั้นจะมาจากการที่มีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นพาหะในการเป็นซึ่งปัจจุบันนี้สามารถตรวจสอบได้ว่ามีโอกาสจะเป็นหรือไม่ก่อนตัดสินใจตั้งครรภ์ เช่นนั้นแล้วควรตรวจเช็คห้ดีก่อนมีเจ้าตัวน้อยจะลดความเสี่ยงได้เยอะ
  • การอักเสบ เกิดขึ้นได้น้อยมากแต่ก็ใช่ว่าไม่มี จะเป็นอาการอักเสบขึ้นตามจุดต่างๆ จนไม่สามารถใช้งานได้ อ่อนแรงและรู้สึกเจ็บปวดตามตำแหน่งนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นข้อมือหรือข้อเท้าและหากเกิดขึ้นภายในร่างกายก็อาจมีอาการคล้ายการแพ้ภูมิในตนเองอีกด้วย
  • การติดเชื้อ สามารถพบได้บ่อยแต่ไม่เท่าการเกิดจากกรรมพันธุ์ เกิดจากการติดเชื้อตามส่วนต่างๆ ของร่างกายแล้วมีการลุกลามซึ่งแน่นอนว่าสำหรับเด็กเล็กๆ นั้นยังไม่มีภูมิต้านทานเท่าผู้ใหญ่ ยิ่งระบบที่ติดเชื้อเป็นระบบทางเดินหายใจหรือระบบทางเดินอาหารแล้ว ก็ยิ่งก่อให้เกิดความเสี่ยงที่จะป่วยเรื้อรังและกลายเป็นโรคเกี่ยวกับกล้ามเนื้ออ่อนแรงในที่สุด

วิธีรับมือเกี่ยวกับโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง

อันดับแรกเลยเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคนี้ขึ้นในการมีบุตร คุณพ่อคุณแม่จะต้องทำการตรวจให้ถี่ถ้วนก่อนว่า หากมีเจ้าตัวน้อยด้วยกันแล้ว เปอร์เซ็นที่จะทำให้ลูกออกมาแล้วมีสิทธิ์เป็นโรคนี้มีมากหรือน้อยเพียงไรด้วยการเจาะเลือดเพื่อตรวจว่ามีใครคนใดคนหนึ่งเป็นพาหะของโรคนี้หรือไม่ ใช้เวลาประมาณ 1 เดือนในการรอผล ซึ่งหากมีแล้วล่ะก็จะต้องได้รับการปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอีกครั้งว่าควรทำอย่างไรต่อไปเมื่อต้องการสร้างครอบครัวจริงๆ

แต่ในกรณีที่ไม่ทราบและให้กำเนิดลูกน้อยมาร่วมกันแล้วพึ่งมีอาการหรือตรวจวินิจฉัยพบ อย่างแรกที่จะต้องทำก่อนเลยคือการตั้งสติและยอมรับกับสิ่งที่เกิดขึ้นค่ะเพราะในปัจจุบันยังไม่สามารถรักษาหายได้ครบ 100% หรืออาจไม่สามารถหายขาดได้แม้จะได้รับการดูแลดีมากแค่ไหนก็ค่ะ เพราะฉะนั้นในกรณีที่เกิดขึ้นแล้วคุณพ่อคุณแม่อาจต้องมีการดูแลตามอาการดังต่อไปนี้

  • ฟื้นความรู้สึกและความเศร้าให้ไวเท่าที่จะทำได้
  • เตรียมเงินและความพร้อมในการดูแลให้มากหากตัดสินใจจะเลี้ยงดูให้ดีที่สุด
  • รักษาตามอาการไปทีละขั้นด้วยความใจเย็น
  • หมั่นสังเกตอาการของลูกและเรียนรู้วิธีการดูแลผู้ป่วยโรคนี้เบื้องต้นไว้ว่าจะเป็นการช่วยใส่อุปกรณ์หายใจ, การยกหรืออุ้มผู้ป่วยติดเตียง
  • ให้กำลังใจทั้งตัวลูก คนรักและตนเองอยู่สม่ำเสมอ

ที่มา : samitivejhospitalpanthupark , samitiveamarinbabyandkids

Writer Profile : OttChan

  • Blog :
  • Social Media :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



ชีวิตครอบครัว ชีวิตครอบครัว
4 พฤศจิกายน 2563
ชีวิตครอบครัว ชีวิตครอบครัว
16 เมษายน 2563
ตัวตนของลูก คือทางของลูก
ชีวิตครอบครัว
Update
ไลฟ์สไตล์ ไลฟ์สไตล์
เคยกลับบ้านมาแล้วกรี๊ดลั่นบ้านเพราะเจ้าตัวแสบไปวิ่งเล่นเลอะเทอะกันไหมคะ ? หรือแต่งตัวลูกอย่างดีไปทานข้าวนอกบ้าน แต่คุณลูกก็ทำซอสหกใส่ ไอติมหล่นไปเป็นก้อน เละทั้งตัว วันนี้ ParentsOne มีเสื้อเด็กที่เจ๋งมากๆ จาก GQ : the good day lab™ มาลองรีวิวให้ได้ชมกันค่ะ 🛒 ช้อปเลยที่ -> https://gqsize.link/bZT7Sx แกะกล่อง GQ : the good day lab™ เสื้อเด็ก ฟีเจอร์เพียบ คุณภาพ GQ ขึ้นชื่อว่า GQ ก็มั่นใจได้เรื่องคุณภาพค่ะ ผ้านุ่ม เบาบาง เหมาะกับอากาศเมืองไทย ใส่วิ่งสบายๆ ที่แปลกตาคือเป็นเสื้อที่ไม่มีป้ายแท็กค่ะ ทั้งด้านหลังคอเสื้อ หรือข้างใน ไม่ต้องห่วงว่าจะเคืองหรือคันเลย กระดุมแข็งแรงเอามากๆ ใช้แรงผู้ใหญ่ดึงแรงๆ ก็ไม่มีปัญหาเลย ไฮไลท์สำคัญที่คุณแม่แทบกรี๊ด คือเป็นไม่เปื้อนค่าาาา เทน้ำ เทนมใส่เสื้อ ไม่เปียกเลย สะบัดสองที หายปกติ ซึ่งถ้าใครเคยเห็นโฆษณา GQ ที่เสื้อเชิ้ตขาวไปทำงานคุณพ่อ โดนกาแฟหกใส่ แต่ผ้าไม่เปื้อนเลย เทคโนโลยีผ้าสะท้อนน้ำ ตอนนี้มาอยู่ในเสื้อเด็กแล้ววววว ทีมงานทดสอบเทน้ำสีผสมอาหาร นม หรือแม้แต่ซอสมะเขือเทศลงบนเสื้อ ก็ไม่เปื้อนค่ะ ไม่น่าเชื่อมากๆ ข้อดีที่สุดของผ้าแบบนี้ คือทำให้ชีวิตคุณแม่สบายขึ้นมาก พาลูกไปเที่ยว วิ่งเล่นสนามหญ้า พาไปทานก๋วยเตี๋ยว หรือให้ทานอะไร ก็ไม่ต้องกลัวเสื้อสวยๆ เลอะ แถมประหยัดเวลาซักผ้าด้วย ไม่ต้องมาคอยแช่ผ้าให้คราบมันออกแบบสมัยก่อน สำหรับเสื้อเด็ก the good day lab™…
8 ธันวาคม 2566

anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save