fbpx

เป็นเพราะอะไรนะ? 5 เหตุผลที่ทำให้ลูกไม่ยอมพูดภาษาอังกฤษสักที

Writer : Lalimay
: 27 เมษายน 2563

ภาษาอังกฤษ เป็นภาษาที่จำเป็นและสำคัญในปัจจุบันมากๆ ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่หลายๆ บ้านจึงพยายามใช้ภาษาอังกฤษกับลูก และเลือกที่จะเลี้ยงลูกแบบสองภาษา แต่การเลี้ยงลูกให้เป็นเด็กสองภาษา ก็คงเจอปัญหาว่าทำไมลูกถึงไม่ยอมพูดภาษาอังกฤษกับเราสักที วันนี้เราเลยมาดูเหตุผลกันดีกว่าค่ะ ว่าทำไมลูกถึงไม่ยอมพูดภาษาอังกฤษกับเราสักที

ลูกอยู่ในช่วง Silent Period 

Silent Period คือช่วงที่เด็กๆ จะนิ่งเงียบและใช้เวลาในช่วงนั้นเก็บข้อมูล ซึ่งเด็กแต่ละคนจะมี Silent Period ที่ไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับพื้นฐานและบุคลิกภาพของเด็ก เช่น เด็กบางคนพื้นฐานเป็นคนกล้าแสดงออก ชอบพูด ไม่ว่าจะพูดถูกพูดผิดก็จะพูด จึงทำให้เขากล้าที่จะพูดจะคุย ช่วง Silent Period ของลูกก็จะสั้น แต่ถ้าลูกเป็นคนขี้อาย ไม่ค่อยกล้าพูด เวลาถามอะไรก็จะเงียบๆ ยิ่งเป็นภาษาอังกฤษก็จะเงียบกว่าเดิม เป็นเพราะเขายังไม่กล้าพูด เข้าใจแต่ไม่รู้จะตอบยังไง หรือบางทีก็คือไม่เข้าใจในสิ่งที่กำลังพูดอยู่เลยก็ได้ แต่สิ่งที่เขาตอบสนองมาคือความเงียบๆแต่ถ้าเมื่อเราพูดไปเรื่อยๆ แล้วลูกสามารถทำตามคำสั่งได้ ก็ถือว่าเป้นสัญญาณที่ดีแล้วค่ะดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ก็ต้องดูพื้นฐานและบุคลิกของลูกในการสอนภาษาเหมือนกันนะคะ

 

ไม่ใช้ภาษาอังกฤษกับลูกอย่างสม่ำเสมอ

ความสม่ำเสมอเป็นปัจจับสำคัญในการเรียนภาษา การที่เราอยากจะให้ลูกฟังหรือพูดภาษาอังกฤษได้ พ่อแม่ก็ต้องหมั่นคุยกับลูกด้วยภาษาอังกฤษเช่นกัน อย่าพูดไทยคำ อังกฤษคำ หรือนึกจะพูดก็พูด แต่ว่าต้องพูดให้เป็นนิสัย แนะนำว่า ให้แบ่งกันไปเลยว่าใครจะพูดภาษาไหนกับลูก เช่น พ่อพูดภาษาอังกฤษ แม่พูดภาษาไทย แล้วก็ต้องคงการใช้ภาษาแบบนี้ไว้ จนกว่าลูกจะรู้เรื่องและใช้ภาษาอังกฤษไปแบบอัตโนมัติ จึงค่อยสามารถสลับใช้ภาษาได้ค่ะ

 

