fbpx

Sharenting เมื่อการโพสต์รูปลูก อาจเป็นการละเมิดสิทธิลูกได้โดยไม่รู้ตัว

Writer : Jicko
: 2 กุมภาพันธ์ 2565

ช่วงนี้จะเห็นได้ว่ามีหลายคนพูดถึงสิทธิของลูกเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลต่างๆ ในที่สาธารณะกันมากขึ้น ซึ่งคุณพ่อคุณแม่เองก็อาจจะคิดว่าสิ่งนี้เป็นเรื่องปกติ และใครๆ ก็ทำกัน ทั้งเรื่องการเปิดเพจลูกน้อย หรือการโพสต์รูปต่างๆ เพื่อเก็บเป็นความทรงจำ หากมองในแง่ดีภาพต่างๆ ก็ทำเอาคนที่ได้ดูรู้สึกถึงความน่ารักและสดใสของเด็กๆ เป็นไหนๆ จนมองข้ามความปลอดภัยและส่งผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นได้กับเด็กๆ วันนี้เราเลยมีคำแนะนำมาฝากให้กับคุณพ่อคุณแม่เกี่ยวกับเรื่องนี้กันค่ะ ไปดูกันเลย

Sharenting คืออะไร

Collins Dictionary ได้บัญญัติศัพท์คำนี้ขึ้นมาก ซึ่งเกิดจากการผสมคำว่า Share + Parenting ใช้เรียกพฤติกรรมของพ่อแม่ที่แชร์ภาพ วิดีโอ รวมถึงข้อมูลส่วนตัวของลูกที่มากเกินไป จนมองข้ามความปลอดภัยและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับตัวเด็กได้

เจตนาของพ่อแม่

  • โพสต์ด้วยความรักและเอ็นดู
  • อยากส่งต่อความน่ารักให้หลายๆ คนได้เห็น
  • เป็นพื้นที่เก็บความทรงจำ เพราะเป็นช่วงเวลาทีไม่มีวันย้อนกลับมาอีกแล้ว
  • อยากให้ญาติๆ หรือคนที่รู้จักสามารถติดตามความเป็นไป ความน่ารักของเด็กๆ ด้วยกัน

ผลกระทบภายนอก

  • เปิดโอกาสให้ผู้ที่ไม่หวังดีเข้าถึงตัวเด็กได้ง่ายขึ้น
  • มีการขโมยภาพหรือข้อมูลเด็กไปปั้นเป็นเรื่องราวใหม่ เช่น การขอรับบริจาคต่างๆ ที่เห็นในข่าว
  • ปัญหาใหญ่ก็คือ การนำภาพเด็กไปใช้เพื่อตอบสนองทางเพศของกลุ่มคนที่มีอาการใคร่เด็ก จนนำไปสู่การล่วงละเมิดทางเพศเด็ก ซึ่งเป็นปัญหาที่เราพบกันบ่อยขึ้น

ผลกระทบภายใน

  • ในอนาคตหากเด็กได้รับคอมเมนต์แง่บวกที่มากเกินไป อาจทำให้เขาเกิดการเสพติดตัวตนในโลกออนไลน์ที่พ่อแม่ประกอบสร้างขึ้นมาได้ ทำให้อาจกลายเป็นเด็กเสพติดการเยินยอ การกดไลก์ และอาจถึงขั้นพยายามทำตัวเองให้ดูดีตลอดเวลา เพื่อให้ได้รับคำชม

  • ในอนาคตหากเด็กได้รับคอมเมนต์ในแง่ลบ คอมเมนต์เหล่านั้นจะกลายเป็น Digital footprint หรือร่องรอยทางดิจิทัลที่จะคงอยู่ตลอดไป สิ่งที่เคยอยู่บนโลกออนไลน์ก็จะย้อนกลับมาทำร้ายจิตใจของเขาได้ โดยที่พ่อแม่อย่างเราก็ไม่สามารถแก้ไขอะไรได้อีก

สิทธิเด็กอยู่ตรงไหน

  • ฝรั่งเศส : หากพ่อแม่โพสต์ข้อมูลส่วนตัวหรือรูปถ่ายของลูก โดยไม่ได้รับอนุญาตต้องรับโทษทั้งจำและปรับฐานละเมิดความเป็นส่วนตัวของบุคคลในโลกออนไลน์
  • สหภาพยุโรป : ใช้กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของสหภาพยุโรป (General Data Protection Regulation : GDPR)  รวมถึงรูปภาพ นับเป็นหนึ่งในข้อมูลส่วนบุคคลที่ใครจะนำมาเผยแพร่โดยไม่ขออนุญาตไม่ได้
  • สหรัฐอเมริกา : มีกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของเด็กและเยาวชน (The Children’s Online Privacy Protection Act of 1998) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า ‘COPPA’ ซึ่งบังคับใช้มาตั้งแต่ปี 2000 โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อป้องกันการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลจากการใช้อินเทอร์เน็ตของเด็กอายุต่ำกว่า 13 ปี
  • ประเทศไทย : พ.ร.บ. คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 มาตรา 27 ห้ามมิให้ผู้ใดโฆษณาหรือเผยแพร่ทางสื่อมวลชนหรือสื่อสารสนเทศประเภทใด ซึ่งข้อมูลเกี่ยวกับตัวเด็กหรือผู้ปกครอง โดยเจตนาที่จะทำให้เกิดความเสียหายแก่จิตใจ ชื่อเสียง เกียรติคุณ หรือสิทธิประโยชน์อื่นใดของเด็ก หรือเพื่อแสวงหาประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบ

