fbpx

5 วิธี ลงโทษลูกโดยไม่ต้องลงมือตี

Writer : nunzmoko
: 18 กรกฏาคม 2561

การลงโทษด้วยการตีบ่อยๆ อาจทำให้ลูกกลายเด็กดื้อไม้ ดื้อมือ ต่อต้าน และไม่เชื่อฟังพ่อแม่ได้ แถมยังเป็นการหล่อหลอมให้เด็กซึมซับความรุนแรงและนำไปใช้กับผู้อื่นอีกด้วย ดังนั้นการลงโทษเมื่อลูกทำผิดยังมีหลายวิธีโดยไม่ใช้วิธีการตี การลงโทษ ก็คือการให้ลูกหยุดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายกับตัวเด็กเองและเพื่อให้เด็กได้เรียนรู้พฤติกรรมที่ถูกต้อง” มีหลายวิธีที่คุณพ่อคุณแม่สามารถใช้ลงโทษลูกได้ ซึ่งต้องเข้าใจพัฒนาการของเด็กด้วย เพราะบางครั้งสิ่งที่ลูกทำอาจเกิดจากความอยากรู้อยากเห็นตามช่วงวัยใช่ว่าจะเกิดจากอาการดื้ออาการซนเท่านั้น และจะเลือกใช้วิธีไหน คุณพ่อคุณแม่คงต้องดูพฤติกรรมและการตอบสนองของลูกเราเป็นหลักค่ะ

1. ลงโทษลูกด้วยวิธีการแยกให้อยู่ตามลำพัง

การลงโทษลูกด้วยวิธีการแยกให้ลูกอยู่ตามลำพังชั่วคราว Time out ใช้ได้ผลดีในเด็กอายุประมาณ 2-10 ปี เมื่อเด็กทำพฤติกรรมไม่เหมาะสม หรือต้องการลงโทษ ให้เด็กแยกออกมาอยู่ตามลำพังชั่วคราวเพื่อสงบอารมณ์ โดยมีวิธีการดังนี้

  • เตือนบอกล่วงหน้าว่าจะให้เด็กทำอะไร เช่น “ลูกต้องหยุดขว้างของเล่นเดี๋ยวนี้ แล้วไปนั่งที่เก้าอี้นั่น”
  • หากเด็กไม่ยอมไปนั่งเอง ให้จูงมือหรืออุ้มเด็กไปนั่งที่เก้าอี้หรือจุดสงบที่เตรียมไว้ ในเด็กเล็กๆ อาจจะให้เด็กนั่งที่จุดเดิมก็ได้ แต่ควรเอาสิ่งของอื่นๆ หรือของเล่นออกไปจากบริเวณนั้นด้วย
  • กำหนดเวลาให้เด็กรู้ว่าต้องนั่งสงบนานเท่าไร โดยทั่วไปจะให้นั่งเป็นเวลานานเท่ากับอายุของเด็กเป็นปี แต่ไม่ควรเกิน 10 นาที เช่น เด็กอายุ 3 ปี ให้นั่งนาน 3 นาที เป็นต้น เนื่องจากในเด็กเล็กอาจยังไม่เข้าใจเรื่องเวลา ควรหานาฬิกาใหญ่ๆ มาตั้งใกล้ๆ และชี้ให้เด็กดูเข็มนาฬิกาแทนว่าต้องนั่งนานเท่าใด
  • ระหว่างให้เด็กนั่งสงบ ไม่ควรให้ความสนใจหรือพูดโต้ตอบกับเด็ก ไม่ควรให้เด็กนั่งอยู่ในบริเวณที่มีของเล่น โทรทัศน์ หรือสิ่งเพลิดเพลินอื่นๆ และไม่ควรขังเด็กในห้องน้ำหรือห้องมืดต่างๆ ด้วย
  • เมื่อหมดเวลาแล้ว ควรให้ความสนใจกับเด็กทันที พูดคุยแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น สอนให้เด็กรู้ว่าคราวหน้าควรปฏิบัติอย่างไรแทน ไม่ควรใส่อารมณ์หรือพูดยั่วยุให้เด็กโมโหต่อ