เพื่อนไม่พูดภาษาอังกฤษด้วย

สถาพแวดล้อมมีผลอย่างมากต่อการเรียนรู้ของเด็กค่ะ หลายๆ บ้านอาจสงสัยว่า ทั้งๆ ที่เราก็พูดภาษาอังกฤษกับลูกที่บ้านเป็นประจำอยู่แล้ว แต่ทำไมเขายังไม่ยอมพูดภาษาอังกฤษกับเราสักที เพราะบางทีในตอนที่เขาอยู่โรงเรียน เพื่อนๆ อาจจะพูดคุยกันเป็นภาษาไทย จึงทำให้ลูกรู้สึกว่า ภาษาไทยก็ใช้คุยได้ เห็นจำเป็นต้องพูดเป็นภาษาอังกฤษ แต่เราก็คงไม่สามารถไปบังคับให้เพื่อนของลูกพูดภาษาอังกฤษได้ใช่ไหมล่ะคะ ดังนั้นวิธีทางแก้ในข้อนี้ เราอาจจะต้องทำงานหนักหน่อย พยายามพูดกับลูกด้วยภาษาอังกฤษเสมอ ไม่ว่าไปที่ไหนก็พูดกับเขาเป็นภาษาอังกฤษเลยค่ะ ไม่ต้องกลัวว่าคนอื่นจะหาว่ากระแดะ เพราะการเรียนภาษาให้ได้ผลที่สุดคือการใช้จริงนั่นเอง 

 

รู้สึกกดดันที่ต้องพูดได้

ความกดดันเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ลูกไม่ยอมพูดภาษาอังกฤษกับพ่อแม่ คงเป้นเพราะว่าเขารู้สึกไม่สนุกกับการเรียนภาษานั้นๆ รู้สึกถูกบังคับว่าต้องพูดได้ อ่านได้ เขียนได้ ฟังได้ จนเหมือนกลายเป็นว่าทุกวันคือการเรียนภาษาอังกฤษที่แสนเบื่อหน่าย อีกอย่างคือเขาไม่เห็นว่าภาษามีความสำคัญสำหรับตัวของเขาในตอนนี้ ซึ่งสิ่งที่พ่อแม่ทำได้และควรทำก็คือการ พยายามทำให้การใช้ภาษาอังกฤษเป็นเรื่องธรรมชาติ เราไม่ต้องไปเร่งรัดให้เขาพูดได้ ฟังได้ ถ้าเขาไม่เข้าใจคำไหน เราก็อธิบายหรือพูดซ้ำๆ ลูกก็จะจดจำได้เอง อีกอย่างคือพยายามทำให้การเรียนภาษาเป็นเรื่องสนุก สอดแทรกไปในชีวิตประจำวัน เพื่อทำให้ลูกรู้สึกเคยชินกับการใช้ภาษาอังกฤษค่ะ 

 

ลูกถูกแก้คำพูดอยู่เสมอ

เรามักไปตัดบทเวลาที่ลูกพูดผิดรึเปล่า การที่เราแก้ทันทีที่ลูกพูดผิด อาจทำให้เขาไม่กล้าที่จะพูดประโยคภาษาอังกฤษออกมา เพราะกลัวโดนดุหรือกลัวผิด ดังนั้นถ้าคุณพ่อคุณแม่อยากแก้คำผิด ก็อาจให้การพูดคุยโต้ตอบ โดยการทวนคำที่ถูกต้องกับลูก แบบประโยคคำถามให้ลูกต่อบทสนทนา แทนการแก้ทันทีแบบชี้ว่าผิด เช่น ลูกพูดว่า This is a cit (ลูกออกเสียง cat เป็น “kit”) ก็ให้เราแก้ด้วยการทวนประโยคหรือเป็นการตอบคำถามคือ Yes, this is a cat (ออกเสียง “cat” อย่างถูกต้อง) ก็จะช่วยให้ลูกรู้ว่าเขาพูดผิดและพยายามจดจำคำที่ถูกต้องด้วยตนเอง