ข้อควรทำในการโพสต์รูปลูก

  • หากจำเป็นต้องโพสต์จริงๆ ควรคัดสรรเนื้อหาที่เหมาะสมในการโพสต์
  • หากลูกเริ่มรู้ความหรืออายุ 2-3 ขวบขึ้นไป ควรถามลูกก่อนว่าโพสต์ไปแล้วชอบหรือไม่ชอบอย่างไร ให้ลูกได้มีสิทธิในการอนุญาตก่อนโพสต์
  • ควรคำนึงถึงอนาคตของเด็ก หรือพยายามแทนความรู้สึกของตัวเองลงไปว่าหากไม่ชอบสิ่งนั้นเมื่อโตไปจะทำอย่างไร
  • ควรตั้งค่าความเป็นส่วนตัว หรือให้เห็นเฉพาะกลุ่มเท่านั้น ผู้ที่เห็นข้อมูลหรือโพสต์ควรเป็นคนที่ไว้ใจได้ ไม่ควรเผยแพร่ข้อมูลที่เกี่ยวกับเด็กแก่สาธารณะนั่นเอง

 

เชื่อเลยค่ะว่าพ่อแม่หลายคนรักลูกและไม่ได้ตั้งใจที่จะละเมิดสิทธิของลูก แต่เพียงแค่ว่าเราเองไม่ทันได้คิดให้ถี่ถ้วนและตระหนักถึงปัญหาที่จะตามมาในอนาคตของลูกเท่านั้น เพราะฉะนั้นถึงเวลาแล้วค่ะที่เราเองจะต้องเรียนรู้และเข้าใจการใช้เทคโนโลยีอย่างจริงจัง เพราะบนโลกโซเชียลมีเดียไม่ได้มีเพียงแค่เราและคนรู้จัก มันยังมีคนนอกคนแปลกหน้าด้วยเช่นกัน หากพ่อแม่เข้าใจและทำได้รับรองได้เลยว่าจะช่วยรักษาพื้นที่ส่วนตัวของลูกได้ และเด็กๆ ก็จะปลอดภัยมากขึ้นอีกด้วยค่ะ

 

อ้างอิงจาก : The 101.World, Bangkokbiznewsrama.mahidol

 

Writer Profile : Jicko

  • Social Media :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



อย่ารักลูกแค่ตอนอารมณ์ดี
กิจกรรมของครอบครัว
6วิธี ช่วยลูกน้อย ค้นหาพรสวรรค์
กิจกรรมของครอบครัว
Update
ไลฟ์สไตล์ ไลฟ์สไตล์
เคยกลับบ้านมาแล้วกรี๊ดลั่นบ้านเพราะเจ้าตัวแสบไปวิ่งเล่นเลอะเทอะกันไหมคะ ? หรือแต่งตัวลูกอย่างดีไปทานข้าวนอกบ้าน แต่คุณลูกก็ทำซอสหกใส่ ไอติมหล่นไปเป็นก้อน เละทั้งตัว วันนี้ ParentsOne มีเสื้อเด็กที่เจ๋งมากๆ จาก GQ : the good day lab™ มาลองรีวิวให้ได้ชมกันค่ะ 🛒 ช้อปเลยที่ -> https://gqsize.link/bZT7Sx แกะกล่อง GQ : the good day lab™ เสื้อเด็ก ฟีเจอร์เพียบ คุณภาพ GQ ขึ้นชื่อว่า GQ ก็มั่นใจได้เรื่องคุณภาพค่ะ ผ้านุ่ม เบาบาง เหมาะกับอากาศเมืองไทย ใส่วิ่งสบายๆ ที่แปลกตาคือเป็นเสื้อที่ไม่มีป้ายแท็กค่ะ ทั้งด้านหลังคอเสื้อ หรือข้างใน ไม่ต้องห่วงว่าจะเคืองหรือคันเลย กระดุมแข็งแรงเอามากๆ ใช้แรงผู้ใหญ่ดึงแรงๆ ก็ไม่มีปัญหาเลย ไฮไลท์สำคัญที่คุณแม่แทบกรี๊ด คือเป็นไม่เปื้อนค่าาาา เทน้ำ เทนมใส่เสื้อ ไม่เปียกเลย สะบัดสองที หายปกติ ซึ่งถ้าใครเคยเห็นโฆษณา GQ ที่เสื้อเชิ้ตขาวไปทำงานคุณพ่อ โดนกาแฟหกใส่ แต่ผ้าไม่เปื้อนเลย เทคโนโลยีผ้าสะท้อนน้ำ ตอนนี้มาอยู่ในเสื้อเด็กแล้ววววว ทีมงานทดสอบเทน้ำสีผสมอาหาร นม หรือแม้แต่ซอสมะเขือเทศลงบนเสื้อ ก็ไม่เปื้อนค่ะ ไม่น่าเชื่อมากๆ ข้อดีที่สุดของผ้าแบบนี้ คือทำให้ชีวิตคุณแม่สบายขึ้นมาก พาลูกไปเที่ยว วิ่งเล่นสนามหญ้า พาไปทานก๋วยเตี๋ยว หรือให้ทานอะไร ก็ไม่ต้องกลัวเสื้อสวยๆ เลอะ แถมประหยัดเวลาซักผ้าด้วย ไม่ต้องมาคอยแช่ผ้าให้คราบมันออกแบบสมัยก่อน สำหรับเสื้อเด็ก the good day lab™…
8 ธันวาคม 2566

anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save