2. ลงโทษลูกด้วยวิธีการไม่สนใจ

การลงโทษลูกด้วยวิธีการไม่สนใจหรือเพิกเฉย ใช้เพื่อหยุดพฤติกรรมที่ไม่ต้องการ โดยที่พฤติกรรมนั้นต้องไม่เป็นอันตรายต่อตัวเด็กเอง ต่อผู้อื่นหรือสิ่งของ เช่น เมื่อเด็กร้องไห้อาละวาดอยู่ที่พื้นเพราะไม่ได้ดั่งใจ ไม่ควรตามใจเด็ก ควร ปล่อยให้เด็กร้องไปเรื่อยๆ และทำเป็นไม่สนใจ แต่อยู่ในสายตาว่าเด็กปลอดภัยดี สักพักเด็กจะหยุดร้องไปเอง เมื่อเด็กหยุดร้องแล้วถึงจะเข้าไปหาเด็ก พูดคุยถึงวิธีแก้ปัญหาหรือชวนทำกิจกรรมอื่นต่อไป แต่ไม่ใช่เข้าไปโอ๋หรือต่อรองกับเด็ก เพื่อให้เด็กรับรู้ว่าถ้าดื้อหรืออาละวาด จะไม่น่ารักไม่มีใครสนใจค่ะ

3. ลงโทษลูกด้วยวิธีการงดกิจกรรม

การลงโทษลูกด้วยวิธีการงดกิจกรรม เช่น ถ้าลูกทำการบ้านไม่เสร็จก็อดไปเล่นนอกบ้านกันเพื่อน วิธีนี้เหมาะสำหรับเด็กอายุ 6 ขวบขึ้นไป เนื่องจากเริ่มเข้าใจเงื่อนไขต่างๆ และรู้จักต่อรองได้มากขึ้น ดังนั้นพ่อแม่ควรหนักแน่นและสอนลูกให้ยึดตามกติกาที่ตั้งไว้ ให้เหตุและผลเพื่ออธิบายให้ลูกเข้าใจ การใช้วิธีทำโทษแบบนี้ ซจะส่งผลให้ลูกเป็นเด็กที่เข้าใจและใช้เหตุผล มีวินัย และไม่ใช่อารมณ์ในการแก้ปัญหาได้

4. ลงโทษลูกด้วยวิธีการรับผิดชอบสิ่งที่ทำผิด

การลงโทษลูกด้วยวิธีการรับผิดชอบในสิ่งที่ตัวเองทำผิด เช่น เมื่อทำน้ำหกก็ต้องเช็ดด้วยตัวเอง หรือลงโทษด้วยการคัดลายมือ เป็นต้น เป็นวิธีการที่ดีกว่าการลงโทษด้วยการตีลูกซ้ำแล้วซ้ำอีก วันหนึ่งเมื่อลูกทำผิดก็อาจแบมือมาให้พ่อแม่ตีโดยลูกจะไม่เข้าใจเลยว่า พ่อแม่ตีไปเพื่ออะไร ดังนั้นพ่อแม่ควรมีกติกาในการลงโทษลูก และไม่ควรใช้คำพูดที่ทำลายความรู้สึกของลูก เพราะจะทำให้เด็กรู้สึกแย่หรือน้อยใจได้

5. ลงโทษด้วยวิธีการตัดสิทธิ์การให้รางวัล

การลงโทษลูกด้วยวิธีการตัดสิทธิ์การให้รางวัล เช่น เมื่อทำผิดจะงดการพาไปเที่ยวหรือไปสถานที่ที่ลูกชอบ งดขนมที่เคยเป็นรางวัลให้ลูก คุณแม่อาจจะมีกฎว่าสามารถทานขนมชนิดนี้ได้เพียงสัปดาห์ละครั้ง ถ้าดื้อ ซน หรือทำผิดก็จะงดรางวัลนี้ เป็นต้น พร้อมกับสอนลูกด้วยว่าทำไมถึงต้องทำแบบนี้ เพื่อให้ลูกเข้าใจแล้วไม่ทำผิดซ้ำอีก

