fbpx

วัคซีนที่ควรให้ลูกฉีดไว้มีอะไรบ้างนะ ?

Writer : giftoun
: 4 ตุลาคม 2560

เมื่อถึงวัยประมาณนึงแล้ว การพาลูกไปฉีดวัคซีนถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ เป็นการป้องกันโรคต่างๆ ที่มีโอกาสเกิดได้กับลูกน้อยตั้งแน่เนิ่นๆ เรียกได้ว่ากันไว้ดีกว่าแก้ค่ะ แล้วคุณแม่จะต้องพาลูกน้อยไปฉีดวัคซีนอะไรบ้างนั้น Parents One ได้รวบรวมให้คุณแม่เรียบร้อยแล้วค่ะ

วัคซีนจำเป็นที่ต้องให้กับเด็กทุกคน

วัคซีนจำเป็น คือ วัคซีนที่เด็กทุกคนจะได้รับตามโปรแกรมที่กำหนด โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย (หากรับบริการที่รพ.รัฐบาล)

แรกเกิด

  • วัคซีนป้องกันวัณโรค (BCG)
  • วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบ บี (HBV) ครั้งที่ 1

2 เดือน

  • วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบ บี (HBV) ครั้งที่ 2
  • วัคซีนป้องกันคอตีบ บาดทะยัก ไอกรนชนิดทั้งเซลล์ (DTwP) ครั้งที่ 1
  • วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอชนิดกิน (OPV) ครั้งที่ 1

4 เดือน

  • วัคซีนป้องกันคอตีบ บาดทะยัก ไอกรนชนิดทั้งเซลล์ (DTwP) ครั้งที่ 2
  • วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอชนิดกิน (OPV) ครั้งที่ 2

6 เดือน

  • วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบ บี (HBV) ครั้งที่ 3
  • วัคซีนป้องกันคอตีบ บาดทะยัก ไอกรนชนิดทั้งเซลล์ (DTwP) ครั้งที่ 3
  • วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอชนิดกิน (OPV) ครั้งที่ 3

12 เดือน

  • วัคซีนป้องกันโรคหัด คางทูม หัดเยอรมัน (MMR) ครั้งที่ 1
  • วัคซีนป้องกันไวรัสสมองอักเสบ (JE ครั้งที่ 1, JE ครั้งที่ 2 ห่างกัน 4 สัปดาห์)

18 เดือน

  • วัคซีนป้องกันคอตีบ บาดทะยัก ไอกรนชนิดทั้งเซลล์ (DTwP) ครั้งที่ 4
  • วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอชนิดกิน (OPV) ครั้งที่ 4

2-2.5 ปี

  • วัคซีนป้องกันไวรัสสมองอักเสบ (JE) ครั้งที่ 3

4-6 ปี

  • วัคซีนป้องกันคอตีบ บาดทะยัก ไอกรนชนิดทั้งเซลล์ (DTwP) ครั้งที่ 5
  • วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอชนิดกิน (OPV) ครั้งที่ 5
  • วัคซีนป้องกันโรคหัด คางทูม หัดเยอรมัน (MMR) ครั้งที่ 2

11-12 ปี

  • วัคซีนป้องกันคอตีบ บาดทะยัก ไอกรนชนิดทั้งเซลล์ชนิด Td (และฉีดทุก 10 ปีหรือฉีดกรณีมีแผลลึกปากแผลแคบ เช่น ตะปูตำ ถูกสัตว์กัด)

วัคซีนอื่นๆ ที่ให้เสริมหรือทดแทน

วัคซีนเสริม คือ วัคซีนที่มีประโยชน์สำหรับเด็กไทย และสามารถให้เพิ่มเติมได้เพื่อป้องกันโรค แต่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเอง เพราะเนื่องจากวัคซีนยังมีราคาสูง ยังไม่จำเป็นต้องฉีดวัคซีนเสริมก็ได้ แต่ถ้าสามารถฉีดเพิ่มได้ก็ดีค่ะ