Writer Profile : Lalimay

  • Blog :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



“Fun English” เกมส์ฝึกภาษาสำหรับเด็ก
เด็กวัยเข้าโรงเรียน
Update
Banner Banner
Live Action เรื่องล่าสุดจาก Disney ที่หลายๆคนรอคอยไม่ว่าจะเป็นคุณพ่อคุณแม่ที่เคยรับชมการ์ตูนในวัยหวานหรือแม้แต่คุณน้องคุณหนูที่หลงรักโลกใต้ท้องทะเลก็ตาม ใช่แล้วล่ะค่ะ เรากำลังพูดถึง “The Little Mermaid” หรือ “เงือกน้อยผจญภัย” ที่หยิบยกกลับมาทำใหม่ในเวอร์ชันคนแสดงในปีนี้ โดยมีนักร้องสาว “ฮัลลี เบลลีย์” รับบทนางเงือกน้อย “แอเรียล” พร้อมเป็นตัวแทนส่งเสียงบอกกับเด็กหญิงชายทั่วโลกว่า “ใครก็เป็นเจ้าหญิงได้”  หยิบกลับมาทำใหม่ ตีความใหม่ในรูปแบบที่ไม่เคยมีมาก่อนแบบนี้ ใครๆ ก็ต้องตื่นเต้นอยู่แล้ว ซึ่งเรื่องราวจะเป็นอย่างไร มีจุดเด่นจุดด้อย ข้อดีข้อเสียอย่างไร เหมาะสำหรับเด็กๆ หรือไม่ ลองไปดูกันเลย! เรื่องราวของนางเงือกน้อยแสนซน “แอเรียล” ธิดาคนสุดท้องของราชาไตรตันเจ้าแห่งโลกใต้สมุทรเธอมีความหลงใหลในโลกมนุษย์และใฝ่ฝันว่าอยากจะเดินเหินอย่างผู้คนบนดินแม้พ่อจะพยายามกีดกันเธอเท่าไรก็ตาม วันหนึ่งเธอบังเอิญได้พบกับ “เจ้าชายอีริค” และตกหลุมรักเขาเข้าอย่างจัง เธอจึงได้ทำข้อตกลงกับแม่มดทะเล “เออซูลาร์” เพื่อแลกเสียงอันไพเราะกับขาอย่างมนุษย์โดยมีข้อแม้ว่าเธอจะต้องได้รับจุมพิตจากเจ้าชายไม่เช่นนั้นเธอจะกลับมาเป็นเงือกและกลายเป็นทาสของเออซูลาร์ตลอดไปการออกเดินทางทำตามเสียงเรียกร้องของหัวใจเพื่อใช้ชีวิตอย่างที่ฝันจึงได้เริ่มต้นขึ้น เติมเต็มหัวใจที่ยังเปี่ยมไปด้วยความทรงจำของวัยเยาว์ ส่งต่อความกล้าหาญให้หนูน้อยเชื่อมั่นในตัวเอง และสิ่งที่ฝัน จูงมือลูกรักไปดู “The Little Mermaid” ได้แล้ววันนี้ ในโรงภาพยนตร์! ชมตัวอย่าง : https://www.youtube.com/watch?v=AS0vop2rgFo การ์ตูนเรื่องนี้เหมาะกับเด็กอายุ 8 ขวบขึ้นไป แม้จะมีเค้าโครงเรื่องหลักๆ มาจากการ์ตูนเงือกน้อยแอเรียลแบบต้นฉบับทั้งหมด แต่พอมาอยู่ในโลกแห่งความเป็นจริงก็ทวีคูณความจริงจังให้มากยิ่งขึ้นไปกว่าเดิม นอกจากนี้ยังมีการเพิ่มเติมพื้นเพตัวละคร เสริมเนื้อเรื่องเพิ่มประเด็นให้มีความซับซ้อนยิ่งกว่าเดิม จึงบอกได้ว่าเป็นเวอร์ชันที่ไม่ค่อยเหมาะกับเด็กเล็กๆ เท่าไร ถึงอย่างนั้นเด็กๆก็ยังสามารถสนุกสนานกับกลิ่นอายของเทพนิยายชวนฝันเพลิดเพลินกับภาพบรรยากาศโลกใต้ท้องทะเลที่สวยงามสุดแสนจะแฟนตาซี รับประกันว่ากระตุ้นจินตนาการเรียกความตื่นตาตื่นใจจากเจ้าตัวน้อยแน่นอน เรื่องที่ต้องระวัง มีความรุนแรงและฉากน่ากลัว อย่างที่บอกไปว่า Live Action เวอร์ชันนี้ มีความดาร์ก ความสมจริงเพิ่มเข้ามา เรื่องความรุนแรงต่างๆ ฉากต่อสู้ ฉากปะทะ หรือหน้าตาของเหล่าสัตว์ร้ายใต้ทะเล อาจทำให้เด็กๆ ไม่สบายใจ หรือตื่นกลัวได้ แถมยังมีจังหวะตกใจ (Jump…
25 พฤษภาคม 2566

anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save