การลงโทษลูกด้วยการปรับพฤติกรรมเด็กได้ผลที่ดีกว่าการลงไม้ลงมือตีลูก ซึ่งนอกจากคุณแม่จะต้องเข้าใจพัฒนาการตามวัยของเด็กแล้ว ผู้เลี้ยงดูจะต้องให้ความรัก ความเมตตาต่อเด็ก ปฏิบัติต่อเด็กอย่างสม่ำเสมอด้วยท่าทีที่หนักแน่นจริงจัง รู้วิธีการสื่อสารกับเด็กอย่างถูกต้อง อาศัยความร่วมมือของทุกคนในบ้านแก้ปัญหาพฤติกรรมเด็กให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อให้เด็กเติบโตเป็นเด็กที่น่ารัก ไม่สร้างพฤติกรรมที่ก้าวร้าว รุนแรง ในอนาคตค่ะ

ที่มา – www.rakluke.com

Writer Profile : nunzmoko

  • Blog :
  • Social Media :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



วิธีรับมือเมื่อลูกอาละวาด
เด็กอายุ 2-5 ขวบ
5 สัญญาณบอกว่าหนูโตแล้วนะ
ช่วงวัยของเด็ก
พาทัวร์โปรโมชั่นเด็ดงาน Baby&Kid Best Buy 1-4 มิ.ย.
เตรียมตัวเป็นแม่
Update
ไลฟ์สไตล์ ไลฟ์สไตล์
เคยกลับบ้านมาแล้วกรี๊ดลั่นบ้านเพราะเจ้าตัวแสบไปวิ่งเล่นเลอะเทอะกันไหมคะ ? หรือแต่งตัวลูกอย่างดีไปทานข้าวนอกบ้าน แต่คุณลูกก็ทำซอสหกใส่ ไอติมหล่นไปเป็นก้อน เละทั้งตัว วันนี้ ParentsOne มีเสื้อเด็กที่เจ๋งมากๆ จาก GQ : the good day lab™ มาลองรีวิวให้ได้ชมกันค่ะ 🛒 ช้อปเลยที่ -> https://gqsize.link/bZT7Sx แกะกล่อง GQ : the good day lab™ เสื้อเด็ก ฟีเจอร์เพียบ คุณภาพ GQ ขึ้นชื่อว่า GQ ก็มั่นใจได้เรื่องคุณภาพค่ะ ผ้านุ่ม เบาบาง เหมาะกับอากาศเมืองไทย ใส่วิ่งสบายๆ ที่แปลกตาคือเป็นเสื้อที่ไม่มีป้ายแท็กค่ะ ทั้งด้านหลังคอเสื้อ หรือข้างใน ไม่ต้องห่วงว่าจะเคืองหรือคันเลย กระดุมแข็งแรงเอามากๆ ใช้แรงผู้ใหญ่ดึงแรงๆ ก็ไม่มีปัญหาเลย ไฮไลท์สำคัญที่คุณแม่แทบกรี๊ด คือเป็นไม่เปื้อนค่าาาา เทน้ำ เทนมใส่เสื้อ ไม่เปียกเลย สะบัดสองที หายปกติ ซึ่งถ้าใครเคยเห็นโฆษณา GQ ที่เสื้อเชิ้ตขาวไปทำงานคุณพ่อ โดนกาแฟหกใส่ แต่ผ้าไม่เปื้อนเลย เทคโนโลยีผ้าสะท้อนน้ำ ตอนนี้มาอยู่ในเสื้อเด็กแล้ววววว ทีมงานทดสอบเทน้ำสีผสมอาหาร นม หรือแม้แต่ซอสมะเขือเทศลงบนเสื้อ ก็ไม่เปื้อนค่ะ ไม่น่าเชื่อมากๆ ข้อดีที่สุดของผ้าแบบนี้ คือทำให้ชีวิตคุณแม่สบายขึ้นมาก พาลูกไปเที่ยว วิ่งเล่นสนามหญ้า พาไปทานก๋วยเตี๋ยว หรือให้ทานอะไร ก็ไม่ต้องกลัวเสื้อสวยๆ เลอะ แถมประหยัดเวลาซักผ้าด้วย ไม่ต้องมาคอยแช่ผ้าให้คราบมันออกแบบสมัยก่อน สำหรับเสื้อเด็ก the good day lab™…
8 ธันวาคม 2566

anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save