แรกเกิด

  • วัคซีนเอชพีวี (HPV) 3 เข็มตอนอายุ 0, 1-2, 6 เดือน

2 เดือน

  • วัคซีนป้องกันคอตีบ บาดทะยัก ไอกรนชนิดไร้เซลล์ (DTaP) ครั้งที่ 1
  • วัคซีนโปลิโอชนิดฉีด (IPV) ครั้งที่ 1
  • วัคซีนฮิบ (Hib) ครั้งที่ 1
  • วัคซีนนิวโมคอคคัสชนิดคอนจูเกต (PCV) ครั้งที่ 1
  • วัคซีนโรด้า (Rota) ครั้งที่ 1

4 เดือน

  • วัคซีนป้องกันคอตีบ บาดทะยัก ไอกรนชนิดไร้เซลล์ (DTaP) ครั้งที่ 2
  • วัคซีนโปลิโอชนิดฉีด (IPV) ครั้งที่ 2
  • วัคซีนฮิบ (Hib) ครั้งที่ 2
  • วัคซีนนิวโมคอคคัสชนิดคอนจูเกต (PCV) ครั้งที่ 2
  • วัคซีนโรด้า (Rota) ครั้งที่ 2

6 เดือน

  • วัคซีนป้องกันคอตีบ บาดทะยัก ไอกรนชนิดไร้เซลล์ (DTaP) ครั้งที่ 3
  • วัคซีนโปลิโอชนิดฉีด (IPV) ครั้งที่ 3
  • วัคซีนฮิบ (Hib) ครั้งที่ 3
  • วัคซีนนิวโมคอคคัสชนิดคอนจูเกต (PCV) ครั้งที่ 3
  • วัคซีนโรด้า (Rota) ครั้งที่ 3
  • วัคซีนไข้หวัดใหญ่ (Influenza) ให้ปีละครั้งช่วงอายุ 6 เดือน – 18 ปี (เน้นอายุ 6-24 เดือน) ในปีแรกฉีด 2 เข็มห่างกัน 4 สัปดาห์

9 เดือน

  • วัคซีนไข้สมองอักเสบเจอี (Live JE) ครั้งที่ 1 และ 2 ควรห่างกัน 3-12 เดือน

12 เดือน

  • วัคซีนตับอักเสบเอ (HAV) ให้ 2 ครั้ง ห่างกัน 6-12 เดือน
  • วัคซีนอีสุกอีใส (VZV) ครั้งที่ 1 หรือวัคซีนรวมหัด หัดเยอรมัน คางทูม อีสุกอีใส (MMRV) ครั้งที่ 1
  • วัคซีนนิวโมคอคคัสชนิดคอนจูเกต (PCV) ครั้งที่ 4

4-6 ปี

  • วัคซีนป้องกันคอตีบ บาดทะยัก ไอกรนชนิดไร้เซลล์ (Tdap, DTaP)
  • วัคซีนโปลิโอชนิดฉีด (IPV) ครั้งที่ 5
  • วัคซีนอีสุกอีใส (VZV) ครั้งที่ 2 หรือวัคซีนรวมหัด หัดเยอรมัน คางทูม อีสุกอีใส (MMRV) ครั้งที่ 2

11-12 ปี

  • วัคซีนป้องกันคอตีบ บาดทะยัก ไอกรนชนิดไร้เซลล์ (Tdap)

ข้อดีของวัคซีนเสริม

  • มีวัคซีนชนิดรวมฉีดเข็มเดียวแทนการแยกฉีดหลายเข็ม
  • ลูกเจ็บครั้งเดียว
  • ไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปโรงพยาบาลบ่อยๆ

ข้อเสียของวัคซีนเสริม

  • ราคาแพง
  • บางชนิดประสิทธิภาพต่ำ เช่น วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ วัคซีนป้องกันโรคได้ประมาณร้อยละ 60-70 เท่านั้น เป้นการป้องกันความรุนแรงของการเป็นไข้หวัดใหญ่ในแต่ละครั้ง แต่มีโอกาสเป็นไข้หวัดใหญ่ในทุกๆปี

เมื่อรู้แล้วว่าวัคซีนที่จำเป็นมีอะไรบ้าง คุณแม่ควรบันทึกไว้แล้วคอยเช็คว่าลูกอายุเท่านี้ต้องไปฉีดวัคซีนตัวใดที่จำเป็น ส่วนวัคซีนอื่นๆ นั้นขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของคุณแม่แล้วล่ะค่ะ เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ทางที่ดีควรปรึกษาคุณหมอเพื่อขอคำแนะนำเพิ่มเติมได้ค่ะ

ที่มา

 

Writer Profile : giftoun


  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



CAR SEAT กับเด็กแต่ละช่วงอายุ
ข้อมูลทางแพทย์
Update
ไลฟ์สไตล์ ไลฟ์สไตล์
เคยกลับบ้านมาแล้วกรี๊ดลั่นบ้านเพราะเจ้าตัวแสบไปวิ่งเล่นเลอะเทอะกันไหมคะ ? หรือแต่งตัวลูกอย่างดีไปทานข้าวนอกบ้าน แต่คุณลูกก็ทำซอสหกใส่ ไอติมหล่นไปเป็นก้อน เละทั้งตัว วันนี้ ParentsOne มีเสื้อเด็กที่เจ๋งมากๆ จาก GQ : the good day lab™ มาลองรีวิวให้ได้ชมกันค่ะ 🛒 ช้อปเลยที่ -> https://gqsize.link/bZT7Sx แกะกล่อง GQ : the good day lab™ เสื้อเด็ก ฟีเจอร์เพียบ คุณภาพ GQ ขึ้นชื่อว่า GQ ก็มั่นใจได้เรื่องคุณภาพค่ะ ผ้านุ่ม เบาบาง เหมาะกับอากาศเมืองไทย ใส่วิ่งสบายๆ ที่แปลกตาคือเป็นเสื้อที่ไม่มีป้ายแท็กค่ะ ทั้งด้านหลังคอเสื้อ หรือข้างใน ไม่ต้องห่วงว่าจะเคืองหรือคันเลย กระดุมแข็งแรงเอามากๆ ใช้แรงผู้ใหญ่ดึงแรงๆ ก็ไม่มีปัญหาเลย ไฮไลท์สำคัญที่คุณแม่แทบกรี๊ด คือเป็นไม่เปื้อนค่าาาา เทน้ำ เทนมใส่เสื้อ ไม่เปียกเลย สะบัดสองที หายปกติ ซึ่งถ้าใครเคยเห็นโฆษณา GQ ที่เสื้อเชิ้ตขาวไปทำงานคุณพ่อ โดนกาแฟหกใส่ แต่ผ้าไม่เปื้อนเลย เทคโนโลยีผ้าสะท้อนน้ำ ตอนนี้มาอยู่ในเสื้อเด็กแล้ววววว ทีมงานทดสอบเทน้ำสีผสมอาหาร นม หรือแม้แต่ซอสมะเขือเทศลงบนเสื้อ ก็ไม่เปื้อนค่ะ ไม่น่าเชื่อมากๆ ข้อดีที่สุดของผ้าแบบนี้ คือทำให้ชีวิตคุณแม่สบายขึ้นมาก พาลูกไปเที่ยว วิ่งเล่นสนามหญ้า พาไปทานก๋วยเตี๋ยว หรือให้ทานอะไร ก็ไม่ต้องกลัวเสื้อสวยๆ เลอะ แถมประหยัดเวลาซักผ้าด้วย ไม่ต้องมาคอยแช่ผ้าให้คราบมันออกแบบสมัยก่อน สำหรับเสื้อเด็ก the good day lab™…
8 ธันวาคม 2566

anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save